พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานทำลายป่าในเขตนิคมฯ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ ได้ แม้ไม่ได้ระบุบทกฎหมาย ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องข้อ 1 จ. ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันแผ้วถางป่าตัดต้นกาลอในป่านิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา อันเป็นการทำลายป่า ทำให้เสื่อมสภาพที่ดินเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในที่ดินภายในเขตของนิคมโดยไม่ได้รับอุนญาต? และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 4, 14, 15, 41 ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ แล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและโจทก์ระบุมาตรา 41 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดฐานนี้ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุบทกฎหมายที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดสำหรับความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ เท่านั้น หาทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อการกำหนดโทษและการพิจารณาความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองและจำหน่าย
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 เม็ด และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับไปทั้งหมด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยพบว่ายังมีเฮโรอีนอยู่ในครอบครองที่ตัวจำเลยอีกจำนวน 1 หลอด แสดงว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายในคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามสิทธิเรียกร้อง แม้บทกฎหมายที่อ้างไม่ตรงกับสถานะนายจ้าง
คำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาหากครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะอ้างบทกฎหมายอันเป็นการอ้างกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับแก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่ในการวินิจฉัยคดี ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการปรับบทกฎหมายเพื่อให้ตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ คดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องโดยเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ เป็นการพิพากษาที่ถูกต้องตามบทกฎหมายที่อ้างถึงข้างต้นแล้ว จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยมีเจตนาเดียวกัน ศาลต้องใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้อง หากข้อเท็จจริงสอดคล้อง
ในคดีแพ่งคู่ความไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นมากล่าวอ้างในคำฟ้องหรือคำให้การ เพียงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงก็พอแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจยกบทกฎหมายขึ้นมาปรับแก่คดีตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ คดีนี้โจทก์กล่าวไว้ในคำฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินที่ น. จัดสรร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องและฟังได้ว่า ที่ดินพิพาท น. ซื้อมาเพื่อทำเป็นทางให้ผู้ซื้อที่ดินจากการจัดสรรใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ การที่ศาลล่างทั้งสองยกเอาบทกฎหมายคือ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มาปรับกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความแล้ววินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องอ้างบทกฎหมายที่ต้องการให้ลงโทษ หากมิได้อ้าง ศาลไม่อาจลงโทษในข้อหานั้นได้
แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องว่า หลังจากจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่า เพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 วรรคสองแต่โจทก์ก็มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าวซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้อง คงอ้างเฉพาะมาตรา 289, 80 เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายผิดพลาด ศาลใช้บทที่ถูกต้องลงโทษจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไปซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้ซึ่งธนบัตรปลอม: การลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 บทหนึ่ง และมาตรา 247ประกอบด้วยมาตรา 244 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 244ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และการลงโทษตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มีดขู่เข็ญว่าจะแทงประทุษร้าย อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย และการที่ผู้เสียหายต้องยอมให้จำเลย ถอดกระดุมเสื้อออก แสดงว่าผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 278,322,365 โดยบรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนางสาว ส.ผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วบังอาจกระทำอนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ด้วย การที่โจทก์อ้างมาตรา 322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362 จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอายุความ เพราะจำเลยอ้างบทกฎหมายไม่ตรงกับที่ยื่นศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลยโดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624การที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง