คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริษัทประกันภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัย: ผู้ประสบภัย vs. ผู้จ่ายค่ารักษา
การที่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองประสบภัยได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายก็เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อด้วยความประมาทเลินเล่ออันเป็นการทำละเมิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรถที่กระทำโดยจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ใช่ผู้ขับขี่รถอันจะต้องถูกไล่เบี้ยตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไปแล้ว โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะไปเรียกร้องเอาแก่บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไว้ซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ประสบภัยและไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยหรือใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยจากจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์สูญหายจากลักทรัพย์: ศาลมีอำนาจพิพากษาให้บริษัทประกันภัยรับผิดได้ แม้จะไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรง
ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่สามารถยกข้อต่อสู้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้อย่างไม่มีจำกัด และศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดของคู่ความทุกฝ่ายไปได้ในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีเรื่องใหม่ เมื่อจำเลยร่วมมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์สูญหายแก่โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่ถือว่าเกินคำขอของโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูกภ. ลักไปโดยจำเลยที่1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: การแยกแยะระหว่างการฟ้องบุคคลภายนอกกับบริษัทประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ดังนี้จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกันต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุกับบริษัทประกันภัยคู่กรณี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะ การฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว มาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7484/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสภาพนิติบุคคลและการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
นายทะเบียนบริษัทแห่งประเทศอังกฤษและเวลส์ได้จำหน่ายชื่อบริษัทโจทก์ออกทะเบียนเมื่อวันที่ 29 กันยายน2530 ตามมาตรา 652(5) แห่งพระราชบัญญัติบริษัทค.ศ.1958และได้เลิกบริษัทไปโดยลงแจ้งความในราชกิจจานุเบกษาแห่งกรุงลอนดอนเมื่อวันที่20ตุลาคม2530และมีบริษัทส.เป็นผู้ชำระบัญชี แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้เข้ามาว่าต่างในนามของโจทก์ในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259(1) อีกทั้งบริษัท อ. ซึ่งได้รับประกันภัยสินค้าของโจทก์และเป็นตัวแทนของโจทก์ก็ยังมีสิทธิในหนี้รายนี้อยู่เพราะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไปแล้วหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ บริษัท อ. ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเอาจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่โจทก์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรคแรก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้รายนี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยที่รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย กรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
จำเลยขับรถชนรถของ พ.ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และ พ. ได้นำรถไปซ่อมและชำระค่าซ่อมเรียบร้อยแล้ว เมื่อโจทก์ขอต่อรองและชดใช้ค่าเสียหายเป็น ค่าสินไหมทดแทนที่น้อยกว่าความเป็นจริงให้แก่ พ.ไปแล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของพ. เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ขับรถที่เอาประกันภัย ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สัญญาประกันภัย ไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 3.9.2. ย่อมไม่เกิดสิทธิที่โจทก์จะรับช่วงสิทธิได้ ตามกฎหมาย โดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีคู่สัญญาที่ถูกต้อง การยินยอมของคนขับรถแทนบริษัทประกันภัยไม่ถือเป็นสัญญา
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ข้อ (3) ระบุว่าโจทก์ขอให้บริษัทประกันภัยของจำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ไปซ่อมแซมให้ และข้อ (4) ระบุว่า จำเลยที่ 2 โดยบริษัทประกันภัยยินยอมตามข้อตกลง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงตามบันทึกนั้นแทนบริษัทประกันภัยหาใช่ตกลงในฐานะส่วนตัวไม่ และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ยินยอมตามข้อตกลงดังกล่าวเพราะทราบว่ารถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มีประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย และคิดว่าบริษัทประกันภัยคงต้องชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ จึงได้ยินยอมตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวขึ้น ดังนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงเช่นว่านี้เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และบริษัทประกันภัยจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดตามฟ้องระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซ่อมรถโดยคนขับรถบรรทุกแทนบริษัทประกันภัย ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ข้อ (3) ระบุว่าโจทก์ขอให้บริษัทประกันภัยของจำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ไปซ่อมแซมให้ และข้อ (4) ระบุว่า จำเลยที่ 2 โดยบริษัทประกันภัยยินยอมตามข้อตกลง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงตามบันทึกนั้นแทนบริษัทประกันภัยหาใช่ตกลงในฐานะส่วนตัวไม่ และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ยินยอมตามข้อตกลงดังกล่าวเพราะทราบว่ารถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 มีประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย และคิดว่าบริษัทประกันภัยคงต้องชดใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ จึงได้ยินยอมตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวขึ้น ดังนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงเช่นว่านี้เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และบริษัทประกันภัยจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะมีผลให้มูลหนี้ละเมิดตามฟ้องระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อการสูญหายของสินค้า และสิทธิของบริษัทประกันภัยในการรับช่วงสิทธิ
บริษัท ล. ขายสินค้าผ้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยบริษัทล. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองขนสินค้าดังกล่าวซึ่งบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ และบริษัท ล. ได้ประกันภัยสินค้ารายนี้ไว้กับโจทก์ เมื่อปรากฏว่าได้มีการบรรจุสินค้าผ้าจำนวน 1,149 ม้วนลงในตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวและสินค้าผ้าจำนวน 1,078 ม้วนได้สูญหายไปขณะอยู่ในความรับผิดของจำเลยทั้งสอง การสูญหายดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งสินค้านั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ล. เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ล. ไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล. ผู้เอาประกันภัยมาฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การรับผิดทางละเมิด และความรับผิดของบริษัทประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" โดยมี อ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ " สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
of 2