พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กับการบริการ: การพิจารณาเพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์นำอาคารสำนักงานใหญ่ของตนให้บริษัทในเครือหลายบริษัทเช่าพื้นที่ แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาให้บริการในด้านอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ด้วย แต่ก็แบ่งแยกเป็นสัญญาเช่าอาคารต่างหากจากสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวก นอกจากนี้การที่โจทก์จะเข้าตรวจสถานที่เช่าก็ต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าก่อน ส่วนกรณีที่มีกำหนดวันและเวลาใช้อาคารสถานที่ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์เวลา 7 ถึง 18 นาฬิกา ไว้ด้วย ก็เป็นข้อสัญญาที่ระบุอยู่ในสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวก สำหรับระเบียบปฏิบัติที่กำหนดว่าผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่พนักงานของโจทก์ให้มาเปิดและปิดอาคารสถานที่และดูแลให้ความสะดวกในส่วนของการบริการ โดยเสียค่าบริการเพิ่มจากเวลาปกตินั้น เป็นเพียงการกำหนดเพื่อความสะดวกแก่การใช้อาคารในพื้นที่เช่าตามที่โจทก์มีภาระต้องจัดพนักงานมาคอยให้บริการตามสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวกที่ทำขึ้นต่างหากจากสัญญาเช่าอาคารเท่านั้น มิใช่ข้อจำกัดสิทธิของผู้เช่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทในเครือดังกล่าวต้องตามหลักเกณฑ์ในลักษณะการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 จึงเป็นการที่โจทก์ให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับประกอบกิจการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การจัดอาหารให้พนักงานโรงแรม ถือเป็นการให้บริการทางธุรกิจ ต้องเสียภาษี
การที่โจทก์จัดอาหารให้กับพนักงานของโจทก์ แยกต่างหากจากการที่ให้บริการลูกค้าของโรงแรม ก็เป็นการให้บริการแก่พนักงานโดยใช้บริการของตนเองอันอยู่ในความหมายของคำว่า "บริการ" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(10) ซึ่งโจทก์จะต้องนำมูลค่าของอาหารที่บริการแก่พนักงานมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ในการบริการการทำงานของพนักงานจากการที่ให้พนักงานรับประทานอาหาร แต่ก็มิใช่ประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการอันเป็นการประกอบกิจการของโจทก์โดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามมาตรา 77/1(10)(ก)แห่งประมวลรัษฎากรไม่ได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78)เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่กรณีของโจทก์เกิดก่อนหน้าประกาศดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารและไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรไม่
แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ในการบริการการทำงานของพนักงานจากการที่ให้พนักงานรับประทานอาหาร แต่ก็มิใช่ประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการอันเป็นการประกอบกิจการของโจทก์โดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามมาตรา 77/1(10)(ก)แห่งประมวลรัษฎากรไม่ได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78)เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่กรณีของโจทก์เกิดก่อนหน้าประกาศดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาได้ว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารและไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องบัตรเครดิต: ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการให้บริการ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปี ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) แม้โจทก์จะให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราวย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในอันที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตาม ป.พ.พ.บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตาม ป.พ.พ.บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากบริการบัตรเครดิต: พิจารณาจากลักษณะบริการไม่ใช่การกู้ยืม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปี ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) แม้โจทก์จะให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราวย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในอันที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การเสนอและสนองรับสัญญาโดยปริยาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย โจทก์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตกลงร่วมมือกันให้บริการโทรศัพท์แก่ผู้เช่าโทรศัพท์ โดยแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้เป็นของโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีสิทธิใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ผ่านทางเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ โดยจำเลยต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบการใช้โทรศัพท์ดังกล่าว ซึ่งระเบียบนี้องค์การโทรศัพท์ก็ได้พิมพ์ลงไว้ในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์เพื่อแจกให้จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์ได้ทราบแล้ว ถือได้ว่ามีการเสนอให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศตามเงื่อนไขในระเบียบดังกล่าวเมื่อมีการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย อันมีลักษณะเป็นการขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามระเบียบดังกล่าวข้างต้น ก็เท่ากับจำเลยตกลงสนองรับเข้าทำสัญญาขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศกับโจทก์และมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่โจทก์ตามระเบียบนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าบริการดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงแรม: การขายบริการเหมาจ่ายและการแยกรายได้
ตามหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในหัวข้อวัตถุที่ประสงค์ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการเตรียมและจัดการโครงการของการลงทุน และจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ถือได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงแรม คำขอจดทะเบียนการค้าของโจทก์ได้ขอจดทะเบียนการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม และกรมสรรพากรออกใบทะเบียนการค้าให้ ระบุว่าโจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 4 รับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ) ประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคาร (ข) นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2470 มาตรา 3 ให้นิยาม คำว่า โรงแรม ไว้ หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จัดให้มีห้องพักสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาพักผ่อนเป็นการชั่วคราว โดยโจทก์เรียกสินจ้างหรือค่าบริการ กิจการของโจทก์ย่อมเป็นโรงแรมตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติ แม้ห้องพักของโจทก์ไม่มีความหรูหรา ผู้เข้าพัก 2 คน ซึ่งไม่รู้จักกันก็พักอยู่ในห้องใหญ่เดียวกัน ต้องใช้ห้องน้ำ สุขา และระเบียงร่วมกัน หรือโจทก์จัดให้ผู้เข้าพักได้เข้าร่วมทำกิจกรรม หรือสันทนาการกับผู้ที่เข้าพักด้วยกัน รวมทั้งจัดหาอาหารให้แก่ผู้เข้าพักด้วย ก็หาได้ทำให้กิจการของโจทก์ไม่ได้เป็นโรงแรมไม่
เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัท ฮ.และบริษัท ว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาทต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)และ 87 ทวิ (6)
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้า และโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม รายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) ภัตตาคาร ส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว
โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้ เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม อย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรม รายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่าย จึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุดไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัท ฮ.และบริษัท ว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาทต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)และ 87 ทวิ (6)
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้า และโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรม รายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7 (ข) ภัตตาคาร ส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า 7 (ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว
โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้ เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม อย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรม รายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่าย จึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุดไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมสโมสรเป็นค่าตอบแทนบริการ จัดเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000 บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสร ดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือน โดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปี ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะสัญญาเช่าที่ดินและอาคารกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริการ รวมถึงหน้าที่รายงานภาษีขาย
โจทก์ได้ทำสัญญาให้บริการจัดหาศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัท ท. ตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งแม้ตามข้อ 3.1 จะมีข้อความระบุว่า "ระยะเวลาของข้อตกลงนี้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการผ่อนชำระค่าก่อสร้างและส่วนของการเช่าที่ดินในเวลา 4 ปี" ซึ่งทำให้เห็นว่าโจทก์ได้รับเงินในวันทำบันทึกช่วยจำในส่วนค่าก่อสร้างอาคารก็จริง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบข้อความที่ระบุไว้ในบันทึกช่วยจำข้อ 3.2 วรรคสุดท้าย ที่ว่า "หลังจากผ่อนชำระค่าก่อสร้างครบ 4 ปี แล้ว ค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 50,000 บาท ต่อเดือน และค่าเช่านี้จะปรับเพิ่ม 5 % ทุก ๆ 12 เดือน" แล้วจะเห็นได้ว่า หลังจากก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมลงบนที่ดินที่ได้ทำการเช่าจากโจทก์เสร็จแล้ว ตัวอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์ทำการก่อสร้างก็มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ท.แต่อย่างใด เพราะบริษัทดังกล่าวยังต้องเช่าจากโจทก์อยู่ต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่บริษัทดังกล่าวต้องเสียค่าเช่าอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์สร้างเสร็จพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มทุกปี ลักษณะเช่นนี้จึงเห็นได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าที่ดินและอาคารศูนย์ฝึกอบรม โดยบริษัทดังกล่าวต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เมื่อคำว่า"บริการ" ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) ให้หมายความถึงการกระทำใด ๆอันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สินจึงถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง แต่เป็นการให้บริการที่ ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต)ได้บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81/3 ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัท ท.และทำให้โจทก์ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีขายเงินค่าก่อสร้าง
ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่า ภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87
ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงานมีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามป.รัษฎากร มาตรา 89 (10) เพราะเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง
ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่า ภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87
ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงานมีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสียเบี้ยปรับตามป.รัษฎากร มาตรา 89 (10) เพราะเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและอาคารพร้อมเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง ไม่ถือเป็นบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ได้ทำสัญญาให้บริการจัดหาศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทท. ตามบันทึกช่วยจำซึ่งแม้ตามข้อ 3.1 จะมีข้อความระบุว่า "ระยะเวลาของข้อตกลงนี้สามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการผ่อนชำระค่าก่อสร้างและส่วนของการเช่าที่ดินในเวลา 4 ปี" ซึ่งทำให้เห็นว่าโจทก์ได้รับเงินในวันทำบันทึกช่วยจำในส่วนค่าก่อสร้าง อาคารก็จริง แต่เมื่อนำมาพิจารณาประกอบข้อความ ที่ระบุไว้ในบันทึกช่วยจำข้อ 3.2 วรรคสุดท้าย ที่ว่า "หลังจากผ่อนชำระค่าก่อสร้างครบ 4 ปี แล้ว ค่าเช่าจะเปลี่ยนเป็น 50,000 บาท ต่อเดือน และค่าเช่านี้จะปรับเพิ่ม 5% ทุก ๆ 12 เดือน" แล้วจะเห็นได้ว่าหลังจากก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมลงบนที่ดินที่ได้ทำการเช่า จากโจทก์เสร็จแล้ว ตัวอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์ทำการก่อสร้างก็มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทท. แต่อย่างใดเพราะบริษัทดังกล่าวยังต้องเช่าจากโจทก์อยู่ต่อไป ดังจะเห็นได้จากที่บริษัทดังกล่าวต้องเสียค่าเช่าอาคารศูนย์ฝึกอบรมที่โจทก์สร้างเสร็จพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มทุกปีลักษณะเช่นนี้จึงเห็นได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าที่ดินและอาคารศูนย์ฝึกอบรมโดยบริษัทดังกล่าวต้องออกเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เมื่อคำว่า "บริการ" ประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ให้หมายความถึงการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า การให้เช่าทรัพย์สินจึงถือเป็นการให้บริการอย่างหนึ่ง แต่เป็นการให้บริการที่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 81(1)(ต)ได้บัญญัติให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา 81/3 ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากเงินค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัทท.และทำให้โจทก์ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีขายเงินค่าก่อสร้าง ตามใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในกิจการหลายประเภทได้แก่ การซ่อมแซมสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการส่วนบุคคลอื่น ๆแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทัน ภายใน 3 วันทำการนั้นเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ ได้รับตามบันทึกช่วยจำ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งตามบัญชีรายงานภาษีขายของเดือนเมษายน 2537 ก็ไม่ปรากฏว่าภาษีขายดังกล่าวเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าภาษีขายที่โจทก์ลงรายงานไม่ทันภายใน 3 วันทำการเป็นภาษีขายของค่าบริการที่โจทก์ได้รับตามบันทึกช่วยจำดังกล่าว แต่ฟังได้ว่าเป็นภาษีขายของค่าบริการอื่นซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ลงรายงานภาษีขายภายใน 3 วันทำการ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ที่โจทก์นำสืบถึงเหตุที่ลงรายงานภาษีขายดังกล่าวไม่ทันภายใน 3 วันทำการ ว่าเป็นเพราะพนักงานที่มีหน้าที่ลงรายงาน มีเพียงคนเดียว แต่ลาป่วยเป็นเวลา 5 วัน ไม่อาจลงรายการได้ จึงลงรายการต่อท้ายภายในเดือนเมษายน 2537 นั้น ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องเสีย เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(10) เพราะเป็น เรื่องการบริหารงานภายในของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน-นายจ้าง และขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า
ประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยหรือไม่นั้น โจทก์ได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขน ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการ แก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขน ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการ แก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา