พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฐานฝ่าฝืนกฎหมายและบทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันการเงิน, อายุความ, และการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และโจทก์ได้นำสืบถึงการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกที่กระทำแต่ละกรรมอย่างละเอียดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทำความผิดไปได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมกู้ยืมเงินผ่านตัวกลางเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดทางกฎหมายบริษัทเงินทุน ผู้รับเงินต้องคืน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัทภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟ้องซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา8แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522พ.ศ.2526แต่จำเลยที่1และบริษัทภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่1แล้วนำเงินไปให้บริษัทภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่งโดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงินกล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่1และบริษัทก.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกันและดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ1ให้ผู้คัดค้านทั้งแปดแล้วจำเลยที่1ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่1ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใดๆจากผู้คัดค้านทั้งแปดแม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทภ.ไม่ได้เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่1จำเลยที่1ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่1และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่1ได้อีกซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35ที่แก้ไขใหม่อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำทั้งหลายของจำเลยที่1ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัทภ.จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150นิติกรรมที่จำเลยที่1อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ต่อผู้คัดค้านที่1และที่จำเลยที่1ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใดๆให้ผู้คัดค้านที่2ถึงที่8ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอนและต้องถือว่าบริษัทภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่1ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่1หาใช้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่1แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6106/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, หนังสือค้ำประกัน, และความรับผิดของผู้บริหารบริษัทเงินทุน
จำเลยที่ 3 ไม่ได้อ้างเหตุในคำให้การว่า ช. และ ก.ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเพราะเหตุใด ดังนี้คำให้การปฏิเสธของจำเลยที่ 3 ไม่มีเหตุแห่งการนั้นจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวเมื่อโจทก์นำสืบโดยมีหนังสือรับรองของนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาแสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง ช. และก. เป็นกรรมการของโจทก์ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ดำเนินการแทนโจทก์ได้ และมีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ ซึ่ง ช. และ ก. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดคดีนี้รวมทั้งแต่งตั้งทนายความได้ด้วย ทั้ง ธ. ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยืนยันว่า ช. และก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ธ.ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประเด็นข้อที่จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็ถือไมไ่ด้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1เกิดจากความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บริหารงานของบริษัทเงินทุนโจทก์เพื่อมิให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่นำเงินมาฝากโจทก์ และเพราะเกรงว่าโจทก์จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนจากกระทรวงการคลัง เป็นการเข้าค้ำประกันด้วยความสมัครใจ จึงเป็นการยอมตนเข้าผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันนั้น การที่จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันเพราะได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกันแล้วจะไม่ดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ลงลายมือชื่อจะดำเนินคดีอาญา เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระทำการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่ที่จะทำให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 และ 127 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยตัวแทนของบริษัทเงินทุน และความรับผิดในสัญญาฝากทรัพย์
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้นจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่14 กรกฎาคม 2524 ข้อ 2(2), ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทเงินทุนต่อการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และประเด็นเรื่องอายุความคดี
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 75 (เดิม) บัญญัติว่า "ในกรณีที่บริษัทกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทนั้น...ต้องระวางโทษ...เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยกรรมการบริษัทเงินทุนลงลายมือชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งประกาศธนาคารแห่งประเทศกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนั้นนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันจนเต็มจำนวนหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทได้เข้ารับอาวัลตั๋วเงินนั้นก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 อันเป็นวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ปรากฏว่าบริษัทและจำเลยไม่เรียกหลักประกันตลอดมาจนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะพ้นความผิดได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับบริษัท เมื่อจำเลยเป็นกรรมการมีหน้าที่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยต้องติดตามเรื่องราวให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลวางหลักประกัน แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว จำเลยจึงไม่พ้นความผิด
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 70 (เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75 (เดิม) ด้วย อันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิด ทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าาได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามลงลายมือชี่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องนำ ป.อ.มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา75 (เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์ 2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่าหากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง เมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้วพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพ.ร.บ.กระประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตังแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 คนละ 3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 70 (เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75 (เดิม) ด้วย อันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิด ทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าาได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามลงลายมือชี่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องนำ ป.อ.มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา75 (เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์ 2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่าหากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง เมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้วพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพ.ร.บ.กระประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตังแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 คนละ 3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรของบริษัทเงินทุน
พนักงานศาลส่งหมายนัดชี้สองสถานให้โจทก์โดยการปิดหมายวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 และศาลภาษีอากรกลางนัดชี้สองสถานวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ย่อมมีเวลายื่นบัญชีระบุพยานได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8วรรคหนึ่ง แต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดชี้สองสถาน โดยอ้างเหตุผลว่าเกิดผิดพลาดเพราะความพลั้งเผลอของโจทก์ มิได้ศึกษาข้อกำหนดและข้อกฎหมายให้ถ่องแท้มิใช่เกิดจากเจตนาหรือจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดข้อกล่าวอ้างเช่นนี้มิใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวที่ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ได้ กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนซื้อ หรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นและหากโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาก็ต้องจำหน่ายไปภายใน 3 ปี แสดงว่าขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินมาเนื่องจากลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมทราบดีแล้วว่าเป็นการรับโอนมาเพื่อที่จะขายต่อให้แก่ผู้อื่นไปตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ โจทก์ก็ต้องคำนวณแล้วเห็นว่าโจทก์จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรมากกว่าการที่จะดำเนินการบังคับชำระหนี้ต่อไปดังนั้น การที่โจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้แล้วต่อมาโจทก์ได้ขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปจึงถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนชื่อบริษัทหลังมีกฎหมายใหม่ ทำให้ไม่เป็นความผิดฐานใช้ชื่อบริษัทเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยใช้ชื่อว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ซึ่งมาตรา 37บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเลิกใช้ชื่อว่า บริษัทเงินทุน ดังนี้จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13,72 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ อีกต่อไป ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของบริษัทเงินทุนที่ไม่ได้รับการระบุเป็นสถาบันการเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและกระทรวงการคลังต่อความเสียหายจากบริษัทเงินทุน กรณีล้มละลาย ไม่ถือว่าละเมิด
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 นั้น มีขอบเขตของการควบคุมเพื่อตรวจตราดูแลให้บริษัทเงินทุนได้ดำเนินงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงการคลัง ไม่มีหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องดำเนินงานหรือกระทำการช่วยเหลือชี้ช่องในการบริหารงาน ให้แก่คณะกรรมการของบริษัทเงินทุนการกระทำของบริษัทเงินทุน เช่นการเพิ่มทุนก็ดี ราคาหุ้นของบริษัทสูงมากอย่างรวดเร็วก็ดี ให้กู้ยืมโดยไม่มีหลักประกันก็ดี หรือหนี้สูญจำนวนมากก็ดี จึงทำให้ ฐานะของบริษัทเงินทุนทรุดหนักจนไม่อาจแก้ไขได้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งสองยอมรับหรือสมยอมให้บริษัทกระทำการดังกล่าวหรือ ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดความเสียหาย ของโจทก์ที่เป็นลูกค้าที่ฝากเงินไว้กับบริษัทหากจะมีก็เกิดจาก การกระทำของบริษัทเงินทุน มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด
การที่ศาลชั้นต้นตรวจพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดจึงมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 151
การที่ศาลชั้นต้นตรวจพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดจึงมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางการดำเนินงานของกรรมการควบคุมบริษัทเงินทุน และความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทเงินทุนที่ถูกควบคุมตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ได้ขัดขวางแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่แทนประธานกรรมการควบคุมบริษัทโดยมิได้รับมอบหมาย เป็นการฝ่าฝืนเข้ากระทำกิจการของบริษัทจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 60,73
ประธานกรรมการบริษัทมีฐานะเป็นกรรมการบริษัทคนหนึ่ง
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯมิได้ระบุให้คณะกรรมการควบคุมบริษัทมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน คณะกรรมการดังกล่าวจึงมิใช่เจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญาทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยซึ่งแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่ จึงไม่มีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138
ประธานกรรมการบริษัทมีฐานะเป็นกรรมการบริษัทคนหนึ่ง
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯมิได้ระบุให้คณะกรรมการควบคุมบริษัทมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน คณะกรรมการดังกล่าวจึงมิใช่เจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญาทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยซึ่งแย่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมใหญ่ จึงไม่มีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138