คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติกรรมฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริตยึดทรัพย์ได้ แม้เจ้าของเดิมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ถูกฉ้อฉล
คดีก่อน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อน อันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยมีเจตนาฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิในการเพิกถอนนิติกรรม
สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิที่ตกติดไปกับตัวทรัพย์ที่จำนอง และจะระงับสิ้นไปด้วยเหตุ 6 ประการ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทที่ซื้อจากผู้ตายไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ก.ก่อนที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและหากฟังได้ว่าธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทไว้โดยสุจริตแล้วเช่นนี้สัญญาจำนองย่อมจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและไม่ระงับสิ้นไปแม้จะมีคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2ก็ตาม คำขอของโจทก์ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ตายจึงไม่กระทบถึงสิทธิของธนาคาร ก. ผู้รับจำนองและมีผลบังคับได้ แม้ราคาประเมินของที่ดินและบ้านรวมเป็นเงินทั้งสิ้น450,000 บาท ผู้ตายมีกรรมสิทธิ์ 1 ใน 4 ส่วน คิดเป็นเงิน112,500 บาท ก็ตาม แต่เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินซึ่งผู้ตายมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับญาติพี่น้องของผู้ตายรวม 4 คน ดังนั้นการที่ผู้ตายจะขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่บุคคลภายนอกย่อมทำได้ยากและได้ราคาต่ำ เมื่อผู้ตายกำลังเดือดร้อนเพราะถูกธนาคารทวงถามให้ชำระหนี้ ประกอบกับเป็นการขายให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายด้วยเช่นนี้ แม้จะขายในราคาเพียง 50,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าความเป็นจริงไปบ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นที่ว่าเป็นการร่วมกันฉ้อฉลอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉลและการเสียเปรียบของเจ้าหนี้
โจทก์มีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1ให้เสร็จเด็ดขาดไป เหตุที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันนัดเกิดจากการบิดพลิ้วของจำเลยที่ 1ที่ไม่ไปตามกำหนดนัด ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่เคยบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแก่โจทก์ และตั้งแต่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจนกระทั่งขายให้จำเลยร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองแทน ผิดปกติวิสัยผู้ที่ทำการซื้อขายที่ดินกันโดยทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายกันโดยสุจริตการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ได้ลาภงอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237หมายถึงผู้ที่เป็นคู่กรณีทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรงส่วนบุคคลภายนอกในมาตรา 238 เป็นผู้ที่ได้รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จำเลยร่วมทั้งสองเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จึงเป็นบุคคลภายนอกตามความหมายของมาตรา 238หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: เกณฑ์การนับอายุความตามสิทธิเจ้าหนี้
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม2531 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 และ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรและการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล
กรมสรรพากรโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสองรู้ว่า น. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉล จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง โดยจำเลยที่ 1 ต่อสู้ด้วยว่า น.ไม่ได้ค้างชำระค่าภาษีอากรหรือหนี้ใด ๆ แก่โจทก์ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีข้อหนึ่งมีว่า น. เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ ดังนั้นหากได้ความว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริงตามฟ้อง ศาลจึงจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนี้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น. เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคดีถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญา ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินโดยเจตนาฉ้อฉล ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ สามารถขอเพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบุตรเขยล่วงรู้ฐานะทางการเงินของจำเลยที่ 1ผู้เป็นแม่ยายที่ตกเป็นลูกหนี้โจทก์ตลอดมาเป็นอย่างดี นอกจากที่พิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 มีที่ดินอีกเพียงแปลงเดียวซึ่งติดจำนองโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 250,000 บาทเท่านั้น ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกยากแก่โจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทพร้อมอาคารปั๊มน้ำมันจากจำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่มีราคาถึง 500,000 บาท จึงเป็นการรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมฉ้อฉลเจ้าหนี้และการซื้อขายโดยไม่สุจริต ส่งผลให้คำร้องขัดทรัพย์เป็นโมฆะ
โจทก์คัดค้านคำร้องขัดทรัพย์ และขอให้ยกคำร้อง
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยยกทรัพย์ให้บุตรเป็นการฉ้อฉลทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและบุตรเอาทรัพย์นี้ไปขายให้ผู้ร้อง ซึ่งรับซื้อไว้โดยไม่สุจริต ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำร้องขัดทรัพย์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลและการบังคับคดีร่วมกันของจำเลยทั้งสอง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปซื้อสวน จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์โดยลงไว้ในสัญญาว่าเอาที่สวนนั้นเป็นประกัน จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินกู้โจทก์ทวงให้ชำระหรือมิฉะน้นก็ให้โอนที่สวนให้โจทก์ จำเลยบิดพลิ้ว แล้วโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่สวนนั้นให้จำเลยที่ 2 โจทก์จึงรู้สึกว่าจำเลยทั้งสองทำการสมยอมกันฉ้อโกงโจทก์ ขอให้ศาลสั่งขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ไว้แล้ว (จำเลยอ้างว่ามิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบ)
คำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้เงินต้นและดอกเบี้ย ถ้าไม่สามารถชำระเงิน ก็ให้จำเลยโอนที่สวนที่เอาเป็นประกันให้โจทก์ตามสัญญา โดยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหรือทำลายนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยทั้งสองเสีย ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้เงิน กับให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่สวนให้ระหว่างจำเลยทั้งสองนั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ เพราะคำขอท้ายฟ้องนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินก่อน เมื่อไม่สามารถชำระเงินแล้วจึงจะเพิกถอนนิติกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในชั้นบังคับคดี และอำนาจศาลในการสั่งค่าทนาย
ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่โจทก์ยึดเป็นของผู้ร้องโดยจำเลยยกให้นั้น โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างผู้ร้องและจำเลยได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลประการใดก่อน
ค่าฤชาธรรมเนียมย่อมรวมถึงค่าทนายซึ่งแม้คู่ความจะมิได้ขอขึ้นมา ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 2