คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บทมาตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์เมื่อศาลยกฟ้องตามบทมาตราที่ฟ้อง และการลงโทษเกินคำขอ
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีและไม่เกินหนึ่งปี โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยขอถือเอาคำฟ้องและบัญชีระบุพยานของพนักงานอัยการโจทก์เป็นคำฟ้องและบัญชีระบุพยานของโจทก์ร่วมด้วย เท่ากับโจทก์ร่วมประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราเดียวกับที่พนักงานอัยการโจทก์ระบุมาท้ายฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
โจทก์ร่วมฎีกาว่าตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 359 (4) และ 365 (2) ซึ่งต่างมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตราว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้องดังที่พิจารณาได้ความดังกล่าวได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ก็อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดแต่อย่างใดไม่ เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตามบทมาตราที่โจทก์ร่วมอ้างมาก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตรานั้น ๆ ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้ตามบทมาตราที่อ้างมาในฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลยกฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีและไม่เกินหนึ่งปีตามลำดับ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 359 (4) และมาตรา 365 (2) แต่การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตรามาในฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และมาตรา 362 มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทฉกรรจ์ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวงต้องแจ้งบทมาตราความผิดชัดเจน มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์ แม้จำเลยรับสารภาพ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง บัญญัติว่า การฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึง... มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ทั้งตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ก็มิได้ระบุว่าโจทก์ขอให้ลงโทษตามบทมาตราแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ด้วย ซึ่งแสดงว่าฟ้องด้วยวาจาของโจทก์มิได้มีการแจ้งต่อศาลถึงบทมาตราแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ที่โจทก์ฎีกาประสงค์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ 57, 58, 86, 88, 97 และ 101 เลย ดังนั้น แม้การฟ้องคดีด้วยวาจาต่อศาลแขวง กฎหมายจะมิได้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษร แต่ข้อไม่เคร่งครัดดังกล่าวเป็นเรื่องการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงซึ่งต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวหาได้รวมไปถึงการอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอันเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการฟ้องคดีเป็นหนังสือตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้แต่อย่างใดไม่ เพราะการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดย่อมเป็นฐานข้อมูลที่ศาลจะต้องนำมาใช้พิจารณาว่า การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจานั้นเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายที่อ้างจริงหรือไม่ หากศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดอาญา แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้น บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาด้วย การที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดนี้ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 57, 58, 86, 88, 97 และ 101 ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษจำเลยดังกล่าวในความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องแจ้งบทมาตราความผิด การไม่แจ้งทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) ด้วยการที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องแจ้งบทมาตราความผิด หากไม่แจ้งฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามฟ้องโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้มิได้ระบุว่าโจทก์ขอให้ลงโทษตามบทมาตราแห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ด้วย ซึ่งแสดงว่าฟ้องด้วยวาจาของโจทก์มิได้มีการแจ้งต่อศาลถึงบทมาตราแห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แม้การฟ้องคดีด้วยวาจาต่อศาลแขวง กฎหมายจะมิได้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษร แต่ข้อไม่เคร่งครัดดังกล่าวคงเป็นเรื่องการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงซึ่งต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวหาได้รวมไปถึงการอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอันเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการฟ้องคดีเป็นหนังสือ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้แต่อย่างใดไม่ ดังนั้นบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาด้วย การที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษในความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษตามมาตราที่ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านที่อยู่อาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับของให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) อันเป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่โจทก์ขอ จึงไม่ถูกต้อง และกรณีเป็นเรื่องโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้อง แม้โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้รถที่จดทะเบียนแล้วแต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 59 จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นมาตรา 6 วรรคสอง, 60 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 59 แต่บทมาตราที่ถูกต้องเป็นมาตรา 60 จึงเป็นเพียงแต่โจทก์อ้างบทมาตราผิดไป ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการใช้บทมาตราในการเพิ่มโทษ
พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามฯ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 เป็นบทกำหนดโทษ ให้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดในกรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตประกอบ พ.ร.บ. มาตรการในการ ปราบปรามฯ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 โดยระวางโทษเป็นสามเท่าแล้วให้ประหารชีวิตไม่ถูกต้อง เพราะกรณี ไม่มีทางที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตได้ จึงนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้นมาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 66 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่า แต่เมื่อโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง กำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ให้สูงกว่าโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยให้ประหารชีวิตก่อนลดโทษให้นั้นเหมาะสมแล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดียาเสพติด และการพิจารณาบทมาตราเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรม
ฟ้องโจทก์ระบุชัดว่า "จำเลยได้บังอาจมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 4 และตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 และบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับดังกล่าว ชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ลำดับที่ 20 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จำนวน 8 เม็ด น้ำหนักรวม 0.71 กรัม ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 " และ "จำเลยได้บังอาจจำหน่าย โดยการขายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 1 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน ที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายดังกล่าวในฟ้อง ข้อ 1 ก. ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 100 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 " จึงเป็นการฟ้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หาใช่ฟ้องตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่ ทั้งนี้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความที่ว่า "ซึ่งไม่ใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตเป็นหนังสือ " ไว้ในฟ้อง หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายไว้ในฟ้อง ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยังได้ระบุความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในมาตรา 66 เช่นเดียวกับความผิดฐานจำหน่าย ดังนั้น ฟ้องโจทก์ ทั้งสองฐานความผิดจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืน หลังเที่ยงจำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมาย หลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับมาตรา 91 แห่ง ป.อ. แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรม ซึ่งมิใช่บทมาตรา ในกฎหมายซึ่งบทบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันมีกัญชาจำนวน 290 แท่ง น้ำหนัก 576.200 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยโจทก์อ้างบทลงโทษตามมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาในคำขอท้ายฟ้อง มาตราดังกล่าวได้กล่าวอ้างถึงมาตรา 26 ซึ่งเป็นบทห้ามและข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เกี่ยวกับการมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไว้ด้วย เพียงแต่โจทก์มิได้ระบุมาตรา 26 มาในคำขอท้ายฟ้อง ส่วนมาตรา 25 ที่โจทก์ระบุมานั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นที่เห็นได้ว่าการที่โจทก์ระบุมาตรา 25 มาในคำขอท้ายฟ้อง เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างบท มาตราผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
of 6