พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อตีใช้หนี้ แม้ทำเป็นนิติกรรมให้ ก็สืบได้ว่าสัญญาให้ไม่สมบูรณ์
ได้ความว่าจำเลยใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยทำเป็นนิติกรรม'ให้' แล้วโจทก์ขอนำสืบหักล้างว่าความจริงไม่ใช่เป็นเรื่องยกที่ดินให้โดยเสน่หาแต่เป็นเรื่องจำเลยโอนที่ดินเพื่อตีใช้หนี้โจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธิสืบได้ เพราะเป็นการสืบว่าสัญญาให้ไม่สมบูรณ์เป็นสัญญาให้ที่ต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญาโอนเพื่อตีใช้หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคสอง จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94 ดังนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 93/2488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการทำนิติกรรมขายที่ดินเพื่ออำพรางการให้ และผลของนิติกรรมที่ถูกอำพราง
ท. มีเจตนายกที่ดินให้แก่จำเลยแต่จดทะเบียนนิติกรรมเป็นการขาย ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการจดทะเบียนนิติกรรมการขายที่ดินเพื่ออำพรางนิติกรรมให้ ดังนั้น นิติกรรมขายที่ดินย่อมเป็นการแสดงเจตนาด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนนิติกรรมต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง การที่ ท. จดทะเบียนนิติกรรมขายมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคือที่ดินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ต่างกันเพียงว่ามีค่าตอบแทนแก่กันหรือไม่เท่านั้น ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนขายดังกล่าวเป็นการทำหนังสือและจดทะเบียนสำหรับการให้ที่ถูกอำพรางด้วยโดยอนุโลม นิติกรรมการให้ที่ดินระหว่าง ท. และจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะและมีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7641/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การเพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา, เงินที่ใช้ซื้อที่ดิน, ศาลสั่งคืนเงินแก่สินสมรส
โจทก์ยื่นฟ้องก่อนวันที่ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ใช้บังคับ (วันที่ 14 ธันวาคม 2558) และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก่อนวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ (วันที่ 1 ตุลาคม 2559) จึงต้องนำกฎหมายที่มีผลบังคับขณะโจทก์ยื่นฟ้องมาใช้บังคับแก่กรณี พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด และวรรคสอง บัญญัติว่า การขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามวรรคหนึ่ง คู่ความจะต้องร้องขอก่อนวันสืบพยาน แต่ในกรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว" เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การโดยตั้งประเด็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดก่อนวันนัดสืบพยาน และศาลชั้นต้นก็ไม่ได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อนมีคำพิพากษา แล้วศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยเสียเองว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะปัญหาดังกล่าวเป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาที่จะวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งแต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดจนล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา