พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงแหล่งกำเนิดสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้า และความรับผิดของผู้จัดการห้างหุ้นส่วนในการละเลยป้ายน้ำมัน
โจทก์ร่วมทำสัญญากับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน โดยให้จำเลยมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องซื้อน้ำมันจากโจทก์ร่วมมาจำหน่ายเท่านั้น จำเลยผิดสัญญาโดยไปซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่นมาจำหน่าย โจทก์ร่วมบอกเลิกสัญญาให้จำเลยส่งคืนสถานีบริการน้ำมันแก่โจทก์ร่วม รวมทั้งเพิกถอนความยินยอมให้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม แต่จำเลยก็ยังคงประกอบการค้าต่อไปโดยซื้อน้ำมันจากที่อื่นมาจำหน่าย และยังคงติดป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมัน โดยมิได้แสดงเครื่องหมายให้ประชาชนเข้าใจว่าสถานีบริการน้ำมันนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันของโจทก์ร่วม แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำเลยจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จึงเป็นการขายของโดยหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดแห่งของอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 271
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเฉพาะในส่วนที่จำเลยได้ขายน้ำมันให้แก่ ส. และ อ. ซึ่งเป็นผู้ไปทำการล่อซื้อน้ำมันดังกล่าว โดยที่ ส. และ อ. มิได้หลงเชื่ออยู่แล้วว่าน้ำมันที่จำเลยนำออกจำหน่ายนั้นเป็นน้ำมันของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล อันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 80
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 49 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งละเลยไม่ปิดป้ายเครื่องหมายไว้ ณ ที่ที่เห็นได้ง่ายตามมาตรา 9 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 9 , 49
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเฉพาะในส่วนที่จำเลยได้ขายน้ำมันให้แก่ ส. และ อ. ซึ่งเป็นผู้ไปทำการล่อซื้อน้ำมันดังกล่าว โดยที่ ส. และ อ. มิได้หลงเชื่ออยู่แล้วว่าน้ำมันที่จำเลยนำออกจำหน่ายนั้นเป็นน้ำมันของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล อันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 80
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 49 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งละเลยไม่ปิดป้ายเครื่องหมายไว้ ณ ที่ที่เห็นได้ง่ายตามมาตรา 9 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 9 , 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตน้ำมัน: นับจากสิ้นสุดการสูบจ่ายรายวัน ไม่ใช่กระบวนการทั้งหมด
ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 10(1)(ก)ที่บัญญัติว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี กรณีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2(1) กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน จากข้อความในบทบัญญัติและประกาศดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมนั้น หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกาของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันนั้นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการสูบจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด
การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่ง ไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะอ้างว่าปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์ไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่ง ไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะอ้างว่าปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์ไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต สารละลายเคมีไวท์สปิริตไม่เข้าข่ายเสียภาษี
สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ไม่ใช่น้ำมันอื่น ๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วตามคำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน" ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 แม้สารละลายและโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ นั้น จะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมันก๊าด ก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้น ดังนี้ พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 1ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534ในประเภทที่ 01.03 รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน จึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ด้วยสารละลายเคมีไว้ท์สปิริตพิพาทจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 01.03 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต สารละลายไวท์สปิริตไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ให้คำจำกัดความคำว่า "น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน" หมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลี่ยมได้แก่น้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิงหนักน้ำมันเตา และน้ำมันอื่น ๆ ที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ตามคำจำกัดความดังกล่าวสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ ระบุแยกออกจากคำว่าน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ออกชื่อมาแล้ว ดังนั้น สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จึงไม่ใช่น้ำมันอื่น ๆ ที่ออกชื่อมาแล้ว และแม้สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ นั้น จะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2532) เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมัดก๊าด ก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้น ดังนี้ พิพักอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่ 1 ในประเภทที่ 01.03 รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโชลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไวท์สปิริตจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 01.03 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่าง ๆ จำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'น้ำมัน' ใน พ.ร.บ.สรรพสามิต สารละลายไวท์สปิริตไม่ต้องเสียภาษี
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534ให้คำจำกัดความคำว่า"น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน"หมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากปิโตรเลี่ยมได้แก่น้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าดน้ำมันเชื้อเพลิงหนักน้ำมันเตาและน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ได้ออกชื่อมาแล้วสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆตามคำจำกัดความดังกล่าวสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆระบุแยกออกจากคำว่าน้ำมันอื่นๆที่คล้ายกับน้ำมันที่ออกชื่อมาแล้วดังนั้นสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆจึงไม่ใช่น้ำมันอื่นๆที่ออกชื่อมาแล้วและแม้สารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆนั้นจะมีคุณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันก๊าดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่1(พ.ศ.2532)เรื่องกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซินและน้ำมัดก๊าดก็ไม่ใช่น้ำมันก๊าดตามคำจำกัดความข้างต้นดังนี้พิพักอัตราภาษีสรรพสามิตตอนที่1ในประเภทที่01.03รายการน้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกันจึงไม่รวมถึงสารละลายหรือโชลเว้นท์ชนิดต่างๆด้วยสารละลายเคมีไวท์สปิริตจึงไม่ใช่สินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่01.03ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่3)พ.ศ.2534และเมื่อตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เรียกเก็บภาษีจากสารละลายหรือโซลเว้นท์ชนิดต่างๆจำเลยก็ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต พนักงานขับรถเบิกน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ ความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานในหน่วยงานของรัฐ
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ ว.ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของว.ทั้ง ๆ ที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 แต่หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา 147 และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ ว. ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11เท่านั้น พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้มีหน้าที่ชำระคือผู้ควบคุมอากาศยาน ไม่ใช่ผู้จำหน่ายน้ำมัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมล่วงเวลาพร้อมดอกเบี้ยจำนวน13,136,836.25บาทให้แก่โจทก์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าธรรมเนียมล่วงเวลาจำนวน8,880,000บาทในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยคำนวณจากยอดซื้อขายน้ำมันและกำไรต่อลิตร ยอมรับการประเมินของเจ้าพนักงานแล้วชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์ เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาท จากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ 0.02 บาทได้โดยชอบ โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์นายจ้าง-สูบถ่ายน้ำมัน: กรรมเดียวผิดหลายบท ศาลฎีกามีอำนาจลดโทษ
จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นสูบถ่ายน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1 เป็นคนขับ อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะบรรทุกน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพิลง พ.ศ.2516 มาตรา 3, 4,8 ประกอบคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 1/2522 ข้อ 15 (1) อีกบทหนึ่งด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ทำการสูบถ่ายนำานดุงกล่าวชี้ชัดว่าเป็นความต้องการเดียวกันกับเอาน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ไป และโดยลักษณะของการกระทำ คือ การสูบถ่ายน้ำมันไปดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นการเอาน้ำมันไปด้วยในตัว จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน หาได้มีเจตนาให้มีผลแยกต่างหากจากกันไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างทั้งอสงกำหนดโทษจำเลยไว้หนักไปศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เบาลงได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดีให้มีผลตลอดถึงจำเลยอื่นซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างทั้งอสงกำหนดโทษจำเลยไว้หนักไปศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เบาลงได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดีให้มีผลตลอดถึงจำเลยอื่นซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการตรวจรับน้ำมันที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของน้ำมัน
จำเลยทั้งเจ็ดได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการตรวจรับน้ำมันให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีระเบียบในการนี้ว่ากรรมการตรวจรับน้ำมันทุกคนจะต้องร่วมกันตรวจรับ โดยตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถยนต์บรรทุกน้ำมันว่าตรงกับที่ตรวจสอบไว้แล้วหรือไม่ ตรวจวาล์วและตราที่ปิดผนึกไว้มีรอยชำรุดหรือไม่ เปิดฝาถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมันตรวจดูว่ามีน้ำมันท่วมแป้นหรือไม่ ตรวจในถังน้ำมันว่ามีน้ำปลอมปนหรือไม่ เมื่อตรวจถูกต้องแล้วให้เปิดท่อน้ำมันจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันต่อเข้าท่อสูบน้ำมันขึ้นไปสู่ถังเก็บน้ำมันใหญ่และดำเนินการให้น้ำมันในรถยนต์บรรทุกน้ำมันถ่ายลงจากรถทั้งหมด แล้วจึงจะมีการเข็นรับน้ำมันในใบรับของและใบส่งของ ระเบียบดังกล่าวมีไว้เพื่อตรวจสอบมิให้มีการส่งน้ำมันมาไม่ครบถ้วนและป้องกันไม่ให้มีการถ่ายน้ำมันออกจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่หมดแล้วถูกเบียดบังไปจำเลยทั้งเจ็ดจึงต้องร่วมกันตรวจรับและควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนหากแบ่งหน้าที่กันทำแล้วจะไม่สามารถควบคุมได้ การที่จำเลยทั้งเจ็ดไม่ร่วมกันตรวจสอบน้ำมันตามระเบียบของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้มีการส่งน้ำมันให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แม้จำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้ร่วมกันทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยไม่ต้องนำสืบว่าการบกพร่องต่อหน้าที่ของจำเลยแต่ละคนหรือแต่ละคราวดังกล่าวนั้น เป็นเหตุให้โจทก์สูญเสียน้ำมันไปจำนวนเท่าใด.