พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเลิกสัญญาและการบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุด: การกระทำบ่งชี้เจตนาหลังอ้างเลิกสัญญา
ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาผนังของห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าวซึ่งจำเลยรับว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย และในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว การนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์ในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งหลังจากนั้นจำเลยยังได้ยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจรับห้องชุดพิพาทว่ายังมีรอยแตกร้าวต้องซ่อมแซมแก้ไขและจำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่ในวันดังกล่าวไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากจำเลยเรียกเงินจากโจทก์อีก 50,000 บาท อ้างว่าโจทก์รับโอนห้องชุดพิพาทล่าช้า หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทอีก เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันและจำเลยไม่โอนห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8021/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและการคืนเงินมัดจำ/ค่าที่ดิน จำเลยไม่มีสิทธิริบเงินเมื่อสัญญาไม่ได้ระบุ
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ได้ชำระแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาโดยระบุว่าหากโจทก์ไม่ดำเนินการจะริบเงินทั้งหมดแล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะริบเงินดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไว้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง ดอกเบี้ยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะที่เป็นอยู่เดิมจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งหรือดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง ดอกเบี้ยดังกล่าวมีลักษณะเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะที่เป็นอยู่เดิมจึงมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งหรือดอกเบี้ยค้างชำระซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์จากเหตุพ้นวิสัย ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพราะไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้แก่โจทก์ได้ และโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินมัดจำที่ให้ไว้คืนและหากโจทก์ได้รับความเสียหายก็มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หลังโจทก์และจำเลยทั้งหกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันแล้ว กรุงเทพมหานครได้เข้าทำถนนในที่ดินดังกล่าวก่อนวันนัดโอนกรรมสิทธิ์โดยอ้างว่าเจ้าของที่ดินเดิมยกที่ดินบางส่วนให้เป็นที่สาธารณะ แต่ในสารบัญจดทะเบียนที่ดินไม่ปรากฏว่าเจ้าของเดิมได้จดแจ้งลงในสารบัญจดทะเบียนแต่อย่างใด จำเลยทั้งหกจึงน่าจะไม่ทราบเรื่องที่เจ้าของเดิมยกที่ดินบางส่วนให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ครบถ้วนตามสัญญาจึงเป็นเรื่องพ้นวิสัยเนื่องจากเหตุซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: โจทก์ผิดสัญญาจดทะเบียนรถยนต์ ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์จากโจทก์ โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจดทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียน ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันให้โจทก์มีหน้าที่จดทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ หลังจากทำสัญญาแล้ว 9 เดือน โจทก์ยังไม่ไปดำเนินการจดทะเบียน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่งมอบรถยนต์บรรทุกโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ได้ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5142/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่อโดยปริยาย และการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 566
จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์มีกำหนด 1 ปี ชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 19 ของทุกเดือน เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วโจทก์รับเงินค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าจากจำเลยในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2543 ก่อนหน้าที่โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกการเช่าถึงจำเลยในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 การทักท้วงไปถึงจำเลยภายหลังสัญญาเช่าเดิมครบกำหนดถึง 3 วัน ไม่อาจแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ดังนั้นการบอกเลิกการเช่าของโจทก์จึงอยู่ในบังคับของมาตรา 566 เมื่อการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การสละสิทธิจากเจตนาของคู่สัญญา และผลของการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ตามพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ จำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 2 งวดติดต่อำกันหลายครั้ง ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ชำระเงินติดต่อกัน 2 งวด (สองเดือน) คู่สัญญาถือว่าผู้เช่าซื้อขาดสิทธิการเช่าซื้อที่ดินแปลงตามสัญญานี้ ผู้เช่าซื้อจะเรียกร้องเงินมัดจำ เงินที่ส่งค่างวดหรือค่าเสียหายใดๆ จากผู้ขายมิได้และผู้เช่าซื้อจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ขาดสิทธิ แสดงว่าจำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไปทันที แต่ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยปรากฏว่าจำเลยยังคงชำระค่าเช่าซื้อต่อมา และโจทก์ก็ยินยอมรับชำระค่าเช่าซื้อ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะถือว่าจำเลยขาดสิทธิแล้วก็ตาม แสดงว่าโจทก์มิได้ยึดถือเอาสัญญาเช่าซื้อข้อนี้เป็นสาระสำคัญโดยโจทก์ยังถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังมีผลต่อไป จึงรับเงินค่าเช่าซื้อไว้ ถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญา สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่เลิกกัน ดังนั้น หากจำเลยผิดนัดผิดสัญญาเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าซื้ออีก และโจทก์มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ต้องบอกกล่าวไปยังจำเลยโดยให้ระยะเวลาแก่จำเลยพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยทันทีโดยไม่ให้ระยะเวลาแก่จำเลยชำระหนี้ก่อนตามสมควรจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน
การสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 นั้น ศาลต้องสั่งให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องโจทก์หรือฟ้องแย้งของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยโดยไม่กำหนดให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่
การสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 นั้น ศาลต้องสั่งให้ชัดแจ้งว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับฟ้องโจทก์หรือฟ้องแย้งของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยโดยไม่กำหนดให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยึดรถคืนและการผิดสัญญา โดยการไม่รับชำระหนี้และการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ
โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจนถึงงวดที่ 12 แล้วไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 ถึง 15 ต่อมางวดที่ 16 โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับไว้โดยไม่ทักท้วง ไม่คิดดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ แสดงว่า จำเลยมิได้ยึดถือข้อสัญญาที่ว่า หากผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์โดยให้ระยะเวลาแก่โจทก์พอสมควร แม้จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยไม่รับชำระโดยอ้างว่าโจทก์ชำระน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระซึ่งมีดอกเบี้ย ค่าติดตามรถและค่าแอร์รวมอยู่ด้วยนั้น ก็ไม่ปรากฏข้อสัญญาหรือข้อนำสืบว่า ยอมให้คิดดอกเบี้ยจากการชำระล่าช้าได้หรือโจทก์ค้างชำระจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระหนี้อื่นนอกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เมื่อโจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยไม่รับชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่มีเหตุจะอ้างตามกฎหมายจึงไม่ถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์ผู้เช่าซื้อชอบที่จะครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป จำเลยต้องส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ เมื่อจำเลยไม่รับชำระค่าเช่าซื้อและไม่คืนรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทนด้วย ขณะจำเลยยึดรถยนต์คืนนั้นโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยมีสิทธิยึดรถคืนได้ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยึดรถคืนแสดงว่าจำเลยไม่ยอมผ่อนผันให้โจทก์อีกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการใช้รถ แม้โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายวันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถยนต์คืนได้อีก
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทนด้วย ขณะจำเลยยึดรถยนต์คืนนั้นโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยมีสิทธิยึดรถคืนได้ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยึดรถคืนแสดงว่าจำเลยไม่ยอมผ่อนผันให้โจทก์อีกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการใช้รถ แม้โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายวันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถยนต์คืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบอกเลิกสัญญาซื้อขายจากการขายทอดตลาด: การพิจารณาความล่าช้าในการโอนกรรมสิทธิ์และผลกระทบต่อผู้ซื้อ
ข้อเท็จจริงตามคำร้องไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้แจ้งความประสงค์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะเข้าสู้ราคาและซื้อที่ดินว่าจะนำที่ดินไปพัฒนาเพื่อแสวงหากำไรเมื่อใด อย่างไร ซึ่งจะทำให้เห็นว่าการได้รับโอนที่ดินล่าช้าจะทำให้ผู้ร้องเสียประโยชน์ในเชิงธุรกิจถึงขนาดว่าที่ดินนั้นหมดประโยชน์แก่ผู้ร้อง กรณีไม่อาจถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับรู้เรื่องดังกล่าว
การขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลนั้นบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 388 ที่จะถือว่าการซื้อขายจะเป็นผลสำเร็จก็แต่ด้วยมีการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ดำเนินการขายทอดตลาดและคดีในชั้นที่ อ. ร้องคัดค้านการขายทอดตลาดศาลมีคำสั่งยกคำร้อง หาได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันจะทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องกลายเป็นพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 ไม่
การขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ผู้สู้ราคาจะพ้นความผูกพันในราคาที่ตนสู้แต่ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้น หรือมีการถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการขายทอดตลาด แต่กรณีของผู้ร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องเสนอราคาสู้สูงสุดและเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้จากการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจยกบทบัญญัติดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 514 ขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้หลุดพ้นจากความผูกพันหรือบอกเลิกสัญญาได้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลนั้นบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 388 ที่จะถือว่าการซื้อขายจะเป็นผลสำเร็จก็แต่ด้วยมีการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ดำเนินการขายทอดตลาดและคดีในชั้นที่ อ. ร้องคัดค้านการขายทอดตลาดศาลมีคำสั่งยกคำร้อง หาได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันจะทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องกลายเป็นพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 ไม่
การขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ผู้สู้ราคาจะพ้นความผูกพันในราคาที่ตนสู้แต่ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้น หรือมีการถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการขายทอดตลาด แต่กรณีของผู้ร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องเสนอราคาสู้สูงสุดและเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้จากการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจยกบทบัญญัติดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 514 ขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้หลุดพ้นจากความผูกพันหรือบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีคัดค้าน
ผู้ร้องไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะเข้าสู้ราคาว่าจะนำที่ดินไปพัฒนาเพื่อแสวงหากำไรเมื่อใด อย่างไร ซึ่งจะทำให้เห็นว่าการได้รับโอนที่ดินล่าช้าจะทำให้ผู้ร้องเสียประโยชน์ในเชิงธุรกิจถึงขนาดว่าที่ดินนั้นหมดประโยชน์แก่ผู้ร้อง จึงไม่อาจถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับรู้โดยปริยาย ทั้งการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ซื้อทรัพย์สินอาจยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 ที่จะถือว่าการซื้อขายจะเป็นผลสำเร็จก็แต่ด้วยมีการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่ดำเนินการขายทอดตลาด ทั้งคดีในชั้นที่ อ.ร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ศาลก็มีคำสั่งยกคำร้อง มิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันจะทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ร้องกลายเป็นพ้นวิสัย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอมัดจำคืน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 514 บัญญัติให้ผู้สู้ราคาในการขายทอดตลาดพ้นความผูกพันในราคาที่ตนสู้แต่ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้น หรือมีการถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการขายทอดตลาดผู้สู้ราคาก็พ้นความผูกพันแต่ขณะที่ถอนนั้นดุจกัน แต่ผู้ร้องสู้ราคาสูงสุดและเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้จากการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความผูกพันได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 514 บัญญัติให้ผู้สู้ราคาในการขายทอดตลาดพ้นความผูกพันในราคาที่ตนสู้แต่ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้น หรือมีการถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการขายทอดตลาดผู้สู้ราคาก็พ้นความผูกพันแต่ขณะที่ถอนนั้นดุจกัน แต่ผู้ร้องสู้ราคาสูงสุดและเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้จากการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความผูกพันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินบ้านสร้างไม่เสร็จ จำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่มีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จไว้ แต่จำเลยผู้จะขายจะต้องก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ภายในเวลาอันสมควร เมื่อนับจากวันที่ทำสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเป็นเวลาประมาณ 3 ปี 5 เดือน และจำเลยรับเงินที่โจทก์ผ่อนชำระตามสัญญาไปครบถ้วนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี 3 เดือน แต่จำเลยยังมิได้ลงมือก่อสร้างบ้านเลย ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
เหตุที่จำเลยสร้างบ้านให้แก่โจทก์ไม่ได้เป็นเพราะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผิดสัญญากับจำเลยโดยไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่จำเลยตามสัญญา เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยเฉพาะ ไม่ใช่เหตุที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ได้
โจทก์ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์เบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบแล้ว
จำเลยจดทะเบียนสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจำเลยอยู่แห่งหนึ่ง แต่ตามใบเสร็จรับเงินชั่วคราวที่จำเลยออกให้โจทก์ได้ระบุที่ตั้งที่ทำการจำเลยอยู่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่ง และที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลยถือเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 69 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังสำนักงานโครงการซึ่งเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งได้
เหตุที่จำเลยสร้างบ้านให้แก่โจทก์ไม่ได้เป็นเพราะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผิดสัญญากับจำเลยโดยไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่จำเลยตามสัญญา เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยเฉพาะ ไม่ใช่เหตุที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ได้
โจทก์ไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์เบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยชอบแล้ว
จำเลยจดทะเบียนสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจำเลยอยู่แห่งหนึ่ง แต่ตามใบเสร็จรับเงินชั่วคราวที่จำเลยออกให้โจทก์ได้ระบุที่ตั้งที่ทำการจำเลยอยู่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่ง และที่ตั้งสำนักงานโครงการจำเลยถือเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 69 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังสำนักงานโครงการซึ่งเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งได้