พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้รับประกันภัยจากอุบัติเหตุสะพานพัง กรณีบรรทุกเกินน้ำหนัก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุซึ่งมีลูกจ้างเป็นผู้ขับขี่ และกล่าวหาว่ารถยนต์คันดังกล่าวบรรทุกข้าวมีน้ำหนักรวมรถยนต์ประมาณ 27 ตันครึ่ง แล่นผ่านสะพานไม้ชั่วคราวซึ่งโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและได้ติดตั้ง ป้ายห้ามรถที่มีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่า 10 ตันแล่นผ่านไว้แล้วทั้งนี้ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่น เป็นเหตุให้สะพานไม้ชั่วคราวยุบพังชำรุดใช้การไม่ได้ เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421, 437 นั้นเป็นการบรรยายฟ้องให้ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าจำเลยในฐานะเจ้าของ และ ผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 437และการฟ้องให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 437เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ขับรถยนต์ว่าเป็นใครก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172
ตามคำให้การของจำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าขณะเกิดเหตุละเมิดจำเลยได้อยู่หรือนั่งมาในรถยนต์คันเกิดเหตุหรือไม่
จำเลยร่วมไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.10 ให้เป็นประเด็นไว้อย่างชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในข้อนี้
การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายที่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีความหมายว่าเป็นการใช้รถเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยตรงเช่นใช้รถเป็นพาหนะไปปล้นหรือจงใจบรรทุกของหนีภาษีเป็นต้นแต่การใช้โดยผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกยังเรียกไม่ได้ว่าใช้รถยนต์ใน ทางที่ ผิดกฎหมายจำเลยร่วมจึงไม่พ้นความรับผิด
ตามคำให้การของจำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าขณะเกิดเหตุละเมิดจำเลยได้อยู่หรือนั่งมาในรถยนต์คันเกิดเหตุหรือไม่
จำเลยร่วมไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.10 ให้เป็นประเด็นไว้อย่างชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในข้อนี้
การใช้รถยนต์ในทางที่ผิดกฎหมายที่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีความหมายว่าเป็นการใช้รถเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยตรงเช่นใช้รถเป็นพาหนะไปปล้นหรือจงใจบรรทุกของหนีภาษีเป็นต้นแต่การใช้โดยผู้ขับขี่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกยังเรียกไม่ได้ว่าใช้รถยนต์ใน ทางที่ ผิดกฎหมายจำเลยร่วมจึงไม่พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งต่อความเสียหายสินค้าจากคลื่นกระทบเรือจากการบรรทุกเกินและขาดการระมัดระวัง
เหตุที่เกิดความเสียหายเนื่องจากคลื่นของเรืออื่นในลำแม่น้ำมาปะทะเรือฉลอมของจำเลยที่บรรทุกสินค้าและจอดอยู่ที่ท่าเรือ เรือฉลอมกระแทกกับท่า ทำให้สินค้าที่บรรทุกบางส่วนเคลื่อนตกลงไปในแม่น้ำนั้น เป็นผลพิบัติที่อาจป้องกันได้ ถ้าได้จัดการระมัดระวังตามสมควร ไม่ใช่เป็นเหตุที่ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ ฉะนั้น จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยบรรทุกสินค้าเกินกว่าเก๋งท้ายเรือหรือหลังคาเรืออันเป็นการผิดระเบียบของกรมเจ้าท่า ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยแล้ว และเนื่องจากจำเลยมีอาชีพรับขนส่ง ย่อมหน้าที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าปกติสามัญชน แต่กลับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพอันควรต้องพึงปฏิบัติเสีย กล่าวคือ เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือเสร็จแล้ว ส.ผู้ควบคุมเรือของจำเลยกับลูกเรืออีก 3 คนขึ้นไปบนท่าหมด ไม่มีคนอยู่ในเรือที่จะคอยระมัดระวังป้องกันภัยอันตรายอันอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติต้องมีคนงานคอยระวังอยู่ เพราะอาจมีคลื่นแรงมา ซึ่งแล้วก็มีคลื่นแรงมาจริง ๆ และปะทะเรือฉลอมทำให้เรือฉลอมกระแทกกับท่าเป็นเหตุให้สินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือฉลอมที่บรรทุกอยู่สูงตกลงไปในแม่น้ำเสียหาย ส.กับลูกเรือไม่สามารถจะเข้าไปช่วยประคองเรือเพื่อป้องกันความเสียหายไว้ได้ เพราะเกรงว่ากระสอบสินค้าที่เคลื่อนหล่นลงมาจะทับเอาตามพฤติการณ์ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้รับขนชำระเงินจำนวนที่ได้จ่ายไปแก่โจทก์
จำเลยบรรทุกสินค้าเกินกว่าเก๋งท้ายเรือหรือหลังคาเรืออันเป็นการผิดระเบียบของกรมเจ้าท่า ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยแล้ว และเนื่องจากจำเลยมีอาชีพรับขนส่ง ย่อมหน้าที่ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าปกติสามัญชน แต่กลับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพอันควรต้องพึงปฏิบัติเสีย กล่าวคือ เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือเสร็จแล้ว ส.ผู้ควบคุมเรือของจำเลยกับลูกเรืออีก 3 คนขึ้นไปบนท่าหมด ไม่มีคนอยู่ในเรือที่จะคอยระมัดระวังป้องกันภัยอันตรายอันอาจจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติต้องมีคนงานคอยระวังอยู่ เพราะอาจมีคลื่นแรงมา ซึ่งแล้วก็มีคลื่นแรงมาจริง ๆ และปะทะเรือฉลอมทำให้เรือฉลอมกระแทกกับท่าเป็นเหตุให้สินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือฉลอมที่บรรทุกอยู่สูงตกลงไปในแม่น้ำเสียหาย ส.กับลูกเรือไม่สามารถจะเข้าไปช่วยประคองเรือเพื่อป้องกันความเสียหายไว้ได้ เพราะเกรงว่ากระสอบสินค้าที่เคลื่อนหล่นลงมาจะทับเอาตามพฤติการณ์ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย จำเลยต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญโภคภัณฑ์ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะผู้รับขนชำระเงินจำนวนที่ได้จ่ายไปแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรทุกเกินจำนวนและการขับรถประมาท ความรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 และ 238
1. คดีที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 4ปี ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
2. อย่างไรก็ดี ฎีกาตอนที่ว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่โจทก์นำสืบ โจทก์เห็นว่ายานพาหนะของจำเลยมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะ อันเข้าเกณฑ์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงนั้นโจทก์ฎีกาไม่ได้และ
3. จำเลยจะผิดมาตรา 238 ประมวลกฎหมายอาญานั้น ก็ต่อเมื่อการกระทำผิดของจำเลยตามมาตรา 233 นั้น เป็นเหตุทำให้ผู้โดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสแต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดเสียแล้วว่า การที่รถคว่ำคนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัส ไม่ใช่เนื่องจากเหตุที่บรรทุกคนโดยสารเกินจำนวน แต่เนื่องจากเหตุที่จำเลยขับรถเร็วอันเป็นการประมาท หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า การที่คนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัสนั้น หาได้เนื่องจากเหตุที่จำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 233 นั้นไม่ จึงลงโทษตามมาตรา 238ไม่ได้
(ข้อ 2,3 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2505)
2. อย่างไรก็ดี ฎีกาตอนที่ว่าตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่โจทก์นำสืบ โจทก์เห็นว่ายานพาหนะของจำเลยมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะ อันเข้าเกณฑ์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงนั้นโจทก์ฎีกาไม่ได้และ
3. จำเลยจะผิดมาตรา 238 ประมวลกฎหมายอาญานั้น ก็ต่อเมื่อการกระทำผิดของจำเลยตามมาตรา 233 นั้น เป็นเหตุทำให้ผู้โดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสแต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดเสียแล้วว่า การที่รถคว่ำคนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัส ไม่ใช่เนื่องจากเหตุที่บรรทุกคนโดยสารเกินจำนวน แต่เนื่องจากเหตุที่จำเลยขับรถเร็วอันเป็นการประมาท หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า การที่คนโดยสารตายและได้รับอันตรายสาหัสนั้น หาได้เนื่องจากเหตุที่จำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 233 นั้นไม่ จึงลงโทษตามมาตรา 238ไม่ได้
(ข้อ 2,3 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือชนในคลอง: จำเลยไม่ผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท แม้ไม่จุดไฟ เพราะเรืออีกฝ่ายผิดทางและบรรทุกเกิน
เรือยนต์จำเลยแท่นทวนน้ำแอบฝั่งขวาของคลองโดยถูกต้องตามกฎหมายเรือยนต์อีกลำหนึ่งแล่นตามน้ำสวนมาในเส้นทางเดินเรือของจำเลย บันทุกคนโดยสารเกินอันตรามากแล้ว เกิดชนกันในเวลาค่ำมือในเส้นทางของเรือจำเลยโดยเรือจำเลยไม่สามารถหลบหลีกได้ หัวเรือจำเลยชนถูกผู้โดยสารในเรือที่แล่นมาผิดทางถึงตาย ดังนี้ ถึงแม้เรือจำเลยไม่ได้จุดโคมไฟ จำเลย ก็ไม่ผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่บรรทุกเกินความสามารถของเรือ ทำให้สินค้าเสียหาย ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว สามารถเรียกร้องจากผู้ขนส่งได้
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งผู้ขายขอเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารท้ายฟ้อง การประกันภัยคุ้มครองสินค้าระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี โดยยังไม่ได้อ้างถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าผู้ขายเอาประกันภัยสินค้าไว้เฉพาะช่วงที่ขนส่งจากประเทศอินโดนีเซียมาถึงเกาะสีชังเท่านั้น ไม่ได้ขยายความคุ้มครองไปถึงช่วงที่ขนส่งจากเกาะสีชังไปยังโรงงานของผู้ซื้อตามที่โจทก์อ้าง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ซื้อและไม่อาจรับช่วงสิทธิจากผู้ซื้อ ข้ออ้างของจำเลยส่วนนี้เป็นไปตามข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้อง ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบและอ้างส่งกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดอีกฉบับ โดยอ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารท้ายฟ้องระบุให้เงื่อนไขการประกันภัยเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดดังกล่าวที่โจทก์ไม่ได้อ้างถึงและมิได้ส่งมาท้ายคำฟ้องเพื่อให้จำเลยได้ตรวจสอบก่อนทำคำให้การ ทั้งที่เอกสารดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นและเป็นเอกสารที่อยู่ในครอบครองของโจทก์ จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงเป็นรายละเอียดที่เพิ่งปรากฏขึ้นในชั้นพิจารณา ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธความคุ้มครองของการประกันภัยสินค้ารายนี้อย่างชัดแจ้งไว้แล้ว และก็ได้ถามค้านเอกสารทั้งสองฉบับในประเด็นนี้ไว้แล้ว อุทธรณ์ส่วนนี้จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยชอบที่จะยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้
แม้การประกันภัยสินค้าตามฟ้องจะมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุว่า บริษัท บ. ผู้ขาย เป็นผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อยานพาหนะว่าเรือ อ. ระบุการเดินทางของเรือว่าจากท่าเรือประเทศอินโดนีเซียไปเกาะสีชัง ประเทศไทย และในช่องข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษระบุข้อความว่าเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเลแบบเปิด (MARINE CARGO OPEN POLICY) ระหว่างบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัย กับโจทก์ผู้รับประกันภัย เห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งสองฉบับ คู่สัญญาในส่วนของผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลต่างรายกันแต่คู่สัญญาในส่วนของผู้รับประกันภัยเป็นนิติบุคคลเดียวกันคือโจทก์ เมื่อสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัท บ. ได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายสินค้าถ่านหินระหว่างบริษัท บ. ผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยให้มีผลคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่บรรทุกสินค้าไปจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยยอมรับเงื่อนไขพิเศษตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ซึ่งโจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับประกันภัยด้วยมาเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษของสัญญาประกันภัยที่โจทก์ทำสัญญารับประกันภัยสินค้าตามฟ้องกับบริษัท บ. ผู้ขาย ตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้บริษัท บ. จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัท ป. แต่ก็เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย โดยมีผลให้การคุ้มครองสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการให้ความคุ้มครองตั้งแต่ท่าเรือต้นทางไปจนส่งมอบถึงโรงงานผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรีเมื่อผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยความเสียหายของสินค้าตามสัญญาระหว่างการขนส่ง ผู้ขายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าตามฟ้องตลอดการขนส่งจนกว่าสินค้าจะเดินทางถึงโรงงานของผู้ซื้อ การประกันภัยสินค้าจึงครอบคลุมถึงความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคลื่นและลมในท้องทะเลช่วงที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาวเรือที่เดินเรือในท้องทะเลบริเวณเกิดเหตุแต่อย่างใด คงเกิดความเสียหายแก่เรือทั้งสองลำดังกล่าวเท่านั้น การที่เรือไทยขนส่ง 46 และเรือไทยขนส่ง 45 มีความสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างปลอดภัยเพียง 590 เมตริกตัน แต่จำเลยจัดสินค้าถ่านหินบรรทุกถึงลำละ 1,300 เมตริกตัน เกินกว่าความสามารถบรรทุกตามที่ได้จดทะเบียนไว้กว่า 2 เท่า ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยเป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับมอบหมายสินค้าตามฟ้องไว้ในความครอบครองดูแลเพื่อการขนส่ง จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
แม้การประกันภัยสินค้าตามฟ้องจะมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุว่า บริษัท บ. ผู้ขาย เป็นผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อยานพาหนะว่าเรือ อ. ระบุการเดินทางของเรือว่าจากท่าเรือประเทศอินโดนีเซียไปเกาะสีชัง ประเทศไทย และในช่องข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษระบุข้อความว่าเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเลแบบเปิด (MARINE CARGO OPEN POLICY) ระหว่างบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัย กับโจทก์ผู้รับประกันภัย เห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งสองฉบับ คู่สัญญาในส่วนของผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลต่างรายกันแต่คู่สัญญาในส่วนของผู้รับประกันภัยเป็นนิติบุคคลเดียวกันคือโจทก์ เมื่อสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัท บ. ได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายสินค้าถ่านหินระหว่างบริษัท บ. ผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยให้มีผลคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่บรรทุกสินค้าไปจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยยอมรับเงื่อนไขพิเศษตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ซึ่งโจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับประกันภัยด้วยมาเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษของสัญญาประกันภัยที่โจทก์ทำสัญญารับประกันภัยสินค้าตามฟ้องกับบริษัท บ. ผู้ขาย ตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้บริษัท บ. จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัท ป. แต่ก็เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย โดยมีผลให้การคุ้มครองสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการให้ความคุ้มครองตั้งแต่ท่าเรือต้นทางไปจนส่งมอบถึงโรงงานผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรีเมื่อผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยความเสียหายของสินค้าตามสัญญาระหว่างการขนส่ง ผู้ขายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าตามฟ้องตลอดการขนส่งจนกว่าสินค้าจะเดินทางถึงโรงงานของผู้ซื้อ การประกันภัยสินค้าจึงครอบคลุมถึงความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคลื่นและลมในท้องทะเลช่วงที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาวเรือที่เดินเรือในท้องทะเลบริเวณเกิดเหตุแต่อย่างใด คงเกิดความเสียหายแก่เรือทั้งสองลำดังกล่าวเท่านั้น การที่เรือไทยขนส่ง 46 และเรือไทยขนส่ง 45 มีความสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างปลอดภัยเพียง 590 เมตริกตัน แต่จำเลยจัดสินค้าถ่านหินบรรทุกถึงลำละ 1,300 เมตริกตัน เกินกว่าความสามารถบรรทุกตามที่ได้จดทะเบียนไว้กว่า 2 เท่า ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยเป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับมอบหมายสินค้าตามฟ้องไว้ในความครอบครองดูแลเพื่อการขนส่ง จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616