พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, ผู้ทำการแทนบริษัทต่างประเทศ, ภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย, การประเมินภาษี
โจทก์เป็นผู้ทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ซึ่งให้ถือว่าบริษัท ม. ประกอบกิจการในประเทศไทย และบุคคลผู้เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นเป็นตัวแทนของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่กล่าวแล้ว ซึ่งการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีการจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ อยู่ในส่วนนี้ด้วย ดังนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการจำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 ทวิ กำหนดไว้
บริษัท ม. เป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย ส่วนโจทก์เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นนายหน้าทำหน้าที่ชี้ช่องให้บริษัท ม. และผู้ซื้อในประเทศไทยได้ซื้อขายสินค้ากันเท่านั้น โจทก์จะหาข้อมูลตามความต้องการของผู้ซื้อในประเทศไทยว่ามีผู้ซื้อรายใดที่ประสงค์จะซื้อสินค้าประเภทใด เมื่อโจทก์ทราบข้อมูลแล้วจะแจ้งให้บริษัท ม. ทราบ เพื่อให้บริษัท ม. ติดต่อกับผู้ซื้อและเจรจาซื้อขายในรายละเอียดกันเอง ผลตอบแทนที่โจทก์ได้รับมีเพียงค่านายหน้าจากบริษัท ม. เมื่อผู้ซื้อในประเทศไทยและบริษัท ม. ตกลงซื้อขายสินค้ากันแล้ว ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท ม. โดยตรงด้วยวิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัท ม. ในประเทศไทย อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัท ม. โจทก์จึงมิใช่เป็นเพียงตัวแทนธรรมดาทั่วไปที่หาลูกค้าให้บริษัท ม. เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างออกไปเองหรือให้ลูกค้าของบริษัท ม. ชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างทั้งหมดให้แก่บริษัท ม. ในต่างประเทศโดยตรงด้วยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ก็ถือได้ว่ามีผลทำให้บริษัท ม. ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยและเมื่อเงินที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยมีส่วนของกำไรหรือถือได้ว่าเป็นกำไรรวมอยู่ด้วย เนื่องจากในการกำหนดราคาขายสินค้าหรือให้บริการ ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะต้องคิดค่าสินค้าหรือค่าจ้างรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย เมื่อไม่ปรากฏปัจจัยอื่นที่จะมีผลทำให้กำไรที่คำนวณไว้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะทำให้มีการขาดทุน จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ว่า ในกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่จะเรียกให้ผู้ทำการแทนรับผิดตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตามมาตรา 19 และ 20 ก่อน โจกท์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม.ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่างๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 54 โจทก์ย่อมเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงเช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
บริษัท ม. เป็นนิติบุคคลต่างประเทศและไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทย ส่วนโจทก์เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นนายหน้าทำหน้าที่ชี้ช่องให้บริษัท ม. และผู้ซื้อในประเทศไทยได้ซื้อขายสินค้ากันเท่านั้น โจทก์จะหาข้อมูลตามความต้องการของผู้ซื้อในประเทศไทยว่ามีผู้ซื้อรายใดที่ประสงค์จะซื้อสินค้าประเภทใด เมื่อโจทก์ทราบข้อมูลแล้วจะแจ้งให้บริษัท ม. ทราบ เพื่อให้บริษัท ม. ติดต่อกับผู้ซื้อและเจรจาซื้อขายในรายละเอียดกันเอง ผลตอบแทนที่โจทก์ได้รับมีเพียงค่านายหน้าจากบริษัท ม. เมื่อผู้ซื้อในประเทศไทยและบริษัท ม. ตกลงซื้อขายสินค้ากันแล้ว ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท ม. โดยตรงด้วยวิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เมื่อการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัท ม. ในประเทศไทย อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัท ม. โจทก์จึงมิใช่เป็นเพียงตัวแทนธรรมดาทั่วไปที่หาลูกค้าให้บริษัท ม. เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างออกไปเองหรือให้ลูกค้าของบริษัท ม. ชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างทั้งหมดให้แก่บริษัท ม. ในต่างประเทศโดยตรงด้วยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ก็ถือได้ว่ามีผลทำให้บริษัท ม. ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยและเมื่อเงินที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยมีส่วนของกำไรหรือถือได้ว่าเป็นกำไรรวมอยู่ด้วย เนื่องจากในการกำหนดราคาขายสินค้าหรือให้บริการ ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการจะต้องคิดค่าสินค้าหรือค่าจ้างรวมเอาส่วนที่เป็นผลกำไรไว้ด้วย เมื่อไม่ปรากฏปัจจัยอื่นที่จะมีผลทำให้กำไรที่คำนวณไว้โดยปกติธรรมดาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะทำให้มีการขาดทุน จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ
ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ว่า ในกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการที่จะเรียกให้ผู้ทำการแทนรับผิดตามมาตรา 76 ทวิ วรรคแรกนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะต้องดำเนินการตามมาตรา 19 และ 20 ก่อน โจกท์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม.ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่างๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 54 โจทก์ย่อมเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงเช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและหัก ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทต่างประเทศมีสำนักงานสาขาในไทย และบทบาทหน้าที่ของผู้ทำการแทน
ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นระบุว่า กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งรัฐใด จะยังคงใช้บังคับในการเก็บภาษีอากรจากเงินได้ในรัฐผู้ทำสัญญาแต่ละรัฐ เว้นแต่ในกรณีที่บทของอนุสัญญานี้ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การที่บริษัทดังกล่าวจะนำรายจ่ายค่ารับรองและเงินสำรองบำเหน็จพนักงานมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย บริษัทดังกล่าวจะต้องปฏิบัติไปตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ด้วย
ผู้เป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยอยู่ในขอบข่ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามที่ ป. รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคในการเสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทยเช่นเดียวกับกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในลักษณะของสำนักงานสาขา ซึ่งหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ ให้จัดเก็บจากจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลต่างประเทศที่ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เมื่อการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การที่โจทก์เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. ในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทน โจทก์ย่อมรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายของบริษัท ม. เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัท ม. อย่างมาก มิฉะนั้นโจทก์คงไม่เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. เช่นนั้น ดังนั้น การที่บริษัท ม. มีข้อตกลงให้ลูกค้าในประเทศไทยส่งเงิน หรือจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บริษัท ม. ด้วย วิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารพาณิชย์ชำระให้แก่บริษัท ม. โดยตรง หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง จึงเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการตามที่โจทก์ตกลงกับบริษัท ม. เท่านั้น โจทก์จะนำความแตกต่างเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างเพียงเท่านี้ มาเป็นเหตุให้เกิดภาระภาษีที่แตกต่างกันหาได้ไม่ แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่บริษัท ม. ซึ่งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยตรงก็ตาม ก็หามีผลผิดแผกแตกต่างไปจากการที่ลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อ แล้วโจทก์จึงส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างดังกล่าวไปให้บริษัท ม. อีกทอดหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 ทวิ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม. ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่าง ๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 50 มิได้หักและนำส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 โจทก์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงย่อมมีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2548)
ผู้เป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยอยู่ในขอบข่ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามที่ ป. รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคในการเสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทยเช่นเดียวกับกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในลักษณะของสำนักงานสาขา ซึ่งหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีตามมาตรา 70 ทวิ ให้จัดเก็บจากจำนวนเงินกำไรที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลต่างประเทศที่ได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เมื่อการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างผู้ซื้อในประเทศไทยกับบริษัท ม. เป็นการทำสัญญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การที่โจทก์เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. ในการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทน โจทก์ย่อมรู้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และรายจ่ายของบริษัท ม. เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัท ม. อย่างมาก มิฉะนั้นโจทก์คงไม่เข้าไปผูกพันกับบริษัท ม. เช่นนั้น ดังนั้น การที่บริษัท ม. มีข้อตกลงให้ลูกค้าในประเทศไทยส่งเงิน หรือจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บริษัท ม. ด้วย วิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารพาณิชย์ชำระให้แก่บริษัท ม. โดยตรง หรือบริษัท ม. ไปเบิกเงินจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลประเทศญี่ปุ่นโดยตรง จึงเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการตามที่โจทก์ตกลงกับบริษัท ม. เท่านั้น โจทก์จะนำความแตกต่างเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้าหรือค่าจ้างเพียงเท่านี้ มาเป็นเหตุให้เกิดภาระภาษีที่แตกต่างกันหาได้ไม่ แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่บริษัท ม. ซึ่งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยตรงก็ตาม ก็หามีผลผิดแผกแตกต่างไปจากการที่ลูกค้าส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อ แล้วโจทก์จึงส่งเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างดังกล่าวไปให้บริษัท ม. อีกทอดหนึ่ง จึงต้องถือว่าโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 ทวิ (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย แม้ตามหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จะแจ้งแก่โจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท ม. แต่โจทก์ในฐานะสถานประกอบการถาวรของบริษัท ม. ได้จ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาควบคุมติดตั้งเครื่องจักรในโครงการต่าง ๆ ที่บริษัท ม. ได้รับอนุญาตให้ทำในประเทศไทย เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นผู้จ่ายเงินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 50 มิได้หักและนำส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินคือโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 โจทก์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงย่อมมีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: โจทก์มิใช่ตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ
โจทก์เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์สั่งสินค้าจากบริษัท อ. จำกัด ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์ การสั่งซื้อสินค้าและจำหน่ายสินค้าของโจทก์แบ่งออกเป็นสองประเภท ประเภทแรก สินค้า อะไหล่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ขนาดเล็ก โจทก์จะสั่งสินค้าเข้ามาในนามโจทก์ เมื่อมีลูกค้ามาซื้อโจทก์จะขายและส่งมอบสินค้าไป ประเภทที่สอง เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่ โจทก์จะไม่สั่งซื้อสินค้ามาเก็บ เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อสินค้าโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายในนามโจทก์ ออกเอกสารว่าโจทก์เป็นผู้ขาย ลูกค้าเป็นผู้ซื้อระบุรายละเอียดให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ส่งเงินราคาสินค้าไปให้แก่บริษัท อ. จำกัด ที่อยู่ในต่างประเทศโดยตรง สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การรับประกันของโจทก์ต่อลูกค้าระบุว่าโจทก์มีความรับผิดในฐานะผู้ขายสินค้า หลังจากนั้นผู้ขายจะส่งสินค้าให้แก่ ผู้ซื้อโดยตรง ในการทำสัญญาซื้อขายโจทก์จะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าที่ขายเองมีอิสระที่จะขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อทางใดก็ได้ หากสินค้าบกพร่องโจทก์มีหน้าที่รับผิดต่อลูกค้าโดยตรง เงินทุนที่ใช้ประกอบกิจการเป็นของโจทก์ หากมีกำไรหรือขาดทุนโจทก์รับภาระการขาดทุนหรือผลกำไรแต่ผู้เดียว ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจึงอยู่ในรูปกำไรมิใช่บำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีแทนบริษัท อ. จำกัด ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการในไทยตามมาตรา 76 ทวิ และการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน
กรณีที่จะถือว่าบริษัทต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร ต้องปรากฏว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้แทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนหากเรียกจากผู้แทนไม่ได้
บริษัท อ. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มี พ. เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย พ. จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทำการแทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ศาลยืนตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากรโจทก์ที่แจ้งไปยังบริษัท อ.ซึ่งอยู่ต่างประเทศโดยพ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัทดังกล่าวได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี เพื่อที่บุคคลนั้นจะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ.เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหากถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ.และ พ. โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากกำไรของบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้ลูกค้าในไทยโดยผ่านสาขาในไทย และการส่งกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณ เป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใดดังนั้น โจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรทีพิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐสภาไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการ คำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้นโจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการใช้สิทธิผลิตกาแฟผงตามสูตรและกรรมวิธีของบริษัทต่างประเทศ เป็นค่าแห่งสิทธิที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
