พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลความเหมาะสมในการบริหารงานและมนุษยสัมพันธ์ของลูกจ้าง
การพิจารณาว่ากรณีใดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นเหตุทางฝ่ายนายจ้างหรือเหตุทางฝ่ายลูกจ้างโดยพิจารณาว่านายจ้างมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุว่า "เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงาน" ซึ่งยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีความเหมาะสมในการบริหารงานใด หรือจำเลยประสงค์จะให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารงานเช่นใด จึงต้องพิจารณาจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาแสดงว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ เมื่อโจทก์ทำงานในระดับบริหารต้องประสานงานกับบุคลากรในส่วนงานอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน แต่โจทก์ปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ แม้จำเลยจะได้ย้ายโจทก์ไปส่วนงานอื่น โจทก์ก็ยังทำงานในลักษณะเดิมโดยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานอีก ชี้ให้เห็นว่าโจทก์น่าจะเป็นผู้ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่สามารถประสานงานกับบุคลากรในส่วนอื่นได้ ย่อมทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารจัดการของจำเลย ทำให้การผลิตและการบริการของจำเลยขาดประสิทธิภาพ อาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุว่า "เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงาน" ซึ่งยังไม่ได้ความชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีความเหมาะสมในการบริหารงานใด หรือจำเลยประสงค์จะให้เกิดความเหมาะสมในการบริหารงานเช่นใด จึงต้องพิจารณาจากคำให้การและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาแสดงว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ เมื่อโจทก์ทำงานในระดับบริหารต้องประสานงานกับบุคลากรในส่วนงานอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน แต่โจทก์ปฏิบัติงานเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ แม้จำเลยจะได้ย้ายโจทก์ไปส่วนงานอื่น โจทก์ก็ยังทำงานในลักษณะเดิมโดยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานอีก ชี้ให้เห็นว่าโจทก์น่าจะเป็นผู้ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่สามารถประสานงานกับบุคลากรในส่วนอื่นได้ ย่อมทำให้เกิดความขัดข้องในการบริหารจัดการของจำเลย ทำให้การผลิตและการบริการของจำเลยขาดประสิทธิภาพ อาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ จำเลยจึงมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากล้มละลายต้องพิจารณาความผิดพลาดในการบริหารงานและเจตนาของผู้ล้มละลาย
ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงให้ได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73 แล้วจึงมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลอันมีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองสามารถชำระหนี้โจทก์ได้จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปีในระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าจำเลยทั้งสองขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดตามมาตรา 73(1) และ (3)ประกอบกับโจทก์คัดค้าน จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยทั้งสองจากล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการบริหารงานกิจการร่วมค้า ถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ช. เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ช. จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม. มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้าซ. แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการพนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ. มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ.และกิจการร่วมค้าซ. มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้าซ. โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ. จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ก)และ(ฉ) การรับจ้างทำของด้วยดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้าซ. จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้า ซ. เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะ ถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ. เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายได้หากไม่ขัดต่อสัญญาจ้าง
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจบริหารงานและเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้ หากไม่มีข้อตกลงห้าม
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญางานเหมา vs. จ้างบริหาร: การคิดค่าเสียหายเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีหนังสือขอแจ้งผลการพิจารณาต่อรองราคาว่าจ้างวางท่อเหล็กไปยังโจทก์ผู้รับจ้าง โดยหนังสือดังกล่าวมีการแก้ไขราคาในลักษณะต่อรองคำเสนอของโจทก์ ดังนั้น คำสนองของจำเลยที่ 1 จึงไม่ตรงกับคำเสนอของโจทก์ ถือเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอของโจทก์และเป็นคำเสนอของจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ในตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคำบอกกล่าวสนองของโจทก์ไปถึงจำเลยที่ 1 ผู้เสนอ เพราะเป็นสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคหนึ่ง และมาตรา 169 จำเลยที่ 1 ได้ส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่โจทก์ไม่ตอบตกลงราคาดังกล่าวมายังจำเลยที่ 1 ถือว่าโจทก์มิได้มีคำสนองไปถึงจำเลยที่ 1 ดังนั้นหนังสือขอแจ้งผลการพิจารณาต่อรองราคาดังกล่าวไม่ก่อเกิดเป็นสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มิได้สนองรับคำเสนอของจำเลยที่ 1 ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนอง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิถอนคำเสนอของตนได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนคำเสนอแล้วคำเสนอเป็นอันสิ้นความผูกพัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 355 และมาตรา 357