พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบำรุงรักษาสัญญาอุตสาหกรรม: การใช้บทบัญญัติใหม่ vs. บทบัญญัติเดิม และข้อยกเว้นสัญญา
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจและขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โจทก์ไม่เป็นพ่อค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ซึ่งต่อมา ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" เป็น "ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกเอาค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสีย จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535) หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้ต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเดือนเมษายน 2531 ถึง 7 มิถุนายน 2535 จึงไม่ขาดอายุความ คงขาดอายุความเฉพาะสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป
ตามสัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ข้อ 10 ตกลงกันว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมเอาจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำปล่อยให้น้ำท่วมขังตามที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ไม่อาจบอกปัดความรับผิดชอบได้ แต่จำเลยสามารถดำเนินการโดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าว และถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัยของกรรมการโจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการใด ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญาได้
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535) หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้ต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเดือนเมษายน 2531 ถึง 7 มิถุนายน 2535 จึงไม่ขาดอายุความ คงขาดอายุความเฉพาะสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป
ตามสัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ข้อ 10 ตกลงกันว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมเอาจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำปล่อยให้น้ำท่วมขังตามที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ไม่อาจบอกปัดความรับผิดชอบได้ แต่จำเลยสามารถดำเนินการโดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าว และถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัยของกรรมการโจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการใด ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายบ้านและที่ดิน: การใช้บทบัญญัติใหม่และข้อยกเว้นสำหรับผู้ไม่ใช่พ่อค้า
โจทก์ขายบ้านพร้อมที่ดินให้แก่จำเลย และโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2534 โดยจำเลยยังค้างค่าบ้านและที่ดินอีก65,000 บาท ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่สิ้นเดือนกันยายน2534 เป็นต้นไป แต่โจทก์มิใช่บุคคลที่เป็นพ่อค้าซึ่งประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระที่จะต้องฟ้องคดีภายใน กำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายใน 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม) ซึ่งเป็น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ และ ระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับทั้งเป็นระยะเวลาที่ยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดขึ้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว คือมาตรา 193/34(1) จึงต้องนำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535มาตรา 14
เอกสารสัญญาจะซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่ใบรับตามประมวลรัษฎากร แม้จะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เอกสารสัญญาจะซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่ใบรับตามประมวลรัษฎากร แม้จะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกจากบทบัญญัติใหม่ที่บัญญัติถึงการรวมโทษที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 173 กระทง เป็นโทษจำคุก 576 ปี8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 บทเดียว ส่วนกำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกจากบทบัญญัติใหม่ที่บัญญัติถึงการรวมกระทงความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 173 กระทง เป็นโทษจำคุก 576 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 บทเดียว ส่วนกำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10765/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยตามกฎหมายทางหลวงที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์มิได้อ้างบทบัญญัติใหม่ แต่ศาลมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยโดยอ้างบทมาตราซึ่งถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่แล้ว แต่มิได้อ้างมาตราที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ยังคงถือเป็นความผิด ดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4