พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ศาลต้องลงโทษตามบทเบาจึงจะสั่งพักใช้ได้
เมื่อศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 แล้ว ศาลก็จะอาศัยบทเบาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ มาเพื่อสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหาได้ไม่ เพราะศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามบทเบานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามบทหนักสุดย่อมไม่อำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามบทเบาได้
เมื่อศาลลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แล้ว ศาลก็จะอาศัยบทเบาตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157 ทวิ มาเพื่อสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหาได้ไม่ เพราะศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามบทเบานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์การลงโทษบทหนัก-บทเบา: ใช้บทที่มีโทษจำคุกสูงสุด แม้บทหนักไม่มีโทษขั้นต่ำ
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากัน ต้องถือตามลำดับที่วางไว้ใน ป.อ.มาตรา 18 ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง50,000 บาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบทหนักกว่า และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้ว ก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำ แต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักการพิจารณาบทหนัก-บทเบา และประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้ามคดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะ และหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก 72 ทวิวรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในความผิดหลายกระทง หากบทหนักไม่ห้าม อุทธรณ์บทเบาก็ไม่ต้องห้าม และต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
การวินิจฉัยว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทง เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้ามศาลก็ต้องถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม คดีนี้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานพาอาวุธปืนและมีดติดตัวไปในทางสาธารณะและหมู่บ้าน อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทเมื่อความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ, วรรคแรก72 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนและมีดยิงและแทงผู้เสียหายหรือไม่ และได้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้ว ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยในความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ให้แก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานครอบครองยาเสพติด: ศาลมีอำนาจลงโทษตามบทที่เบากว่าได้หากพยานหลักฐานสนับสนุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิด ฐาน มีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายแอมเฟตามีนขอให้ลงโทษตามพิพากษาวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 13 และ 89 ความผิดตามฟ้องดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง และ 106 อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในการกระทำความผิด ฐานมีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่า ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีอาญาหลายบท หากมีบทหนักเกินอำนาจ ศาลต้องถือว่าคดีเกินอำนาจ แม้บทเบาอยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปีเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,354 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปีและ 5 ปีตามลำดับ และเป็นกรณีที่ กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบทด้วยกัน ซึ่งหากพิจารณา ได้ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ แล้วศาลก็ต้องใช้มาตรา 354 ซึ่งเป็นบทหนักมาเป็นบทลงโทษจำเลย จึงเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาแม้ความผิดตามบทกฎหมายที่เบากว่าจะอยู่ในอำนาจศาลแขวงแต่เมื่อความผิดตามบทหนักเกินอำนาจศาลแขวงแล้ว ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงเพราะคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวไม่อาจแบ่งแยกข้อหาตามมาตรา 352 และมาตรา 354 ออกจากกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา, ศาลลงโทษตามบทที่เบากว่าได้
เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 131
ฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินยักยอกเงินในหน้าที่ ที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมและแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 131 มา แต่ศาลลงโทษตามมาตรา 319(3) ซึ่งมีโทษเบากว่าได้
ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 5 ปี ศาลอุทธรณ์แก้บทและแก้โทษจำคุกเป็น 4 ปี ดังนี้เป็นแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 200
ฟ้องคดีอาญาฐานเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินยักยอกเงินในหน้าที่ ที่ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมและแม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามมาตรา 131 มา แต่ศาลลงโทษตามมาตรา 319(3) ซึ่งมีโทษเบากว่าได้
ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 5 ปี ศาลอุทธรณ์แก้บทและแก้โทษจำคุกเป็น 4 ปี ดังนี้เป็นแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: ความผิดหลายบท ใช้บทหนัก แม้บทเบาอยู่ในอำนาจ
ในกรณีที่ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายหลายบทด้วยกันนั้น หากพิจารณาได้ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลก็ต้องใช้อาญาที่เป็นบทหนักลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 70 ฉะนั้นเมื่อความผิดตามบทกฎหมายที่หนักนั้น เกินอำนาจศาลแขวงแม้ความผิดบทเบา จะอยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็ต้องพิพากษายกฟ้องเสีย เพราะต้องถือว่าเป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงนอกสถานที่ที่ได้รับอนุญาต: ความผิดตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง และการลงโทษตามบทเบา
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับอนุญาตให้มีและเก็บไว้สถานที่แห่งหนึ่ง หากแบ่งเอาไปเก็บไว้ที่อื่นอันเป็นสถานที่ไม่ได้รับอนุญาตไม่ผิดมาตรา 48 พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง แต่ผิดมาตรา 53(ข) ส่วนน้ำมันของกลางริบมิได้.
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายมาชัดเจนถึงความผิดของจำเลย อันผิดบทกฎหมายอีกมาตราหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่าบทกฎหมายที่โจทก์ขอในฟ้อง ดังนี้ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทที่ตรงกับรูปคดีและมีโทษเบากว่านั้นได้.
(อ้างฎีกาที่ 483/2485)
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายมาชัดเจนถึงความผิดของจำเลย อันผิดบทกฎหมายอีกมาตราหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่าบทกฎหมายที่โจทก์ขอในฟ้อง ดังนี้ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทที่ตรงกับรูปคดีและมีโทษเบากว่านั้นได้.
(อ้างฎีกาที่ 483/2485)