คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
น.ส.2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน น.ส.2 ยังไม่ถือเป็นการได้สิทธิทำประโยชน์ตามกฎหมาย ไม่สามารถโอนได้ แต่มีสิทธิขับไล่ผู้บุกรุกได้
ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ให้จำเลยครอบครองแทนแต่ที่ดินพิพาทมีเพียง น.ส.2 ซึ่งเป็นหนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินของรัฐชั่วคราว ยังไม่ได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้วตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 จึงโอนกันไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่ออยู่ใน น.ส.2 ไปยื่นหรือขอให้เปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่เจ้าพนักงานที่ดินจะออกให้ตาม น.ส.2 เป็นชื่อโจทก์ได้ จึงพิพากษาให้ตามคำขอส่วนนี้ไม่ได้ แต่เนื่องจากเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ และโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่พิพาท จึงเป็นคดีประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จึงมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า (น.ส.2) การส่งมอบการครอบครองทำให้เกิดสิทธิในที่ดินได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ฎีกา จำเลยยื่นคำแก้ฎีกาเฉพาะประเด็นว่าจำเลยมิได้เจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาท แต่มิได้แก้ฎีกาข้อเท็จจริงในเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท จึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินซึ่งมีใบจอง (น.ส.2) ที่รัฐได้ยอมให้ผู้จองเข้าครอบครองทำประโยชน์ชั่วคราว จึงเป็นที่ดินมือเปล่าที่ผู้จองคงมีสิทธิครอบครองเท่านั้น ดังนั้นการโอนสิทธิการครอบครองให้แก่กันย่อมทำได้ด้วยการส่งมอบที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 เมื่อจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการโอนให้แก่โจทก์ก็ตาม