คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
น้ำหนักสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ส่งของต่อความเสียหายจากการแจ้งน้ำหนักสินค้าไม่ถูกต้อง และการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่ง
ความเสียหายที่ผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว มาตรา 32 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่ง เนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความที่ไม่ถูกต้องนั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า, ข้อจำกัดความรับผิด, และการคำนวณค่าเสียหายตามน้ำหนักสินค้า
จำเลยเป็นเจ้าของเรือมาตุภูมิได้ดำเนินการขนส่งสินค้าร่วมกับบริษัทอาร์. โดยแบ่งหน้าที่และผลประโยชน์กัน จำเลยจึงเป็น "ผู้ขนส่ง" นิยามในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ เพราะเข้าลักษณะของบุคคลที่ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติและร่วมกันเป็นฝ่ายที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งของ ดังนั้น เมื่อสินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะอุณหภูมิไม่คงที่ในระหว่างการขนส่งในช่วงจากท่าเรือในเมืองสุราบายาถึงท่าเรือสิงคโปร์ซึ่งมีความล่าช้าผิดปกติ จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายของสินค้าให้แก่โจทก์
พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพยานเอกสารที่ทำขึ้นก่อนเกิดข้อพิพาท เอกสารแต่ละฉบับมีรายละเอียดและจำนวนเงินระบุไว้อย่างมีเหตุผล เชื่อว่ารายการต่างๆ มีมูลค่าตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง อย่างไรก็ตาม น. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ให้ถ้อยคำว่าสินค้ารายพิพาทนี้เป็นราคาซีแอนด์เอฟคือราคาสินค้ารวมค่าระวาง ดังนั้น ค่าระวางรายการที่สองที่โจทก์เรียกร้องมาจึงรวมอยู่ในค่าสินค้ารายการที่หนึ่งด้วยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้ซ้ำอีกได้ ส่วนค่าเสียหายรายการที่เหลือ เมื่อเป็นรายการที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงและไม่ซ้ำซ้อนกับรายการอื่น จึงเป็นความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์ แต่เมื่อคดีนี้เป็นการเรียกร้องให้จำเลยผู้ขนส่งรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าทางทะเล จำเลยจึงอ้างข้อจำกัดความรับผิดไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาทต่อน้ำหนักของสินค้าตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง และมาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าทางทะเล: การพิสูจน์น้ำหนักสินค้าที่แตกต่างกันระหว่างต้นทางและปลายทาง และข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับขน
การว่าจ้างขนส่งปุ๋ยสินค้าพิพาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยปุ๋ยจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอ้างว่าการขนส่งของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายแก่ปุ๋ยที่รับขน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าได้ส่งมอบปุ๋ยสินค้าที่รับขนให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าทางทะเล: การคำนวณน้ำหนักสินค้าและข้อสงวนสิทธิในการส่งมอบสินค้า
การว่าจ้างขนส่งปุ๋ยสินค้าพิพาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยปุ๋ยจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอ้างว่าการขนส่งของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายแก่ปุ๋ยที่รับขน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าได้ส่งมอบปุ๋ยสินค้าที่รับขนให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, น้ำหนักสินค้า, การชั่งน้ำหนัก, สัญญาซื้อขาย
โจทก์มี น. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มาเบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจเอกสารแสดงฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์และหนังสือรับรองลายมือชื่อโดยโนตารีปับลิก และกงสุลไทยประจำเมืองที่มีการทำหนังสือมอบอำนาจว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทย จำเลยไม่นำสืบหักล้าง โจทก์จึงไม่จำต้องนำกรรมการผู้มอบอำนาจของโจทก์มาเบิกความประกอบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทยแล้ว และหนังสือมอบอำนาจไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับน้ำหนักเหล็กแผ่นพิพาทว่า มีน้ำหนักแตกต่างไปจากน้ำหนักที่ระบุในใบแจ้งราคาเบื้องต้นของเหล็กแผ่น ซึ่งมีรายละเอียดระบุในเอกสารนั้นว่ารายละเอียดต่าง ๆ เช่น น้ำหนัก ราคาเป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น น้ำหนักแท้จริงน้ำหนักแน่นอนจะแจ้งหนี้ครั้งสุดท้าย ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าทั้งปริมาณและราคายังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว ดังนั้น การสืบพยานโจทก์จึงไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2533 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากรายงานน้ำหนักสินค้าคลาดเคลื่อน ผู้รับจ้างขนส่งรู้ทันทีแต่เพิ่งฟ้องภายหลัง
โจทก์รับจ้างบริษัทผู้ขายให้ขนส่งสินค้ามีน้ำหนัก ๕,๐๐๐ เมตริกตัน จากท่าเรือกรุงเทพ ไปส่งให้ผู้ซื้อ ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้ซื้อได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ตรวจสอบจำนวนและคุณภาพสินค้า โดยวิธีเปรียบเทียบน้ำหนักเรือก่อนและหลังบรรทุกสินค้าลงเรือ กับระดับน้ำ ข้างเรือซึ่งเรียกว่าดร๊าฟ เซอร์เวย์ แล้วรายงานว่า สินค้ามีน้ำหนัก ๔,๙๗๖ เมตริกตัน ต่ำกว่าที่ซื้อขายไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าใช้ได้ ปรากฏว่า เมื่อเรือไปถึงประเทศสิงคโปร์แล้ว สินค้าขาดหายไป ๔๗๒ เมตริกตัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อขนถ่ายสินค้าลงเรือเรียบร้อยแล้ว เรือของโจทก์ก็ออกเดินทางตรงไปยังประเทศสิงคโปร์ ก่อนทำการ ขนถ่ายสินค้าออกจากเรือก็ไม่ปรากฏว่าซีล ปิดระวางสินค้ามีร่องรอย ถูกเปิดมาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าห้องระวางเก็บสินค้าในเรือมี ความชำรุดเสียหายแสดงว่าสินค้าไม่มีการสูญหายระหว่างทาง โจทก์ ย่อมต้องทราบได้ทันทีว่าการที่สินค้าขาดจำนวนจากน้ำหนักที่จำเลย แจ้งในรายงานการตรวจสอบสินค้านั้นเป็นเพราะจำเลยรายงานผิดพลาด ถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดของจำเลยในช่วงเวลาดังกล่าวคือ เดือนมิถุนายน ๒๕๒๕ แล้ว การที่โจทก์ว่าจ้างผู้อื่นตรวจสอบ ข้อผิดพลาดในภายหลังนั้นเป็นเพียงการตรวจสอบเพื่อหาหลักฐานในคดี ว่าจำเลยคำนวณผิดพลาดไปอย่างไรเท่านั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๗ จึงพ้นกำหนด ๑ ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึง การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก.