พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ คดีไม่ขาดอายุความ
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้โดยเหตุสุดวิสัย ให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน 30,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอวางเงินจำนวน 30,000บาท พร้อมดอกเบี้ยต่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวแทนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ได้ก่อนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ถึงแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี ก็ไม่อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ คดีเดิมศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า ให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวได้เพียงใดหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปร้องขอให้บังคับคดีในคดีนั้น จะมาร้องขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ในคดีนี้ซ้ำอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์รถเนื่องจากหนี้สิน การวินิจฉัยนอกประเด็น และผลของการเพิกถอน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า มารดาของภริยาจำเลยที่ 1 ซื้อรถคันดังกล่าวให้ น. พี่ชายของจำเลยที่ 2 แต่ขณะนั้น น. ยังเป็นผู้เยาว์จึงใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้แทน ครั้น น. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 จากคำให้การดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็น โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบ และแม้จะมีการนำสืบก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุก ระหว่างจำเลยทั้งสอง เมื่อมีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว นิติกรรมดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป กรรมสิทธิ์ในรถย่อมกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงบังคับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์อีกไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุก ระหว่างจำเลยทั้งสอง เมื่อมีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว นิติกรรมดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป กรรมสิทธิ์ในรถย่อมกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงบังคับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์อีกไม่ได้