พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การแต่งตั้งผู้จัดการและการมอบอำนาจตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดได้แต่งตั้งให้บริษัท ก. เป็นผู้จัดการ บริษัท ก. ได้แต่งตั้งให้ บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนในฐานะผู้จัดการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสอง บ. ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ด้วยตามมาตรา 36 (3) ทั้งมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีตามข้อบังคับของโจทก์ที่ระบุให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด บ. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีแทน และสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุด มี ส. เป็นผู้จัดการ ส. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 (3) เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราของโจทก์มอบอำนาจให้ ท. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ท. ดำเนินคดีแทนโจทก์ แม้การมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือมีมติของที่ประชุมเจ้าของร่วมให้กระทำได้ แต่การฟ้องคดีมิใช่เรื่องการปฏิบัติกิจการในหน้าที่ซึ่งผู้จัดการต้องกระทำด้วยตนเองตาม พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 36 วรรคท้าย ท. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางและให้มีอำนาจกระทำการใดเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยออกข้อบังคับกำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระเงินให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย โดยในมาตรา 40 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางและบริการทั่วไปแก่เจ้าของร่วมกรณีหนึ่ง กับในมาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดที่เกิดจากบริการส่วนรวม และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าจ้างคนงาน พนักงานทำความสะอาด ยามรักษาการ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการ พนักงานลูกจ้างต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 โดยเฉพาะค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการและพนักงานลูกจ้างจะเป็นบทบังคับเด็ดขาดตามกฎหมายและไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม เป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด นอกจากต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของโจทก์ซึ่งผู้จัดการคนเดิมเคยเรียกเก็บและจำเลยได้ชำระมาแล้ว จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเป็นเงินคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่
พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางและให้มีอำนาจกระทำการใดเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยออกข้อบังคับกำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระเงินให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย โดยในมาตรา 40 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางและบริการทั่วไปแก่เจ้าของร่วมกรณีหนึ่ง กับในมาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดที่เกิดจากบริการส่วนรวม และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าจ้างคนงาน พนักงานทำความสะอาด ยามรักษาการ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการ พนักงานลูกจ้างต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 โดยเฉพาะค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการและพนักงานลูกจ้างจะเป็นบทบังคับเด็ดขาดตามกฎหมายและไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม เป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด นอกจากต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของโจทก์ซึ่งผู้จัดการคนเดิมเคยเรียกเก็บและจำเลยได้ชำระมาแล้ว จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเป็นเงินคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7268/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้นมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคล อาคารชุดโจทก์จะต้องปฏิบัติกิจการในหน้าที่ด้วยตนเอง เว้นแต่ข้อบังคับหรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมจะกำหนดให้มอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ กรณีนี้ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง หาได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยแต่ประการใดไม่ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8292/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดในการดำเนินคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจหน้าที่เป็นตัวแทนของนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจึงมีอำนาจดำเนินการใด ๆ แทนนิติบุคคลอาคารชุดได้ แม้ว่าในข้อบังคับของโจทก์จะกำหนดให้คณะกรรมการนิติบุคคลของโจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแก่บุคคลภายนอก หากมีการละเมิดจากการกระทำของบุคคภายนอกในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง การเรียกร้องค่าเสียหาย และการเรียกเอาทรัพย์คืนนั้น ข้อบังคับของโจทก์ดังกล่าวก็หาลบล้างอำนาจของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดไม่
ข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะขอถอนฟ้องคดีอาญาในศาลชั้นต้นทุกคดี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยการถอนฟ้องคดีอาญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย ส่วนจำเลยก็ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท ต่อมาคดีที่ฟ้องศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีการประนีประนอมยอมความกันตามข้อตกลงดังกล่าว โดยจำเลยจะต้องถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่โจทก์ถอนฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลแขวงเชียงใหม่ ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องของจำเลย ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาที่ศาลแขวงเชียงใหม่แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทเป็นการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะขอถอนฟ้องคดีอาญาในศาลชั้นต้นทุกคดี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยการถอนฟ้องคดีอาญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย ส่วนจำเลยก็ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท ต่อมาคดีที่ฟ้องศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีการประนีประนอมยอมความกันตามข้อตกลงดังกล่าว โดยจำเลยจะต้องถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่โจทก์ถอนฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลแขวงเชียงใหม่ ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องของจำเลย ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาที่ศาลแขวงเชียงใหม่แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทเป็นการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจผ่านผู้จัดการและผู้ดำเนินการแทน
นิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มีผู้จัดการคือบริษัท บ. และมีการแต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการพ. ย่อมเป็นผู้จัดการของโจทก์และมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วย พ.ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ในฐานะผู้จัดการของโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจเอง เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนส่วนราชการนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคลอาคารชุด และหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดโดยมีบริษัท ย. ซึ่งมี บ.เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัทในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้จัดการ ให้นิติบุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลธรรมดาคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการ ดังนั้น บ.จึงเป็นผู้จัดการของโจทก์ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดำเนินการแทนโจทก์ บ.ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโจทก์ที่ให้ บ.มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ทั้งปวงเพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วม และการฟ้องคดีต้องถือว่าเป็นการกระทำการอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์
จำเลยค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2537 และโจทก์ไม่ได้เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่ในช่วงระยะเวลานั้น เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และความในมาตรา 17 บัญญัติว่า การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และตามข้อบังคับ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงเป็นหน้าที่โดยกฎหมายบัญญัติ มิใช่หน้าที่ที่เกิดจากสัญญา จึงมิใช่เรื่องสัญญาต่างตอบแทน เมื่อไม่ปรากฏสัญญามีผลยกเว้นความรับผิดเป็นพิเศษไว้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาคือไม่เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่ จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามลักษณะสัญญาต่างตอบแทนหาได้ไม่ หากโจทก์ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก
จำเลยค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2537 และโจทก์ไม่ได้เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่ในช่วงระยะเวลานั้น เมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และความในมาตรา 17 บัญญัติว่า การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และตามข้อบังคับ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงเป็นหน้าที่โดยกฎหมายบัญญัติ มิใช่หน้าที่ที่เกิดจากสัญญา จึงมิใช่เรื่องสัญญาต่างตอบแทน เมื่อไม่ปรากฏสัญญามีผลยกเว้นความรับผิดเป็นพิเศษไว้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาคือไม่เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่ จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามลักษณะสัญญาต่างตอบแทนหาได้ไม่ หากโจทก์ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลอาคารชุดไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หากไม่ได้ดำเนินกิจการนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งมาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวและตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ระบุวัตถุประสงค์ของโจทก์ไว้ตรงตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ตามข้อบังคับของโจทก์ก็กำหนดให้เจ้าของร่วมชำระเงินให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 โดยกำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และการบริการทั่วไปให้แก่เจ้าของร่วม และกำหนดให้เจ้าของร่วมแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดที่เกิดจากการบริการส่วนรวม และที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่นค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปา ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง เป็นต้น ค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางอันได้แก่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง เช่นค่าจ้างคนงาน พนักงานทำความสะอาด ยามรักษาการ และซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เช่น ค่าภาษีที่ดิน ค่าภาษีโรงเรือน เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เช่น เงินเดือนของผู้จัดการ พนักงานลูกจ้างและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการของนิติบุคคลอาคารชุด ค่าเบี้ยประกันภัยของทรัพย์ส่วนกลาง วัตถุประสงค์ดังกล่าวก็เป็นไปตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการส่วนรวม และที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และวรรคสองของมาตราดังกล่าวยังได้บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 แสดงว่าเงินที่เจ้าของร่วมชำระให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุด มิใช่การชำระเป็นค่าบริการที่ได้รับจากนิติบุคคลอาคารชุด หากแต่เป็นเพียงเงินที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดชำระให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดตามที่กฎหมายบังคับไว้ เพื่อให้จัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางแทนเจ้าของร่วมในอาคารชุดตามวัตถุประสงค์ของอาคารชุดและตามที่ที่ประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วมในอาคารชุดกำหนด โจทก์ไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้เพื่อการอย่างอื่นได้ และไม่อาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าให้แก่ตนเอง โจทก์ไม่สามารถหากำไรจากหน้าที่ดังกล่าว และเมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่เรียกเก็บเงินกองทุน เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคจากเจ้าของร่วม มิได้ดำเนินกิจการอื่นใดนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดไว้อันจะทำให้โจทก์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการทางธุรกิจหรือวิชาชีพ เมื่อโจทก์คงดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดไว้ การกระทำของโจทก์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) โจทก์จึงไม่เป็นผู้ประกอบการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายแล้วย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของร่วม การที่โจทก์เรียกเก็บเงินกองทุน เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคจากเจ้าของร่วมเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่โจทก์ใช้บริการของตนเองอันจะอยู่ในความหมายของคำว่าบริการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 37/1 (10)โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็นไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 13 สัตต เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุดทั่วๆไปไม่ได้เฉพาะโจทก์ เพราะถ้าหากนิติบุคคลอาคารชุดรายอื่นที่ดำเนินกิจการนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดไว้และมีรายได้ นิติบุคคลอาคารชุดรายนั้นก็อาจจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้สั่งให้โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยและประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็เช่นเดียวกัน มิใช่คำสั่งที่มีไปถึงโจทก์โดยตรงแต่เป็นคำสั่งทั่ว ๆไปดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่เพิกถอนจึงชอบแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า คำสั่งของจำเลยที่ 3 ที่มีถึงโจทก์ให้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 เป็นการปฏิบัติตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนำผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็นไปตามมาตรา 13 สัตตมาปฏิบัติ ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร และประกาศกรมสรรพากร กับขอให้จำเลยที่ 1ยกเลิกคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อจำเลยที่ 3 ขอให้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 3 ที่มีถึงโจทก์ให้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ได้ หาเกินคำขอไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรก็เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบการอยู่ภายในบังคับของกฎหมายที่จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการและชำะภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการเรียกให้โจทก์ชำระเงินภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนด หาใช่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์อ้างว่า โจทก์ไม่จำต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการ ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 คืน จึงเป็นการฟ้องขอคืนค่าภาษีอากรที่โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสียแต่ได้ชำระภาษีไว้ ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 ตรี บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอคืน แต่เมื่อปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย อันเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 บัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและดอกเบี้ยตามฟ้อง
เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายแล้วย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของร่วม การที่โจทก์เรียกเก็บเงินกองทุน เงินค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคจากเจ้าของร่วมเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่โจทก์ใช้บริการของตนเองอันจะอยู่ในความหมายของคำว่าบริการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 37/1 (10)โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็นไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 13 สัตต เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุดทั่วๆไปไม่ได้เฉพาะโจทก์ เพราะถ้าหากนิติบุคคลอาคารชุดรายอื่นที่ดำเนินกิจการนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดไว้และมีรายได้ นิติบุคคลอาคารชุดรายนั้นก็อาจจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้สั่งให้โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยและประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็เช่นเดียวกัน มิใช่คำสั่งที่มีไปถึงโจทก์โดยตรงแต่เป็นคำสั่งทั่ว ๆไปดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่เพิกถอนจึงชอบแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า คำสั่งของจำเลยที่ 3 ที่มีถึงโจทก์ให้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 เป็นการปฏิบัติตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนำผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่กรมสรรพากรขอความเห็นไปตามมาตรา 13 สัตตมาปฏิบัติ ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร และประกาศกรมสรรพากร กับขอให้จำเลยที่ 1ยกเลิกคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อจำเลยที่ 3 ขอให้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 3 ที่มีถึงโจทก์ให้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 3 ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ได้ หาเกินคำขอไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรก็เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นว่า โจทก์เป็นผู้ประกอบการอยู่ภายในบังคับของกฎหมายที่จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการและชำะภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการเรียกให้โจทก์ชำระเงินภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนด หาใช่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์อ้างว่า โจทก์ไม่จำต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการ ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินค่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 คืน จึงเป็นการฟ้องขอคืนค่าภาษีอากรที่โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสียแต่ได้ชำระภาษีไว้ ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 ตรี บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสีย โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอคืน แต่เมื่อปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย อันเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 บัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของนิติบุคคลอาคารชุด: การบังคับภาระจำยอมและการลบล้างผลทางกฎหมายจากการทิ้งคำร้อง
จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีหมายเลขแดงที่ 2572/2550 ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าว แต่เมื่อคดีดังกล่าวศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขอ จึงย่อมมีผลเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องขอ รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาภายหลังการยื่นคำร้องขอนั้น ทำให้จำเลยที่ 1 กลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นคำร้องขอเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 คดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากการซื้อห้องชุดประมูล การรับผิดชอบของเจ้าของกรรมสิทธิ์ใหม่ และสิทธิของนิติบุคคลอาคารชุด
