คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
น้ำปลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตและจำหน่ายน้ำปลาไม่ได้มาตรฐานตาม พ.ร.บ.อาหาร ถือเป็นความผิด 2 กรรม แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
น้ำปลาของกลางที่จำเลยผลิตขึ้นมีปริมาณไนโตรเจน ซึ่งช่วยเสริมสร้างโปรตีนให้ร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานระหว่างร้อยละ 30.5ถึงร้อยละ 72 แสดงว่าน้ำปลาดังกล่าวไม่ได้มาตรฐานมีคุณค่าทางอาหารขาดเกินกว่าร้อยละ 30 ถือได้ว่าเป็นอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 มาตรา 27(2) แล้ว แม้ไม่ก่อให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อผู้บริโภคก็ตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า"จำหน่าย" หมายความรวมถึงขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าผลิตน้ำปลาเพื่อจำหน่ายน้ำปลาของกลาง เชื่อได้ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายถือว่าเป็นการจำหน่ายด้วย การผลิตอาหารปลอมคือน้ำปลาของจำเลย มีกรรมวิธีต่าง ๆจนกระทั่งเป็นน้ำปลาบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้ เป็นการกระทำอันหนึ่งเป็นกรรมหนึ่ง ส่วนการจำหน่ายซึ่งรวมถึงการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 เป็นการกระทำอีกอันหนึ่งเป็นอีกกรรมหนึ่งหลังจากกระทำการปลอมอาหารแล้วเป็นสองกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'ตรากุ้งมังกร' ไม่เล็งถึงลักษณะน้ำปลา ศาลยืนรับจดทะเบียน
คำว่า "กุ้ง" ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า "กุ้ง" ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลาและกะปิ" คือ "กุ้ง" และกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลา" คือ "ปลา" ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า "กุ้ง" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า "น้ำปลา" จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน