พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยถูกหลอกลวงถึงเจตนาสำคัญ ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะและสามารถบอกล้างได้
โจทก์ได้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยได้ชำระเงินบางส่วนให้โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท และจะชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 39,900,000 บาท ให้โจทก์ภายหลังจากที่ที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินถูกต้องเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ แต่การจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทได้หรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพของที่ดินพิพาทที่อยู่ในขณะทำสัญญาว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มิใช่ขึ้นอยู่กับความสามารถของจำเลยที่จะไปดำเนินการได้หรือไม่ กรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยรับรองว่าจะกระทำการใดในอนาคตแล้วไม่ได้กระทำ หรือไม่สามารถกระทำได้ตามที่รับรองไว้อันไม่ใช่ข้อความเท็จ เมื่อ บ. มารดาจำเลยหลอกลวงโจทก์ว่าสามารถขอออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทได้ทั้งหมด ซึ่งแท้จริงเป็นที่ดินที่ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้ทั้งหมด จึงเป็นการทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์บอกล้างนิติกรรมแล้วจึงตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: การบอกล้างสัญญาและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
ผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยผู้รับประกันภัยมีหนังสือลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ถึงโจทก์ผู้รับประโยชน์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและปฏิเสธการจ่ายเงินสินไหมมรณกรรม จึงเป็นการผิดสัญญาและถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจำเลยได้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันผู้เอาประกันถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิต: การบอกล้างสัญญาและการคิดดอกเบี้ยผิดนัดเริ่มนับแต่วันบอกล้าง
ผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยผู้รับประกันภัยมีหนังสือลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ถึงโจทก์ผู้รับประโยชน์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและปฏิเสธการจ่ายเงินสินไหมมรณกรรม จึงเป็นการผิดสัญญาและถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันผู้เอาประกันถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 พ.ร.บ.แพ่งฯ เพราะเป็นนิติกรรมระหว่างสามีภรรยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยานศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยซึ่งเป็นภรรยาระหว่างสมรสซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภรรยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินต่อจำเลย จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1469มาใช้บังคับ หาใช่นำบทบัญญัติมาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยซึ่งเป็นภรรยาระหว่างสมรสซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภรรยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินต่อจำเลย จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1469มาใช้บังคับ หาใช่นำบทบัญญัติมาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน จึงให้งดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษานั้นเป็นการสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดิน 7 แปลง แก่จำเลยซึ่งเป็นภริยาระหว่างสมรสนิติกรรมการให้จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้วดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินทั้งหมดต่อจำเลย กรณีต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1469 มาใช้บังคับ หาใช่ต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดิน 7 แปลง แก่จำเลยซึ่งเป็นภริยาระหว่างสมรสนิติกรรมการให้จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้วดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินทั้งหมดต่อจำเลย กรณีต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1469 มาใช้บังคับ หาใช่ต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลเจ็บป่วยก่อนทำสัญญา
โจทก์กรอกคำตอบในใบคำขอเอาประกันชีวิตโจทก์ ว่าไม่เคยเป็นหรือทราบว่าเป็นหรือเคยได้รับคำแนะนำหรือการรักษาโรคมะเร็งเนื้องอกตุ่มเนื้อหรืออวัยวะใด ๆ ที่งอกหรือโตขึ้นผิดปกติ ไม่เคยมีอาการผิดปกติที่เต้านมมาก่อน แต่ปรากฏว่า โจทก์เคยเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดบริเวณเต้านม ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อที่เต้านมด้านซ้ายเมื่อโจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบซึ่งหากจำเลยทราบอาจเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต การกระทำของโจทก์มีผลให้สัญญาประกันชีวิตและสัญญาพิเศษเพิ่มเติมตกเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ปกปิดไว้อันเป็นมูลที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 เมื่อโจทก์เรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลย จำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้เพราะโจทก์ปิดบังการป่วยเป็นโรคของโจทก์ก่อนที่จะทำสัญญาประกันภัย ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์ทำบันทึกต่อนายทะเบียนกรมการประกันภัย ระบุว่าโจทก์ไปยื่นเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลเป็นค่ารักษาการผ่าตัดแต่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต่อจากนั้นจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมลงวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2538 ไปยังจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตในส่วนสัญญาเพิ่มเติมพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต ในส่วนการรักษาก้อนเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ปกปิดไว้อันเป็นมูลที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 เมื่อโจทก์เรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลย จำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินให้เพราะโจทก์ปิดบังการป่วยเป็นโรคของโจทก์ก่อนที่จะทำสัญญาประกันภัย ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์ทำบันทึกต่อนายทะเบียนกรมการประกันภัย ระบุว่าโจทก์ไปยื่นเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลเป็นค่ารักษาการผ่าตัดแต่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต่อจากนั้นจำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมลงวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2538 ไปยังจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตในส่วนสัญญาเพิ่มเติมพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต ในส่วนการรักษาก้อนเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค และการบอกล้างสัญญาประกันภัยเนื่องจากอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
การที่จำเลยปฏิเสธการใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ พ. ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตโดยอ้างอาการอ่อนเพลียของผู้เอาประกันภัย ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรคนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีแก่จำเลยเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ชอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป. มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงก่อนจะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย การที่นาย ป. มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นทางแพทย์ถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ถือว่าเป็นโรค ฉะนั้น ที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบในคำขอเอาประกันชีวิตจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยความจริงเช่นนั้น จะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
ป. มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงก่อนจะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย การที่นาย ป. มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นทางแพทย์ถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ถือว่าเป็นโรค ฉะนั้น ที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบในคำขอเอาประกันชีวิตจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยความจริงเช่นนั้น จะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันชีวิต - การบอกล้างสัญญา - สุขภาพของผู้เอาประกัน - เหตุผลในการบอกล้างสัญญา
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก โดยโจทก์นำสืบว่าการที่จำเลยปฏิเสธใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ พ. ผู้ร้องโดยอ้างอาการอ่อนเพลียของผู้เอาประกันภัยซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าไม่ใช่โรคนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมและไม่ใช่เพียงผู้ร้องรายเดียวที่ประสบกับเหตุลักษณะนี้ แต่คาดว่ายังมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกันนี้ ทั้งจำเลยก็รับว่าไม่มีระเบียบกำหนดให้อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามที่จะไม่รับประกันภัย ดังนั้น ที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงมอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 10(7) และมาตรา 39 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ก่อนที่ ป. จะยื่นคำขอเอาประกันชีวิตกับจำเลย ป. เคยเข้ารับการรักษาและนอนพักในโรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เพราะเหตุน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ ป. ก็มิได้แถลงข้อความจริงในเรื่องดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วไม่ถือว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปโกซีเมียเป็นโรคติดต่อเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หากรับประทานอาหารเข้าไปก็จะหายโดยไม่ต้องใช้ยา แม้จำเลยจะอ้างว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราด้วยก็ตาม แต่หากดื่มสุราและยังรับประทานอาหารตรงเวลาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำคงไม่เกิดขึ้นทั้งจำเลยก็ไม่มีระเบียบว่า ผู้เอาประกันภัยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำสัญญาประกันชีวิต ได้ความว่าก่อนรับทำสัญญาประกันชีวิต จำเลยได้จัดให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพของ ป. แล้ว ซึ่งปรากฏว่าป. มีสุขภาพแข็งแรง ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำของ ป. เกิดจากการดื่มสุราจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ฉะนั้นที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้นจะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ โดยมิได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
ก่อนที่ ป. จะยื่นคำขอเอาประกันชีวิตกับจำเลย ป. เคยเข้ารับการรักษาและนอนพักในโรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น เพราะเหตุน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ ป. ก็มิได้แถลงข้อความจริงในเรื่องดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งในทางการแพทย์แล้วไม่ถือว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปโกซีเมียเป็นโรคติดต่อเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไปที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หากรับประทานอาหารเข้าไปก็จะหายโดยไม่ต้องใช้ยา แม้จำเลยจะอ้างว่าการมีน้ำตาลในเลือดต่ำอาจมีสาเหตุมาจากการดื่มสุราด้วยก็ตาม แต่หากดื่มสุราและยังรับประทานอาหารตรงเวลาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำคงไม่เกิดขึ้นทั้งจำเลยก็ไม่มีระเบียบว่า ผู้เอาประกันภัยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำสัญญาประกันชีวิต ได้ความว่าก่อนรับทำสัญญาประกันชีวิต จำเลยได้จัดให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพของ ป. แล้ว ซึ่งปรากฏว่าป. มีสุขภาพแข็งแรง ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำของ ป. เกิดจากการดื่มสุราจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ฉะนั้นที่ ป. ไม่เปิดเผยเรื่องนี้ให้จำเลยทราบจึงไม่อาจอนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้เปิดเผยข้อความจริงเช่นนั้นจะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาอันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ป. กับจำเลยตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้างสัญญาได้ เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย เนื่องจากอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ โดยมิได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ พ. ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาระหว่างสามีภริยาที่ทำขึ้นก่อนหย่า และสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์สินหลังหย่า
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 แม้จะมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยตกลงหย่ากัน แต่ตราบใดที่ยังไม่ไปจดทะเบียนหย่าก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันเมื่อมีข้อตกลงเกี่ยวกับ ทรัพย์สินด้วย จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469
โจทก์ฟ้องขอหย่า การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลย ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมถือได้ว่าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการแสดงเจตนา บอกล้างไปในตัว และเป็นการบอกล้างในขณะเป็นสามีภริยากันอยู่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ดังกล่าว จำเลยได้มีการบอกล้างแล้ว จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่กันตามสิทธิต่อไป
จำเลยซึ่งเป็นสามีโจทก์มีฐานะดี ส่วนโจทก์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายของประจำห้างสรรพสินค้า มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ 4,000 บาท โจทก์ยังต้องเช่าบ้านอยู่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้จำเลยชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอหย่า การที่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งอ้างว่าบอกเลิกสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลย ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันแล้วย่อมถือได้ว่าคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการแสดงเจตนา บอกล้างไปในตัว และเป็นการบอกล้างในขณะเป็นสามีภริยากันอยู่ยังไม่มีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ดังกล่าว จำเลยได้มีการบอกล้างแล้ว จึงไม่มีผลบังคับแก่โจทก์จำเลยอีก ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวแก่กันตามสิทธิต่อไป
จำเลยซึ่งเป็นสามีโจทก์มีฐานะดี ส่วนโจทก์ประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายของประจำห้างสรรพสินค้า มีเงินเดือนเพียงเดือนละประมาณ 4,000 บาท โจทก์ยังต้องเช่าบ้านอยู่ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองให้จำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาระหว่างสมรส การบอกล้างสัญญา และผลของการบอกล้าง
คดีนี้เดิมโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีเงื่อนไขฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2539 และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นแล้ว ต่อมาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่สำเร็จผล มีผลให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นอันตกไปไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์และจำเลยจึงได้ทำข้อตกลงกันใหม่เป็นสัญญาใหม่ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 จึงมีผลผูกพันโจทก์จำเลยแทนสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2539 แต่จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาใหม่ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 นั้นได้อีก จำเลยได้ยื่นข้อเสนอขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่ตกลงจึงยังไม่เกิดเป็นสัญญา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 โจทก์ต้องฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวเป็นคดีใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 เป็นข้อตกลงเพื่อจัดการทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสัญญาระหว่างสมรส คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อจำเลยได้บอกล้างข้อตกลงดังกล่าวแล้ว สัญญาระหว่างสมรสของโจทก์จำเลยจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้อีก
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 เป็นข้อตกลงเพื่อจัดการทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสัญญาระหว่างสมรส คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อจำเลยได้บอกล้างข้อตกลงดังกล่าวแล้ว สัญญาระหว่างสมรสของโจทก์จำเลยจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้อีก