การผลิตกาแฟผงของโจทก์ในประเทศไทย อยู่ภายใต้เงื่อนไข และการควบคุมดูแลของบริษัท น. ตามสัญญาให้ความรู้ทางวิศวกรรม โดยโจทก์ต้องชำระเงินค่าตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อโจทก์จะได้ผลิตกาแฟผงตามสูตรและกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับจากบริษัท น. อันเป็นสิทธิที่โจทก์ได้จากบริษัท น. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยเงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ได้รับจึงหาใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือวิศวกรรมตามความหมายของมาตรา 40(6)แห่งประมวลรัษฎากรไม่ หากแต่เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้สิทธิผลิตกาแฟผลตามสูตรและความรู้ที่ได้รับตามข้อแนะนำเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตของบริษัท น. ตลอดเวลาของอายุสัญญาที่ได้ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์ต้องรักษาไว้เป็นความลับและส่งคืนบรรดาเอกสารทั้งปวงที่เกี่ยวกับสูตรและความรู้ดังกล่าวแก่บริษัท น. เมื่อสิ้นอายุสัญญาหรือสัญญาเลิกกรณีจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิตามมาตรา 40(3) ซึ่งโจทก์จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งต่อเจ้าพนักงานของจำเลยตามมาตรา 70(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างประเทศเป็นค่าใช้จ่ายในประเทศไทย: หลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิและภาษี
รายจ่ายต่าง ๆ ของโจทก์เกี่ยวกับเงินเดือนสำนักงานใหญ่เบี้ยเลี้ยงเงินที่จ่ายในการหยุดพักร้อน เงินบำนาญพนักงานชาวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและตรวจสำนักงานสาขาของสำนักงานใหญ่ ค่าโฆษณาทั่วไป ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่าใช้จ่ายอาคารสำนักงานใหญ่ค่าตอบแทนกรรมการและค่าตรวจสอบบัญชี โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ได้ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของสาขาในประเทศไทยอย่างไร เพียงแต่โจทก์ใช้หลักเกณฑ์ในการเฉลี่ยโดยนำรายได้ของสำนักงานสาขาในประเทศไทยมาหารด้วยรายได้รวมของสำนักงานใหญ่และทุกสาขาของโจทก์ แล้วคูณด้วยรายจ่ายส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานซึ่งสำนักงานใหญ่ได้จ่ายไปและถือว่าผลลัพธ์เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะเป็นหลักเกณฑ์ที่โจทก์ถือปฏิบัติและกำหนดเอาเอง โดยไม่มีหลักฐานใดชี้ให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจำนวนเท่าใด เพียงแต่คิดว่ารายจ่ายเหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สาขาในประเทศไทยด้วยเท่านั้น กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ เมื่อโจทก์นำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจึงต้องนำยอดค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ เป็นผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นตามจำนวนค่าใช้จ่ายที่นำกลับไปรวมนั้น เมื่อสาขาของโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินส่วนเฉลี่ยค่าใช้จ่ายซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะไปยังสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินรายได้ซึ่งจะต้องนำกลับเข้ามารวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องถือว่าสาขาของโจทก์ในประเทศไทยได้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ฉะนั้น โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีบริษัทต่างประเทศให้บริการและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรม
การที่บริษัท พ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้จัดส่งคนงานเข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่โจทก์ในการประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (1)
โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส
การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตาม แต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรส ประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่โจทก์ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงแรมของโจทก์ การที่บริษัทดังกล่าวปฏิบัติงานให้โจทก์ตามสัญญานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายของตนเองเพื่อทำงานให้บรรลุผลตามสัญญา ดังนั้น ค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด กับค่าส่งเสริมการตลาดที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว จึงเป็นเงินได้จากการที่บริษัทดังกล่าวรับทำงานให้โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งบริษัทดังกล่าวทดรองจ่ายไปก่อนแล้วโจทก์จะจ่ายคืนให้ในภายหลังไม่ โจทก์ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 เตรส
การที่โจทก์จ้างบริษัท ฮ.ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมของโจทก์ก็เพื่อให้กิจการโรงแรมของโจทก์เป็นไปด้วยดี ดังนั้นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทดังกล่าว ก็เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่บริษัทดังกล่าวจะบริหารโรงแรมให้โจทก์ จึงถือเป็นเงินค่าจ้างทำของ แม้โจทก์จะเรียกเงินที่จ่ายนั้นว่าเป็น ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียม หรือเงินจ่ายคืนสำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทดังกล่าวได้ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก็ตาม แต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นเงินค่าจ้างทำของทั้งสิ้น บริษัท ฮ.จึงต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ) โจทก์ผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัท ฮ. จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล แล้วนำส่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 สัตตรส ประกอบด้วยมาตรา 78 ปัณรส วรรคสอง