คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำเข้าของผิดกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมฐานนำเข้าของผิดกฎหมายและการรับของโจร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ขัดกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยบังอาจนำทองคำแท่ง ซึ่งเป็นของต้องห้ามต้องจำกัด และยังมิได้เสียภาษีอากรและผ่านด่านศุลกากรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยบังอาจช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ฯลฯ ซึ่งทองคำดังกล่าวอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตและหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด เช่นนี้ ไม่ถือเป็นฟ้องที่ขัดกันอันจะเป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันมาก(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 212/2504) และโจทก์ก็มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดประกอบทั้งไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ถือเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าของผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ. สุลกากร ทำให้ของกลางต้องถูกริบ แม้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
เมื่อการนำของเข้ามาเปนผิดตามมาตรา 27 พ.ร.บ. สุลกากร 2469 แล้ว ของกลางอันเนื่องด้วยความผิดนั้น ก็ต้องถูกริบด้วยตามมาตรา 17 พ.ร.บ. สุลกากรฉบับที่ 9 พ.ส. 2482 ไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะต้องมีโทษด้วยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าของโดยผิดกฎหมายทำให้ของกลางถูกริบ แม้จำเลยไม่ต้องรับโทษ
นำของที่ไม่ต้องเสียภาษีเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องมีผิดตามมาตรา 27
เมื่อการนำของเข้ามาเป็นผิดตามมาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร 2469 แล้ว ของกลางอันเนื่องด้วยความผิดนั้นก็ต้องถูกริบด้วยตามมาตรา 17 พระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ 9พ.ศ.2482 ไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะต้องมีโทษด้วยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทฐานนำเข้าของผิดกฎหมายและประเด็นการใช้กฎหมายศุลกากรที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ คดีนี้ใบพืชกระท่อมสดที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากรรวมราคาของและค่าอากรเข้าด้วยกันแล้วเป็นเงิน 78,000 บาท ลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงเป็นเงิน 312,000 บาท และไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วางโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 156,000 บาท และลดโทษกึ่งหนึ่งให้ปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงิน 78,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ใช้บังคับโดยให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและให้ใช้บทบัญญัติใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับกรณีนำเข้าของผิดกฎหมาย: กฎหมายใหม่ลงโทษเป็นรายบุคคล ไม่รวมยอดปรับ
การลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดหลายคนที่ร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรในขณะที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีผลใช้บังคับ ต้องกำหนดให้ผู้ร่วมกระทำความผิดรับผิดรวมกันเป็นเงินจำนวนสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เมื่อมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ก็ต้องบังคับเรื่องโทษปรับเช่นเดียวกัน แต่ต่อมาภายหลังได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องฐานร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เห็นได้ว่า พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 บัญญัติไว้แตกต่างจาก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 ไม่มีข้อความว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ" ดังเช่น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ดังนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 242 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นภายหลังและใช้ในขณะจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดจึงมีวัตถุประสงค์ลงโทษปรับแก่จำเลยเป็นรายบุคคลโดยไม่พักต้องคำนึงถึงจำนวนรวมของค่าปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังเช่น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เดิม ไม่อาจนำกรณีของมาตรา 27 กับมาตรา 27 ทวิ ซึ่งอยู่ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ฉบับเดียวกันมาใช้เทียบเคียงได้