คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บทบัญญัติเฉพาะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7373/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมลักทรัพย์: การพิจารณาความผิดของตัวการร่วมเมื่อตัวการคนหนึ่งไม่มีความผิดตามบทบัญญัติเฉพาะ
จำเลยที่1ได้สมคบกับส. ภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสของผู้เสียหายโดยส. เป็นคนเข้าไปในบ้านผู้เสียหายลักเอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายมาให้จำเลยที่1กับพวกนำไปกู้ยืมเงินจากผู้มีชื่อจำเลยที่1กับส. จึงเป็นตัวการร่วมกันลักทรัพย์ของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335(7)แต่ส.เข้าไปลักโฉนดที่ดินของผู้เสียหายจากในบ้านเพียงคนเดียวซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของส. ด้วยการกระทำของส. จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา335(8)เมื่อการกระทำของส. ซึ่งเป็นตัวการคนหนึ่งไม่เป็นความผิดดังนั้นจำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับส. จึงไม่มีความผิดตามมาตรา335(8)ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลไม่อำนาจยึดทรัพย์ก่อนพิพากษา หากมีบทบัญญัติเฉพาะใน พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มีบทบัญญัติเรื่องการขอให้ศาลยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 17 แล้ว โดยขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวซึ่งจะขอได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตราสมุดบัญชีและเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายการที่โจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยึดและอายัดทรัพย์ของจำเลยไว้ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 153พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 ก็ตาม แท้จริงก็เป็นการขอให้ศาลยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนพิพากษานั่นเอง จึงนำบทบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แม้มีบทบัญญัติเฉพาะในกฎหมายอื่น
แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 จะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้เป็นพิเศษ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับ ทั้งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ก็ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจริบทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้นอกเหนือจากอำนาจริบทรัพย์ตามบทกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้าม ซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย จำนวน100 กระสอบ ปริมาตร 16.66 ลูกบาศก์เมตร รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งเท็จต่อพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับเหตุรถชน: มาตรา 172 เป็นบทบัญญัติเฉพาะเหนือกว่ามาตรา 137
รถยนต์บรรทุกชนรถยนต์โดยสารตู้บนทางหลวง เป็นเหตุให้บุตรโจทก์และผู้อื่นในรถยนต์โดยสารตู้ถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นตำรวจทางหลวงได้ขับรถปฏิบัติหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุหลังจากเกิดเหตุแล้ว และมิได้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุรถชนกันการที่จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยเห็นเหตุการณ์ขณะที่รถชนกัน โดยขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถวิทยุตำรวจทางหลวงตามหลังรถบรรทุกมา และได้เห็นรถโดยสารตู้พุ่งชนรถบรรทุกในช่องทางเดินรถของรถบรรทุกจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 172 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา137ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารดัดแปลง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ ไม่ใช่การตีความขยายอำนาจ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารฝ่าฝืนมาตรา 22 นั้น จะต้องเป็นเรื่องให้ระงับการกระทำ และห้ามการใช้อาคารเท่านั้น มิใช่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งมีวิธีการบัญญัติไว้ต่างหากในมาตราอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกค่าเช่า: เลือกใช้บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา 166) เมื่อมีบทบัญญัติเฉพาะเจาะจง (มาตรา 563) แล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 อยู่ในลักษณะ 6เรื่องอายุความในบรรพ 1 อันว่าด้วยหลักทั่วไป. ซึ่งระบุไว้ชัดถึงการฟ้องเรียกค่าเช่าทรัพย์สินค้างส่ง. ส่วนมาตรา 563 เป็นบทบัญญัติอยู่ในหมวด 3 เรื่องหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าในลักษณะเช่าทรัพย์แห่งบรรพ 3 อันว่าด้วยเอกเทศสัญญา. ข้อความที่ว่าผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น. ย่อมหมายถึงการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้เช่าโดยทั่วไป. เมื่อมาตรา 166 ซึ่งเป็นบททั่วไปได้บัญญัติถึงเรื่องค่าเช่าค้างส่งไว้ชัดแจ้งโดยเฉพาะ จึงต้องยกมาใช้ปรับแก่คดี. แม้มาตรา 563 จะอยู่ในลักษณะเช่าทรัพย์ ก็หาได้ลบล้างมาตรา 166 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษาคดีอาญา: ศาลชอบที่จะบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา แม้ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะ
เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลก็ชอบที่จะบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา245 เมื่อบังคับคดีแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการในขั้นต่อไป เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะกรณีเช่นนี้ต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ มิฉะนั้นคำพิพากษาของศาลก็ไร้ผล
แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใช้มาตราใดโดยเฉพาะแต่ก็ได้กล่าวไว้ว่าให้นำเอาภาค 4 ลักษณะ 2 หมวด 1 มาใช้บังคับ ดังนั้น การจะใช้มาตราใดมาปรับแก่คดีก็เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เคยผิด พ.ร.บ.ฝิ่น ไม่เพิ่มโทษตาม ม.72 อาญา เพราะมีบทบัญญัติเฉพาะใน พ.ร.บ.ฝิ่นแล้ว
ผู้เคยทำผิด พ.ร.บ.ฝิ่นมาแล้วเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปีมาทำผิดตาม พ.ร.บ.ฝิ่นอีกจะเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญา ม.72 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชู้: กฎหมายลักษณ์รับฟ้องเฉพาะเหนือกว่าประมวลกฎหมายแพ่งทั่วไป
ผัวเมียชายชู้ อายุความต้องถือตามกฎหมายลักษณ์รับฟ้องบทที่ 11 จะยกประมวลกฎหมายแพ่งมาใช้เรื่องเช่นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะในหมวดภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ต้องใช้บททั่วไปตามมาตรา 23
ป.รัษฎากร มาตรา 23 ใช้ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวเป็นการประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 91/15 (1), 91/16 (1), 91/21 (6) เป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติเฉพาะที่อยู่ในหมวด 5 ว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแตกต่างจากบทบัญญัติของมาตรา 23 กรณีจึงไม่ต้องนำมาตรา 23 และ 24 อันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับ