คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิคหกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำวินิจฉัยการลงนิคหกรรมและการรอการพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่11(พ.ศ.2521)ว่าด้วยการลงนิคหกรรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา18และมาตรา25แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ตราไว้ในหมวด3วิธีพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมข้อ23ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมมี3ชั้นคือ(1)ชั้นต้น(2)ชั้นอุทธรณ์(3)ชั้นฎีกาข้อ24ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นฯลฯข้อ25ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นอำนาจของคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ฯลฯข้อ26ว่าการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาให้เป็นอำนาจของมหาเถรสมาคมข้อ7ว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในกรณีพิจารณาการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณีใดให้เป็นอันถึงที่สุดและข้อ35ว่าก่อนพิจารณาหรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า(1)เรื่องที่นำมาฟ้องนั้นได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักรให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อนฯลฯเมื่ออ. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ต่อผู้พิจารณาเรื่องความผิดพระธรรมวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกซึ่งคดีดังกล่าวคณะผู้พิจารณาชั้นต้นคือจำเลยที่1และคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์คือจำเลยที่2วินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ได้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมาวินัยขั้นอาบัติปฐมปาราชิกมีคำสั่งให้โจทก์สึกภายใน24ชั่วโมงแล้วและโจทก์ได้ยื่นฎีกาต่อคณะผู้พิจารณาชั้นฎีกาคือจำเลยที่3และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3แล้วโจทก์ก็ต้องรอฟังผลของคำวินิจฉัยของจำเลยที่3เสียก่อนว่าให้ยืนยกแก้หรือกลับคำวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ตามข้อ45ประกอบด้วยข้อ53ฉะนั้นเมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของจำเลยที่3โจทก์จะมาด่วนฟ้องว่าคำวินิจฉัยของจำเลยที่1และที่2ในคดีดังกล่าวไม่ชอบจึงขอให้เพิกถอนหาได้ไม่และจะขอให้จำเลยที่3รอการพิจารณาการลงนิคหกรรมชั้นฎีกาไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกที่ศาลแขวงพระนครเหนือและศาลอาญาหาได้ไม่เพราะคดีที่โจทก์ฟ้องอ.กับพวกนั้นเป็นคนละเรื่องกันกับที่อ.ฟ้องโจทก์โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11427/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการลงนิคหกรรมสงฆ์: เจ้าคณะจังหวัดใช้อำนาจเกินขอบเขตตามกฎมหาเถรสมาคม
ความผิดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 26 บัญญัติว่า พระภิกษุรูปใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ได้รับนิคหกรรมให้สึก ต้องสึกภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัย นั้น หมายความว่าคำวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมชั้นต้นต้องเป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) ลักษณะ 2 เรื่อง ผู้มีอำนาจลงนิคหกรรม ซึ่งตามกฎมหาเถรสมาคมดังกล่าว ข้อ 7 มีความว่า การลงนิคหกรรมเกี่ยวกับความผิดของพระภิกษุผู้ปกครองสงฆ์ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ถ้าความผิดนั้นเกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่สังกัดอยู่ ให้เป็นอำนาจของเจ้าคณะตำบลเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณา การที่คดีนี้เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นเป็นผู้พิจารณาลงโทษโดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้องที่ทำให้เจ้าคณะตำบลเปือยใหญ่ไม่อาจเป็นผู้พิจารณาได้ จึงไม่เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 คำวินิจฉัยของเจ้าคณะจังหวัดจึงไม่ใช่คำวินิจฉัยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 แม้จำเลยจะทราบคำสั่งและไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215, 225