พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9016-9043/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างเหมาช่วงงานและมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 2 จ้างบริษัท ค. ให้จัดหาคนงานหรือลูกจ้างในตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 กำหนด เพื่อไปทำงานของจำเลยที่ 2 บนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ และงานดังกล่าวจำเลยที่ 2 รับจ้างจากบริษัท ช. ให้ดำเนินการเรื่องเรือเพื่อการผลิต การขนถ่าย และจัดเก็บปิโตรเลียมที่ผลิตได้เพื่อเตรียมจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดยมอบหมายให้บริษัท ค. จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธรุกิจจัดหางาน โดยงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วยตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และต่อมาเมื่อได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นและจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการและพนักงานของบริษัท ค. รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาของบริษัท ค. ที่มีต่อจำเลยที่ 2 มาด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบแปดให้ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 บนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดด้วย
การทำงานบนเรือมีรอบการทำงานยี่สิบแปดวันและหยุดพักไม่ต้องทำงานยี่สิบแปดวัน เงินค่าพาหนะเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 เหมาจ่ายให้เป็นค่าเดินทางจากภูมิลำเนาที่พักมายังท่าเรือจังหวัดระยองเพื่อไปขึ้นทำงานบนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จะให้ต่อเมื่อต้องเดินทางมาเพื่อขึ้นไปทำงานบนเรือเท่านั้น หากมิใช่รอบที่จะไปทำงานบนเรือก็จะไม่ได้รับเงินค่าพาหนะและโจทก์แต่ละคนได้รับไม่เท่ากัน การจ่ายค่าพาหนะดังกล่าว แม้จะจ่ายโดยเหมาจ่ายให้ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบแปดมีกำหนดเวลาทำงานติดต่อกันเป็นช่วง ช่วงละยี่สิบแปดวันที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและช่วงที่ไม่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งอีกยี่สิบแปดวันสลับกันไป เงินค่าพาหนะจะจ่ายให้เฉพาะช่วงที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและได้รับจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสำหรับค่าเดินทางจากภูมิลำเนาไปยังท่าเรือจังหวัดระยอง มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดและมิได้ประสงค์จะจ่ายเป็นค่าจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
การทำงานบนเรือมีรอบการทำงานยี่สิบแปดวันและหยุดพักไม่ต้องทำงานยี่สิบแปดวัน เงินค่าพาหนะเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 เหมาจ่ายให้เป็นค่าเดินทางจากภูมิลำเนาที่พักมายังท่าเรือจังหวัดระยองเพื่อไปขึ้นทำงานบนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จะให้ต่อเมื่อต้องเดินทางมาเพื่อขึ้นไปทำงานบนเรือเท่านั้น หากมิใช่รอบที่จะไปทำงานบนเรือก็จะไม่ได้รับเงินค่าพาหนะและโจทก์แต่ละคนได้รับไม่เท่ากัน การจ่ายค่าพาหนะดังกล่าว แม้จะจ่ายโดยเหมาจ่ายให้ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบแปดมีกำหนดเวลาทำงานติดต่อกันเป็นช่วง ช่วงละยี่สิบแปดวันที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและช่วงที่ไม่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งอีกยี่สิบแปดวันสลับกันไป เงินค่าพาหนะจะจ่ายให้เฉพาะช่วงที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและได้รับจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสำหรับค่าเดินทางจากภูมิลำเนาไปยังท่าเรือจังหวัดระยอง มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดและมิได้ประสงค์จะจ่ายเป็นค่าจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานให้บริษัทอื่นถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ลักษณะงานเดิม
การที่จำเลยให้โจทก์ไปทำงานกับอีกบริษัทหนึ่ง แม้การทำงานของโจทก์ในบริษัทใหม่จะเป็นการทำงานเช่นเดิมในสถานที่เดิมก็เป็นงานของบริษัทใหม่ โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลย ถือว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน อันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายกิจการและการเลิกจ้าง การส่งตัวลูกจ้างไปทำงานบริษัทใหม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์เคยเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่จำเลยได้ขายกิจการให้แก่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด โดยมีข้อตกลงให้รับลูกจ้างของจำเลยไปทำงานทั้งหมดด้วย เมื่อได้ความว่าบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ได้ตั้งอัตราเงินเดือนให้โจทก์ทุกคนใหม่ และไม่นับอายุการทำงานต่อจากที่เคยทำมากับจำเลยให้ จึงเป็นกรณีที่บริษัทมหานครขนส่งจำกัด ตกลงจ้างโจทก์ใหม่ หาใช่รับโอนโจทก์มาจากบริษัทจำเลยไม่ การที่ จำเลยส่งตัวโจทก์ให้แก่บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด จึงเป็นการที่จำเลย ให้โจทก์ออกจากงาน อันเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2517 ข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13962/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบรวมบริษัทและการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน: บริษัทใหม่มีหน้าที่ชำระเงินสมทบตามอัตราปกติ
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 45 ให้ความสำคัญเรื่องการเรียกเก็บเงินสมทบโดยคำนึงถึงตัวนายจ้างเป็นหลัก หากข้อเท็จจริงจากตัวนายจ้างเปลี่ยนแปลงไปย่อมทำให้การประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อโจทก์เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเดียวกันเข้าด้วยกันและก่อนควบรวมกิจการบริษัททั้ง 7 แห่ง ต่างก็มีฐานะเป็นนายจ้างแยกจากกันซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แยกประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบแยกกันไปตามรายกิจการ เมื่อบริษัททั้ง 7 แห่ง มาควบรวมกิจการกันเป็นบริษัทใหม่ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวนายจ้างของแต่ละบริษัทเปลี่ยนแปลงไป ต้องถือว่าบริษัทโจทก์ที่จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นใหม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลใหม่และเป็นนายจ้างใหม่ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราเงินสมทบร้อยละ 0.40 ของค่าจ้าง การที่โจทก์จะขอนำระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบของบริษัทในเครือมารวมคำนวณเพื่อขอลดอัตราดังกล่าวเพื่อชำระเงินสมทบน้อยลงย่อมไม่ชอบ ทั้งการควบรวมบริษัทในเครือเข้าด้วยกันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของโจทก์ในการดำเนินธุรกิจ มิใช่เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างโดยตรง และวิธีการในการประเมินเงินสมทบได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โจทก์จะยกอ้างเอาสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1243 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปมาปรับใช้แก่กรณีของโจทก์หาได้ไม่