พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องของสถาบันการเงินให้บริษัทบริหารสินทรัพย์และการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติดังกล่าว และการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายในกรณีนี้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. ภาค 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการดำเนินการภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี คือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งโจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาท และขอถอนการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่โดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คที่จำเลยทั้งสี่นำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยกคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวต่อศาลจนศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยทั้งสี่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทบริหารสินทรัพย์: การโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ เป็นการกระทำโดยสุจริต
ผู้ร้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แตกต่างจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นของผู้ร้องเกือบทั้งหมด แต่ผู้ร้องก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ ซึ่งการจัดตั้งหรือการจดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์ล้วนแต่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องแล้วทั้งสิ้น การโอนหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพจึงเป็นไปโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการธนาคารและการสวมสิทธิเรียกร้องหลังการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์
ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ระบุให้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นก็ไม่สามารถรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากโจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์และโจทก์ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะพ้นกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ไม่เป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศดังกล่าวสิ้นผลไป ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดแต่การค้ำประกันให้หลักประกันนั้นตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์? เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ตามบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งประกาศใช้โดยชอบแล้ว การโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาใช่การซื้อขายความกันดังที่จำเลยทั้งสองอ้างไม่ กรณีจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาให้บริษัทบริหารสินทรัพย์โดยไม่ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
หนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของธนาคารโจทก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นอันชอบด้วยพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และมาตรา 9 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยัง จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ทั้งการโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องมิใช่การซื้อขายความจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9853/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้รับโอนมีสิทธิบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษา
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดบัญญัติเกี่ยวกับสถานะของสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากสถาบันการเงินประเภทอื่น ดังนี้ ทั้งโจทก์ บริษัท บ. และผู้ร้องจึงต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ทั้งสิ้น
การที่บริษัท บ. รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้มาจากโจทก์แล้วนำไปขายแก่ผู้ร้องต่อจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินอันถือว่าเป็นการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท บ. กับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องก็ต้องนำสินทรัพย์ของโจทก์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวมาบริหารตามบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ต่อไป กรณีมิใช่เป็นการโอนสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกันเองหรือโอนไปเพื่อให้ผู้ร้องบริหารสินทรัพย์แทนอันขัดต่อเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสินทรัพย์ระหว่างบริษัท บ. กับผู้ร้องจึงมีผลสมบูรณ์
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องจึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้โดยชอบ แม้ผู้ร้องจะซื้อมาในราคาต่ำกว่ามูลหนี้เดิม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิเต็มจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวนที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยยังคงค้างชำระหนี้กับโจทก์อยู่เท่าใดก็ต้องมีการชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบเพียงนั้น การซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจของโจทก์ไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะยกเว้นหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชกำหนดทั้งสองที่จะยกมาปรับแก่คดี ก็ต้องบังคับไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่นำพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งของพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่ง
เมื่อสินทรัพย์ที่โอนกันนี้เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์นำมาฟ้องคดีนี้และศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว โจทก์และบริษัท บ. ต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวต่อมาจากบริษัท บ. กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ที่บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์คดีนี้ได้ทุกประการ
การที่บริษัท บ. รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้มาจากโจทก์แล้วนำไปขายแก่ผู้ร้องต่อจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินอันถือว่าเป็นการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท บ. กับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องก็ต้องนำสินทรัพย์ของโจทก์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวมาบริหารตามบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ต่อไป กรณีมิใช่เป็นการโอนสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกันเองหรือโอนไปเพื่อให้ผู้ร้องบริหารสินทรัพย์แทนอันขัดต่อเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสินทรัพย์ระหว่างบริษัท บ. กับผู้ร้องจึงมีผลสมบูรณ์
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องจึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้โดยชอบ แม้ผู้ร้องจะซื้อมาในราคาต่ำกว่ามูลหนี้เดิม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิเต็มจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวนที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยยังคงค้างชำระหนี้กับโจทก์อยู่เท่าใดก็ต้องมีการชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบเพียงนั้น การซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจของโจทก์ไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะยกเว้นหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชกำหนดทั้งสองที่จะยกมาปรับแก่คดี ก็ต้องบังคับไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่นำพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งของพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่ง
เมื่อสินทรัพย์ที่โอนกันนี้เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์นำมาฟ้องคดีนี้และศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว โจทก์และบริษัท บ. ต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวต่อมาจากบริษัท บ. กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ที่บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์คดีนี้ได้ทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายความ (Litigation Funding) และโมฆะเนื่องจากผู้รับโอนไม่มีอำนาจตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 303 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นไว้แต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวแม้กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้สามารถโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อลูกหนี้ให้แก่ผู้รับโอนได้ โดยมิได้บัญญัติว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องมีค่าตอบแทนและผู้รับโอนจะต้องเป็นสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์และจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลหนี้ที่รับโอนก็ตาม แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นไว้ว่า ถ้าสภาพแห่งสิทธิเรียกร้องนั้นเองไม่เปิดช่องให้โอนกันได้หรือเป็นสิทธิเฉพาะตัวหรือมีกฎหมายห้ามโอนแล้วย่อมไม่สามารถกระทำได้ตามบทมาตราดังกล่าว สิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับโอนมาจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. เป็นสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร อ. มีต่อบริษัท ป. ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร อ. ได้ฟ้องบริษัท ป. ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ กลางและต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และคดีทั้งสองอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ประกอบกับได้ความว่าโจทก์รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพคดีนี้มีมูลหนี้จำนวนประมาณ 312,000,000 บาท โดยซื้อมาเพียง 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่ามูลหนี้มาก ดังนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. จึงไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องกันโดยปกติธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง หากแต่เป็นการซื้อขายความในการดำเนินคดีทั้งสองคดีแก่บริษัท ป. เมื่อโจทก์ไม่ใช่บริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจทำสัญญารับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ในคดีหรือสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเพื่อนำมาบริหารหรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ การรับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของโจทก์จึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพระหว่างบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสิทธิในการสวมสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 3 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า "การบริหารสินทรัพย์หมายความว่า (1) การรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน หรือสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น เพื่อนำมาบริหารหรือจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว และอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้แล้ว ถามค้านพยานที่สืบมาแล้วและคัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วได้ และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" และกระทรวงการคลังได้มีประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นสถาบันการเงิน ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ดังนั้น การที่ผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด ผู้ขอสวมสิทธิเดิมซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกัน จึงเป็นการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงมีสิทธิรับซื้อหรือรับโอนหนี้สินด้อยคุณภาพจากผู้ขอสวมสิทธิเดิม โดยอาศัย พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ได้โดยชอบ หาตกอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ สัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบริษัทบริหารสินทรัพย์ในการสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้พ้นกำหนดเวลาบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีนี้มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้พิเศษนอกเหนือไปจากบททั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้นที่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อคดีอยู่ระหว่างการขายเช่นนี้ แสดงว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้น ย่อมเป็นสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมายที่จะร้องขอเข้าสวมสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีสืบต่อจากโจทก์ได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม เพราะตราบใดที่สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ยังไม่หมดสิ้น ผู้ร้องก็ชอบที่จะเข้าสวมสิทธิบังคับคดีแทนโจทก์ได้ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ทั้งมิใช่เรื่องการร้องสอดดังที่อ้าง