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 บัญญัติว่า หนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าของห้องชุดมีหน้าที่ต้องร่วมกันชำระ ส่วนบทกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นข้อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้อยู่อาศัยเพื่อประโยชน์แก่การอยู่อาศัยร่วมกันโดยปกติสุข เจ้าของร่วมจึงต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าปรับตามกฎหมาย โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ประมูลซื้อห้องชุดเลขที่ 83/15 ชั้นที่ 1 อาคารเลขที่ 1 ของอาคารชุด ศ. อาคาร 3 อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยการขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ผู้ซื้อย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของร่วมเดิมและต้องถือว่าค่าปรับอันเกิดจากการผิดนัดชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามข้อบังคับของจำเลย เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบด้วย
ในการประกาศขายทอดตลาดห้องชุด ตามปกติของเจ้าพนักงานบังคับคดี ระบุเงื่อนไขการขายทอดตลาดไว้ว่า ผู้ซื้อได้ต้องรับผิดชอบเรื่องภาระหนี้สิน (หากมี) ต่อนิติบุคคลอาคารชุดด้วยซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกรมบังคับคดี โจทก์จึงสามารถตรวจสอบภาระหนี้สินได้จากเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนเข้าประมูลสู้ราคาได้ ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระมีจำนวนมากหรือสูงกว่าราคาห้องชุดที่โจทก์ซื้อ โจทก์สามารถตัดสินใจที่จะเข้าสู้ราคาในการประมูลขายทอดตลาดหรือไม่ตั้งแต่แรกแล้ว เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าปรับที่ค้างชำระให้แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์และระงับการให้สาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่โจทก์ได้
ค่าปรับของจำนวนค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระตามข้อบังคับของจำเลยมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ซึ่งจำเลยกำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีที่เจ้าของห้องชุดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรนั้น ถือเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 โจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องชุดชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งถ้าหากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจลดลงให้เป็นจำนวนที่พอสมควรได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าภายหลังจากจำเลยแจ้งจำนวนหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องจำเลยเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางของห้องชุดที่ค้างชำระแต่อย่างใด ที่โจทก์กล่าวอ้างในคดีนี้ทำนองว่า จำเลยเรียกค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระและค่าปรับเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางเดือนละ 425 บาท ทั้ง ๆ ที่ในข้อบังคับหมวด 6 ข้อ 13 ในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อ 250 บาท เพียงเดือนละ 423.50 บาท เท่านั้นและไม่มีการออกใบเสร็จเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในการประกาศขายทอดตลาดห้องชุด ตามปกติของเจ้าพนักงานบังคับคดี ระบุเงื่อนไขการขายทอดตลาดไว้ว่า ผู้ซื้อได้ต้องรับผิดชอบเรื่องภาระหนี้สิน (หากมี) ต่อนิติบุคคลอาคารชุดด้วยซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกรมบังคับคดี โจทก์จึงสามารถตรวจสอบภาระหนี้สินได้จากเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนเข้าประมูลสู้ราคาได้ ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระมีจำนวนมากหรือสูงกว่าราคาห้องชุดที่โจทก์ซื้อ โจทก์สามารถตัดสินใจที่จะเข้าสู้ราคาในการประมูลขายทอดตลาดหรือไม่ตั้งแต่แรกแล้ว เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าปรับที่ค้างชำระให้แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์และระงับการให้สาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่โจทก์ได้
ค่าปรับของจำนวนค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระตามข้อบังคับของจำเลยมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ซึ่งจำเลยกำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีที่เจ้าของห้องชุดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรนั้น ถือเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 โจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องชุดชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งถ้าหากศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ก็มีอำนาจลดลงให้เป็นจำนวนที่พอสมควรได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าภายหลังจากจำเลยแจ้งจำนวนหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องจำเลยเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางของห้องชุดที่ค้างชำระแต่อย่างใด ที่โจทก์กล่าวอ้างในคดีนี้ทำนองว่า จำเลยเรียกค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระและค่าปรับเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางเดือนละ 425 บาท ทั้ง ๆ ที่ในข้อบังคับหมวด 6 ข้อ 13 ในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อ 250 บาท เพียงเดือนละ 423.50 บาท เท่านั้นและไม่มีการออกใบเสร็จเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องที่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุดในการรักษาสิทธิในทรัพย์ส่วนกลาง กรณีถูกกีดกันสิทธิใช้ทาง
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง และมาตรา 39 กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดเพื่อประโยชน์ของเจ้าของห้องชุดซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง โดยกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดใช้สิทธิของเจ้าของร่วมในการต่อสู้บุคคลภายนอก หรือเรียกร้องเอาทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้อีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความแก่ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชุดอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดแล้ว ต่อมาจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท จนเป็นเหตุให้เจ้าของห้องชุดและโจทก์ไม่อาจใช้ประโยชน์จากทางพิพาทเพื่อเป็นเส้นทางผ่านเข้าออกจากถนนสาธารณะสู่อาคารชุดโจทก์ได้ดังเดิม การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทและให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่ที่ดินอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายในฐานะที่โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางเพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดนั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2558)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2558)