พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานการมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติด & การยกข้อไม่รู้กฎหมายในชั้นฎีกาเป็นฎีกาต้องห้าม
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่บัญญัติว่าการมีแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป... ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมายนั้น จำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งตาม ป.อ. มาตรา 64 บัญญัติว่า "บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" เมื่อจำเลยมิได้ขออนุญาตแสดงพยานหลักฐานต่อศาลให้เชื่อว่าจำเลยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ย่อมเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: ศาลรับฟังพยานหลักฐานโจทก์ และใช้บทสันนิษฐานตามกฎหมาย
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงประการเดียวข้อเท็จจริงในความผิดฐานมีอีเฟดรีนเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายและฐานขายอีเฟดรีนเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานที่ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยระบุวรรคสองของมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และปรับบท ป.อ.มาตรา 83 เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นการแก้ไขเล็กน้อย แต่ความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้ เมื่อศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ ทั้งประจักษ์พยานและพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีนี้แล้วเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ ทั้งไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน และบางคนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติการไปตามหน้าที่มีการดำเนินการวางแผนเพื่อจับกุมจำเลยเป็นขั้นตอนและจับกุมจำเลยได้พร้อมของกลางเป็นจำนวนมาก ทั้งไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะทำพยานหลักฐานเท็จปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลย เมื่อส่งผงขาวของกลางไปตรวจพิสูจน์แล้ว ปรากฏว่าเป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณสารบริสุทธิ์หนัก 1,298.2 กรัม เกินกว่า 20 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 15 วรรคสอง ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานโดยเด็ดขาดของกฎหมาย และจำเลยไม่อาจจะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยถูกจับกุมได้ขณะครอบครองเฮโรอีนของกลาง และตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำของจำเลยมีลักษณะร่วมกันเป็นขบวนการกับบุคคลจำนวนมากในการค้าขายเสพติด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การรวบรวมพยานหลักฐานและนำพยานเข้าสืบในระบบกล่าวหา เป็นเรื่องของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องแล้วก็พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่จำต้องฟังคำเบิกความหรือดูอากัปกิริยาของสายลับก็ได้
แม้โจทก์มิได้นำสายลับมาสืบแสดงให้ศาลได้พิจารณาและวินิจฉัยคำเบิกความและอากัปกิริยาของสายลับ และให้โอกาสจำเลยได้ถามค้านค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาของโจทก์ ก็หาได้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์อื่น ๆมีพิรุธสงสัยไม่
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยระบุวรรคสองของมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และปรับบท ป.อ.มาตรา 83 เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นการแก้ไขเล็กน้อย แต่ความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้ เมื่อศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ ทั้งประจักษ์พยานและพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีนี้แล้วเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ ทั้งไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน และบางคนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติการไปตามหน้าที่มีการดำเนินการวางแผนเพื่อจับกุมจำเลยเป็นขั้นตอนและจับกุมจำเลยได้พร้อมของกลางเป็นจำนวนมาก ทั้งไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะทำพยานหลักฐานเท็จปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลย เมื่อส่งผงขาวของกลางไปตรวจพิสูจน์แล้ว ปรากฏว่าเป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณสารบริสุทธิ์หนัก 1,298.2 กรัม เกินกว่า 20 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 15 วรรคสอง ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานโดยเด็ดขาดของกฎหมาย และจำเลยไม่อาจจะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยถูกจับกุมได้ขณะครอบครองเฮโรอีนของกลาง และตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำของจำเลยมีลักษณะร่วมกันเป็นขบวนการกับบุคคลจำนวนมากในการค้าขายเสพติด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การรวบรวมพยานหลักฐานและนำพยานเข้าสืบในระบบกล่าวหา เป็นเรื่องของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องแล้วก็พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่จำต้องฟังคำเบิกความหรือดูอากัปกิริยาของสายลับก็ได้
แม้โจทก์มิได้นำสายลับมาสืบแสดงให้ศาลได้พิจารณาและวินิจฉัยคำเบิกความและอากัปกิริยาของสายลับ และให้โอกาสจำเลยได้ถามค้านค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาของโจทก์ ก็หาได้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์อื่น ๆมีพิรุธสงสัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยสินค้า บทสันนิษฐานความเสียหาย และการพิสูจน์มูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
โจทก์เอาประกันภัยสต๊อกสินค้า รองเท้าทุกชนิดในร้านค้าของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เบิกความรับว่า จำเลยที่ 1รับประกันภัยเฉพาะรองเท้าและสินค้าที่อยู่ในร้านโจทก์ ดังนั้นสต๊อกสินค้า รองเท้าทุกชนิด ซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไว้จึงมีความหมายรวมถึงรองเท้าและเครื่องหนังทุกชนิด ที่โจทก์มีไว้ในร้านเพื่อขาย มิใช่กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองแต่รองเท้าอย่างเดียว เมื่อสินค้าในร้านของโจทก์ได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายโดยสิ้นเชิง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877ได้สันนิษฐานเป็นคุณแก่โจทก์ไว้ก่อนว่า โจทก์มีสิทธิจะเรียกให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เต็มจำนวนที่เอาประกันภัยไว้เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์หักล้างได้ว่า ความเสียหายของสินค้านั้นต่ำกว่าจำนวนเงินที่ได้เอาประกันไว้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงจำนวนสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้อันแท้จริงได้ และน่าเชื่อว่าขณะเกิดเพลิงไหม้สินค้ารองเท้าและเครื่องหนังที่วางจำหน่ายอยู่ในร้านโจทก์ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อใช้ประโยชน์ไม่ได้, บทสันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหัก เสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้นหมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น แต่การที่อาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง ย่อมเป็นความเสียหายร้ายแรง จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าต้องซ่อมแซมตาม ป.พ.พ. มาตรา 547 โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลยจำเลยไม่สามารถแสดงได้ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้วกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกว่าฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปริมาณยาเสพติดไม่ถึง 10 กก. ไม่กระทบความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่าย บทสันนิษฐานเด็ดขาดเป็นเพียงข้อจำกัดการโต้แย้ง
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดการกระทำอันเป็นความผิด คือการผลิต จำหน่ายนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4หรือในประเภท 5 ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่ายาเสพติดให้โทษจะมีปริมาณเท่าใด ส่วนความในวรรคสองของบทมาตราดังกล่าวที่ให้ถือว่าการมียาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป เป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้นเป็นเพียงบทสันนิษฐานเด็ดขาดมิให้ผู้กระทำผิดโต้เถียงว่ามีไว้เพื่อการอื่นที่มิใช่มีไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์ฟ้องจำเลยว่ามีกัญชาแห้งอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หนักรวม 1,205.45 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยให้การรับสารภาพเท่ากับจำเลยรับข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจริง ดังนี้ แม้ยาเสพติดให้โทษจำนวนดังกล่าวจะมีปริมาณไม่ถึงสิบกิโลกรัม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 76 วรรคสอง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และการปรับบทกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย...(2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป" ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักสุทธิรวม 1.697 กรัม ซึ่งมีปริมาณน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวที่ให้ถือว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยมีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.244 กรัม ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 18 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.697 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.244 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ปรับบทกฎหมายและกำหนดโทษใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.244 กรัม ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 18 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.697 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.244 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ปรับบทกฎหมายและกำหนดโทษใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานเด็ดขาดการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย, อายุความความผิดปรับ, และการแก้ไขคำพิพากษา
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 15 เม็ด ของกลางเป็นแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนที่ผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ มีน้ำหนักรวม 4.480 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.457 กรัม กรณีต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า เป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย... (2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป..." ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด แม้ทางนำสืบของโจทก์จะได้ความเพียงว่า มีผู้แจ้งว่าจำเลยจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่ส่อแสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ตาม จำเลยก็มีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มกราคม 2547 คดีของโจทก์ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว ปัญหาข้างต้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215, 225
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเกินแปดหมื่นบาท โดยพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ เช่นนี้จะกักขังเกิน 1 ปี ไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในชั้นบังคับตามคำพิพากษา
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มกราคม 2547 คดีของโจทก์ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว ปัญหาข้างต้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215, 225
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเกินแปดหมื่นบาท โดยพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ เช่นนี้จะกักขังเกิน 1 ปี ไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในชั้นบังคับตามคำพิพากษา