คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติบุคคลต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8039/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ และการรับฟังเอกสารสำเนา/ภาพถ่ายในคดีแพ่ง
แม้ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทโจทก์และหนังสือรับรองว่าค.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ พนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์จะได้รับรองความถูกต้องและสถานฑูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ได้รับรองลายมือชื่อและตราประทับของพนักงานโนตารีปับลิกแห่งประเทศสิงคโปร์หลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่ใบสำคัญจดทะเบียนบริษัทโจทก์ระบุว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ และระบุว่า ค.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ อีกทั้ง ค. ก็ได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบให้ฟังได้เป็นอย่างอื่น ย่อมฟังได้ว่าในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และ ค.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และได้มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 นั้น เป็นเรื่องอำนาจของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจหรือใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆในกรณีที่ศาลมีความสงสัยเท่านั้น หาใช่ว่าหากเอกสารไม่มีการรับรองจากโนตารีปับลิกจะถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
โทรสารใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์ ต้นฉบับเอกสารจะอยู่ที่จำเลยที่ 1 โจทก์ได้รับโทรสารที่เป็นสำเนาเอกสาร ส่วนใบกำกับสินค้าซึ่งต้นฉบับเอกสารโจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์คงมีแต่ภาพถ่ายใบกำกับสินค้าดังนี้ เอกสารเฉพาะที่เป็นโทรสารซึ่งจำเลยที่ 1 ส่งถึงโจทก์และบริษัทในเครือของโจทก์นั้น ต้นฉบับเอกสารจึงอยู่ที่จำเลยที่ 1 ส่วนใบกำกับสินค้านั้นโจทก์มอบต้นฉบับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า โจทก์คงมีแต่สำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ จึงรับฟังสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ส่วนภาพถ่ายเอกสารที่เหลือซึ่งเป็นโทรสารที่โจทก์ส่งไปถึงจำเลยที่ 1 นั้น ก็เป็นเพียงการตอบโทรสารที่จำเลยที่ 1มีไปถึงโจทก์ ซึ่งแม้หากจะไม่รับฟังเอกสารนี้ ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้สั่งซื้อสินค้าและรับสินค้าไปจากโจทก์จริง ดังนี้ ปัญหาว่าเอกสารดังกล่าวจะรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 หรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีสมบูรณ์ แม้ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อ และการจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แต่ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้ ก. กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์นั้นแม้ ก. ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วยเพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและหัวหน้าฝ่ายกงสุลเมือง จากาตาร์ประเทศ อินโดนีเซีย รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศ อินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศ อินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสำนักงานสาขาในไทย แม้ใช้ชื่อสาขาฟ้อง ก็ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า "สายเดินเรือเมอส์กกรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใด ดำเนินธุรกิจในทางใด จดทะเบียนพาณิชย์ ไว้ในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่าอะไร สำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ต. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศ เดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่า"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ การใช้อัตรากำไรสุทธิ และการรวมเงินค่าภาษีที่ยังไม่ได้รับ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในส่วน 3ของหมวด 3 เรื่องภาษีเงินได้ในส่วนที่เก็บจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศนั้น หมายความถึงจำนวนเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงในกรณีที่โจทก์ไม่นำส่งงบกำไรขาดทุนทำให้ไม่สามารถคำนวณหากำไรสุทธิได้ ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ทั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสอง ได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกไว้แล้ว โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)มาใช้บังคับ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการในการติดตั้งเครื่องจักรที่บริษัท ป.น. มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการติดตั้งเครื่องจักรให้แก่บริษัท ป.ท. โดยไม่ปรากฏรายละเอียดอันจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงรายรับและรายจ่ายของโจทก์อันจะมีผลถึงการคำนวณหากำไรสุทธิ จึงไม่ชอบ
เงินค่าภาษีเงินได้ที่บริษัท ป.ท. รับจะออกแทนให้โจทก์นั้นเมื่อบริษัท ป.ท. ยังมิได้ออกเงินค่าภาษีให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 การที่จำเลยนำค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อให้โจทก์เสียภาษี จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: ห้ามใช้อัตรากำไรสุทธิของผู้อื่นเป็นฐานคำนวณ ต้องใช้ตามความเป็นจริงหรือประเมินตามมาตรา 71(1)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเยี่ยงโจทก์เสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยนั้นเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าวหมายถึงเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ ตรงกันข้ามในมาตรา 76 ทวิ วรรคสองนั้นเอง เป็นบทบัญญัติที่เป็นทางแก้สำหรับกรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามวรรคแรก โดยกฎหมายให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาใช้บังคับคือให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิ 21.87เปอร์เซ็นต์มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การใช้อัตรากำไรสุทธิของผู้อื่นและเงินค่าภาษีที่ยังมิได้รับ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในส่วน 3ของหมวด 3 เรื่องภาษีเงินได้ในส่วนที่เก็บจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศนั้น หมายความถึงจำนวนเงินได้หรือผลกำไรที่ได้รับตามความเป็นจริงในกรณีที่โจทก์ไม่นำส่งงบกำไรขาดทุนทำให้ไม่สามารถคำนวณหากำไรสุทธิได้ ก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินใช้อัตรากำไรสุทธิของนิติบุคคลอื่นมาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ทั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสอง ได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกไว้แล้ว โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1)มาใช้บังคับ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยใช้อัตรากำไรสุทธิที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการในการติดตั้งเครื่องจักรที่บริษัท ป.น. มาเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับเงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการติดตั้งเครื่องจักรให้แก่บริษัท ป.ท. โดยไม่ปรากฏรายละเอียดอันจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงรายรับและรายจ่ายของโจทก์อันจะมีผลถึงการคำนวณหากำไรสุทธิ จึงไม่ชอบ เงินค่าภาษีเงินได้ที่บริษัท ป.ท. รับจะออกแทนให้โจทก์นั้นเมื่อบริษัท ป.ท. ยังมิได้ออกเงินค่าภาษีให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 การที่จำเลยนำค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อให้โจทก์เสียภาษี จึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการในไทย การจำหน่ายเงินกำไรออกนอกประเทศ และอากรแสตมป์
โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดที่สหรัฐอเมริกาและมีสาขาที่กรุงเทพดังนี้โจทก์และสาขามีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ประมวลรัษฏากรมาตรา 76ทวิ ให้ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อบริษัท ส. ในประเทศไทยกู้เงินจากโจทก์ที่สหรัฐอเมริกาและส่งดอกเบี้ยเงินกู้ไปให้ ดอกเบี้ยที่ส่งออกไปจากประเทศไทยดังกล่าวไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆเมื่อโจทก์ได้รับเงินนั้นแล้วถือว่าโจทก์ได้รับเงินได้ในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองให้นิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีในกำไรสุทธิ การคำนวณกำไรสุทธิให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 65 และ 65ทวิ ถ้าไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ให้นำบทบัญญัติเรื่องการประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) มาบังคับโดยอนุโลม แต่บทบัญญัติในมาตรา 65 และ 65ทวิดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์โดยวิธีเทียบเคียงกับกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.5ของสาขากรุงเทพฯแต่ละปี ดังนั้นที่เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 วรรคสองทำการคำนวณกำไรสุทธิดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้วิธีดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของโจทก์ในประเทศไทยการส่งดอกเบี้ยเงินกู้ออกไปจากประเทศไทยในกรณีนี้ ถ้าเงินดอกเบี้ยนั้นเป็นเงินกำไรก็เป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ซึ่งแม้ธนาคารโจทก์สาขากรุงเทพฯจะเป็นผู้ส่งหรือบริษัทจะเป็นผู้ส่งโดยผ่านธนาคารพาณิชย์ใดก็ตามแต่เมื่อธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินดังกล่าวในต่างประเทศก็ถือว่าธนาคารโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70ทวิ โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รวม 4 ปีคิดเป็นเงินไทย 28,621,195.78 บาท เจ้าพนักงานประเมินมิได้คิดภาษีจากจำนวนเงินดังกล่าว ได้คำนวณกำไรสุทธิให้ก่อนเป็นเงิน 16,145,964.22 บาท แล้วคิดภาษีจากเงินจำนวนนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งการคำนวณกำไรสุทธิดังกล่าวจึงต้องคิดภาษีไปตามนี้
เมื่อโจทก์ซึ่งมีสาขาในประเทศไทยได้รับดอกเบี้ยเงินกู้รายนี้จากประเทศไทยก็เป็นการรับเงินในประเทศไทย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเงินจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฏากรมาตรา 105 เมื่อโจทก์ไม่ได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอากร 6 เท่าของเงินอากรตามมาตรา 114 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 111 หรือข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ญเพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการทำตราสารและออกใบรับเงินในต่างประเทศต่างกับบทกรณีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ, การใช้เครื่องหมายการค้าปลอม, และค่าเสียหายจากการละเมิด
นิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศมีอำนาจฟ้องคดีในศาลไทยหรือตั้งผู้แทนฟ้องคดีได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศ ซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่าย โดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียให้หรือเสียแทนกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนิติบุคคลต่างประเทศในการฟ้องคดีและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทย การละเมิดเครื่องหมายการค้าและค่าเสียหาย
นิติบุคคลเมื่อจดทะเบียนตามกฎหมายต่างประเทศ มีอำนาจฟ้องคดีในศาลไทยหรือตั้งผู้แทนฟ้องคดีได้
นิติบุคคลในต่างประเทศมีอำนาจมอบให้นิติบุคคลในต่างประเทศซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศไทยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเขาได้
ถ้าจำเลยเห็นว่า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะร้องขอให้ศาลเพิกถอน ไม่ใช่เรื่องที่จะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เมื่อกล่องและสลากปิดขวดยาอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นของปลอมแล้ว แม้ตัวยาในขวดจะไม่ได้ความชัดว่าเป็นยาปลอม จำเลยผู้สั่งของนี้มาจำหน่ายโดยรู้ว่ากล่องและสลากยานั้นเป็นของปลอม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าปลอม และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานขาดประโยชน์ 83,850 บาท และค่าเสียหายฐานเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ 50,000 บาท ศาลชั้นต้นให้ค่าเสียหาย 2 อย่างรวมกันมา 55,000 บาท และโจทก์อุทธรณ์ขอค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรได้เฉพาะค่าเสียชื่อเสียงเกียรติคุณและคงให้ใช้ค่าเสียหาย 55,000 บาทได้
การส่งประเด็นไปสืบพยานในต่างประเทศย่อมทำได้เมื่อจำเป็นและสมควร และค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งศาลใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเสียหรือให้เสียแทนกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลต่างประเทศ: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตฟ้องได้ แม้ไม่มีภูมิลำเนาในไทย
นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้โดยไม่มีข้อจำกัดว่านิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศนั้นต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อโจทก์เป็นผู้ขนส่งและเป็นเจ้าของตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากผู้ขายที่สาธารณรัฐเกาหลีมายังประเทศไทย โดยใบตราส่งระบุว่าจำเลยเป็นผู้รับตราส่ง และเงื่อนไขการขนส่งเป็นแบบซีวาย/ซีวาย ซึ่งหมายความว่า เมื่อสินค้าถึงท่าปลายทางจำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งมีหน้าที่รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจรับสินค้าที่สถานที่ของตนแล้วนำตู้สินค้ามาคืนแก่ผู้ขนส่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินพิธีการศุลกากรเพื่อรับสินค้าแล้ว แต่ไม่นำต้นฉบับใบตราส่งไปเวนคืนหรือให้ประกันเพื่อรับมอบสินค้า ทำให้ตัวแทนโจทก์ไม่สามารถออกใบปล่อยสินค้าได้ เป็นเหตุให้ตู้สินค้าของโจทก์คงค้างที่ท่าเรือ โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในตู้สินค้าดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายและเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง