พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุความจำเป็นตามนโยบายที่ชัดเจน การใช้พื้นที่จริงเป็นเกณฑ์
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเรื่องความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างทางขึ้น-ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานครผิดไปจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน เป็นอุทธรณ์ใน ข้อกฎหมายไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลย 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากความล่าช้าการอนุญาตก่อสร้าง แม้มีเหตุผลด้านนโยบาย แต่ไม่สามารถอ้างได้
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 และมาตรา 27 กำหนดเวลาไว้เป็นการเด็ดขาด กล่าวคือเมื่อผู้ขอใบอนุญาตเสนอแบบแปลน แผนผังบริเวณ รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบอนุญาตหรือมีคำสั่ง ไม่อนุญาตและแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยตรง ไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 และมิอาจอ้างเหตุอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 มาเป็นเหตุไม่มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ที่ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารจนพ้นกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 26 เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ข้ออ้างในการที่ไม่มีคำสั่งตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จะเป็นเรื่องของการรักษาผลประโยชน์สาธารณะตามอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างมาทำให้โจทก์ต้องรับภาระนั้นแต่ผู้เดียวได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ความเสียหายจากการที่โจทก์มิได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนตามบทกฎหมายและกฎข้อบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ในฐานะดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ในการสั่งการวินิจฉัย ที่จำเลยที่ 2 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่จนพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายก็เพราะจำเลยที่ 2 คำนึงถึงนโยบายของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรี ที่จะอนุรักษ์บริเวณที่โจทก์ขอใบอนุญาตก่อสร้างไว้เป็น บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การสั่งการวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ในพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมอยู่ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงได้รับยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ค่ามัดจำที่ดินที่โจทก์จะซื้อเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโจทก์จึงไม่ได้ซื้อที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงถูกริบมัดจำไปเป็นค่าเสียหายพิเศษที่โจทก์ได้รับ กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1ย่อมไม่เคยทราบความเสียหายที่จะเกิดนี้มาก่อน ทั้งโจทก์ก็ไม่เคยแจ้งเตือนจำเลยที่ 1 จึงเป็นค่าเสียหายไกลกว่าเหตุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ค่าออกแบบ ค่าคำนวณการก่อสร้างของสถาปนิกและวิศวกรนั้น เมื่อโจทก์จะก่อสร้างอาคารตามที่ขออนุญาต โจทก์ต้องยื่น แบบแปลนรายการคำนวณและผังแบบแปลนตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์ได้จ่ายค่าจ้างศึกษาโครงการแล้ว แต่โจทก์จะตัดสินใจดำเนินการหรือไม่อยู่ที่ว่าโครงการนั้นคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ หากไม่คุ้มค่าลงทุนโจทก์ก็ต้องงดโครงการ และย่อมต้องเสียค่าศึกษาโครงการอยู่ดี ค่าศึกษาโครงการจึงเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ ค่าเสียโอกาสและเวลานั้น หากโครงการของโจทก์ได้รับอนุญาต แล้วกิจการของโจทก์อาจไม่ประสบความสำเร็จและประสบการขาดทุน ก็ได้ ไม่มีความแน่นอน การที่โจทก์ไม่ได้ก่อสร้างอาคาร ตามโครงการจะถือว่าเป็นการเสียโอกาสและเวลาที่จำเลย ต้องรับผิดชดใช้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการจากการลงทุนผิดนโยบาย และผลกระทบต่อการชำระหนี้
ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินการลงทุนลูกหนี้ในฐานะตัวแทนต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝืมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในการนำเงินของเจ้าหนี้ไปลงทุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 807 วรรคสอง ประกอบมาตรา 659 วรรคสาม การที่ลูกหนี้นำเงินของเจ้าหนี้ไปซื้อลดตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท ก. และเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินสั่งจ่ายให้แก่ ม. กับมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นผู้อาวัล เป็นการลงทุนโดยไม่ปฏิบัติตามหนังสือยืนยันนโยบายการลงทุนที่ลูกหนี้มีถึงประธานคณะกรรมการของเจ้าหนี้ว่า จะลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตามที่ตัวการได้มอบหมาย ซึ่งผลปรากฏต่อมาว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้ แม้เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินจากผู้สั่งจ่าย ผู้อาวัล และผู้สลักหลัง กับได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้อาวัลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่เป็นที่แน่นอนว่าเจ้าหนี้จะได้รับเงินครบถ้วนหรือไม่ การกระทำของลูกหนี้จึงเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้