พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: ความรับผิดของบริษัทประกันเมื่อกรมธรรม์ออกล่าช้าจากความบกพร่องในการปฏิบัติงาน
ธุรกรรมของจำเลยที่เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว โดยการจะใช้จำนวนเงินสงเคราะห์ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ยื่นคำขอ ธุรกรรมดังกล่าวจึงเป็นการรับประกัน ชีวิตตาม ป.พ.พ. มาตรา 889
เมื่อจำเลยยอมรับว่า ช. ผู้เอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้ และจำเลยจะต้องผูกพันตนในการที่จะต้องพิจารณาอนุมัติตามคำขอหรือไม่ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันรับฝากเงิน หากจำเลยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนั้น ช. ยังมีชีวิตอยู่ จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ได้ เมื่อกรมธรรม์ออกให้แก่ ช. ล่าช้าเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อกำหนดในตอนท้ายของคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิต และครอบครัวที่ระบุว่า "ข้าพเจ้า (ผู้เอาประกัน) ยอมรับว่าธนาคารยังไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับข้าพเจ้าจนกว่าธนาคาร จะได้ออกกรมธรรม์การฝากเงินให้แล้ว?" ซึ่งมีความหมายมุ่งเฉพาะกรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมหาได้ไม่ และต้องถือว่าสัญญารับประกันชีวิตมีขึ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันฝากเงินแล้ว ทั้งข้อกำหนดในเรื่องการออกกรมธรรม์ ไม่อาจถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในเรื่องความเป็นผลแห่งสัญญา
เมื่อจำเลยยอมรับว่า ช. ผู้เอาประกันมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้ และจำเลยจะต้องผูกพันตนในการที่จะต้องพิจารณาอนุมัติตามคำขอหรือไม่ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันรับฝากเงิน หากจำเลยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนั้น ช. ยังมีชีวิตอยู่ จำเลยย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ได้ เมื่อกรมธรรม์ออกให้แก่ ช. ล่าช้าเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จำเลยย่อมไม่อาจนำข้อกำหนดในตอนท้ายของคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิต และครอบครัวที่ระบุว่า "ข้าพเจ้า (ผู้เอาประกัน) ยอมรับว่าธนาคารยังไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับข้าพเจ้าจนกว่าธนาคาร จะได้ออกกรมธรรม์การฝากเงินให้แล้ว?" ซึ่งมีความหมายมุ่งเฉพาะกรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมหาได้ไม่ และต้องถือว่าสัญญารับประกันชีวิตมีขึ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันฝากเงินแล้ว ทั้งข้อกำหนดในเรื่องการออกกรมธรรม์ ไม่อาจถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในเรื่องความเป็นผลแห่งสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้น
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้หลังเสียชีวิต และความรับผิดของบริษัทประกัน
คดีอาญาที่พนักงานอัยการและโจทก์ซึ่งเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน