พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรโชกทรัพย์และทำร้ายร่างกายเพื่อบังคับให้ลงนามในสัญญากู้เงิน ถือเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยที่ 1 ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายเพื่อบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายจำต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาซื้อขาย การที่จำเลยที่ 2พูดกับผู้เสียหายว่า คิดจะโกงหรืออย่ามาเล่นกับฉันนะ ในขณะที่จำเลยที่ 1กระชากคอเสื้อผู้เสียหายอยู่และต่อมาจำเลยที่ 1 ต่อยที่บริเวณหางคิ้วซ้ายผู้เสียหายจนบาดเจ็บเลือดออกและพูดกับผู้เสียหายว่าให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน มิฉะนั้นจะเจ็บตัวอีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงิน สัญญากู้เงินก่อให้เกิดสิทธิในหนี้ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินแก่ผู้ให้กู้จึงเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่ผู้ให้กู้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งสัญญากู้เงินจากการข่มขืนใจโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายให้ยอมลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้กู้เงินจากจำเลยที่ 2 อันเป็นการได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินจึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดฐานกรรโชกและทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุก, ข่มขืนใจ, หน่วงเหนี่ยว, กรณีอดีตคู่สมรสบังคับขู่เข็ญ
ขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมไม่ได้เป็นภรรยาน้อยของจำเลยเพราะต่างสมัครใจเลิกร้างขาดจากการอยู่กินฉันสามีภรรยากันแล้ว การที่จำเลยถืออาวุธปืนเข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมพูดในลักษณะขู่เข็ญว่าจำเลยจะกลับมาอยู่กินกับโจทก์ร่วมให้ได้ ใช้มือจิกผมโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมไม่ได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปจึงเป็นการเข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ร่วมออกไปจากห้องนอนรวมระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อบังคับให้โจทก์ร่วมยอมให้จำเลยอยู่กินกับโจทก์ร่วมดังเดิมจนกระทั่งมีคนมาเกลี้ยกล่อม จำเลยจึงยอมปล่อยให้โจทก์ร่วมออกมาจากห้องนอนการกระทำของจำเลยเป็นการพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ๆ และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวมานี้เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและบังคับขู่เข็ญเพื่อให้ค้าประเวณี
จำเลยที่ 3, ที่ 4 ร่วมกับพวกอีกหลายคนทำการหน่วงเหนี่ยวกักขัง และบังคับขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสี่ให้ค้าประเวณี ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก กระทงหนึ่ง และผิดตาม มาตรา 283 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้ามนุษย์และหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อบังคับขู่เข็ญให้ค้าประเวณี
จำเลยที่ 3, ที่ 4 ร่วมกับพวกอีกหลายคนทำการหน่วงเหนี่ยวกักขัง และบังคับขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสี่ให้ค้าประเวณี ย่อมเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310วรรคแรกกระทงหนึ่งและผิดตาม มาตรา 283 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบข้อต่อสู้เรื่องถูกบังคับขู่เข็ญ จำเลยต้องพิสูจน์สถานการณ์ที่ตนตกอยู่
หน้าที่นำสืบ ผู้ใดต่อสู้ว่าตนจะไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายแล้ว มีหน้าที่ต้องนำสืบให้สมข้อต่อสู้คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่ากระทำไปโดยถูกบังคับขู่เข็ญตามมาตรา 49 นั้นเป็นหน้าที่จำเลยต้องนำสืบให้ได้ความว่า จำเลยอยู่ในที่บังคับแลใต้อำนาจที่ไม่สามารถจะขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงได้ แลไม่มีเจตนาชั่วร้ายกระทำไปเพื่อป้องกันตัวเองหรือหรือผู้อื่นให้พ้นภยัน่ตรายอันร้ายแรงซึ่งจำเลยมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเองแลจะป้องกันด้วยอุบานอย่างอื่นก็ไม่ได้ แลในข้อเหล่านี้ได้ทำไปโดยไม่เกินกว่าเหตุด้วย จำเลยจึงจะได้ยกเว้นโทษตาม ม.49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8484-8485/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างใช้กลยุทธ์หลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการจัดทำเอกสารให้เป็นลาออก แต่มีพฤติการณ์บังคับขู่เข็ญ
พฤติการณ์ของจำเลยที่มิได้มีการประกาศโครงการและผลตอบแทนเชิญชวนหาผู้สมัครใจลาออกให้ลูกจ้างทั้งระบบทราบ แต่ใช้วิธีกำหนดตัวบุคคลลูกจ้างเป้าหมาย คือ โจทก์ทั้งสอง ซึ่งมีเงินค่าตอบแทนการจ้างสูงให้ออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไว้ล่วงหน้า มีการจัดเตรียมเอกสารใบลาออก เงินค่าตอบแทนการลาออกของโจทก์ทั้งสองไว้ก่อนจะเชิญโจทก์ทั้งสองมาเจรจาขอให้ลาออก หลังให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในใบลาออกแล้วยังแจ้งการสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ทั้งสองในครั้งแรกว่าเป็นการเลิกจ้าง พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง โดยพยายามหลีกเลี่ยงเบี่ยงเบนจัดทำหลักฐานทางเอกสารให้เป็นเรื่องของการลาออกโดยอาศัยอำนาจต่อรองของนายจ้างที่เหนือกว่า
การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างหรือลูกจ้างแสดงเจตนาลาออก ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้แสดงเจตนาจะต้องทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้โจทก์ทั้งสองจะรับว่าได้ลงชื่อในใบลาออกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าที่โจทก์ทั้งสองยอมลงชื่อในใบลาออกนั้นเพราะถูกจำเลยบังคับขู่เข็ญ ที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานบุคคลประกอบเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ แล้วฟังว่าโจทก์ทั้งสองไม่สมัครใจลงชื่อในใบลาออก เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว
แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มีความจำเป็นต้องลดรายจ่าย จึงมีโครงการปรับโครงสร้างองค์กรลดจำนวนลูกจ้างลง ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นปัญหาทางธุรกิจโดยรวมที่มีเหตุผลความจำเป็นสามารถอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากมีการแจ้งเหตุผลความจำเป็น กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้าง การคัดเลือกลูกจ้างที่จะให้ออกไว้แน่นอนและเป็นธรรม ประกาศให้ลูกจ้างทราบทั่วกัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการดังกล่าวโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศแจ้งเหตุผลความจำเป็น หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกลูกจ้างให้ทราบโดยทั่วกัน ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคัดเลือกโจทก์ทั้งสองเป็นเป้าหมายในการให้ออกจากงาน นอกเหนือไปจากการที่โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนการจ้างสูง ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างหรือลูกจ้างแสดงเจตนาลาออก ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้แสดงเจตนาจะต้องทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้โจทก์ทั้งสองจะรับว่าได้ลงชื่อในใบลาออกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าที่โจทก์ทั้งสองยอมลงชื่อในใบลาออกนั้นเพราะถูกจำเลยบังคับขู่เข็ญ ที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานบุคคลประกอบเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ แล้วฟังว่าโจทก์ทั้งสองไม่สมัครใจลงชื่อในใบลาออก เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว
แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มีความจำเป็นต้องลดรายจ่าย จึงมีโครงการปรับโครงสร้างองค์กรลดจำนวนลูกจ้างลง ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นปัญหาทางธุรกิจโดยรวมที่มีเหตุผลความจำเป็นสามารถอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากมีการแจ้งเหตุผลความจำเป็น กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้าง การคัดเลือกลูกจ้างที่จะให้ออกไว้แน่นอนและเป็นธรรม ประกาศให้ลูกจ้างทราบทั่วกัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการดังกล่าวโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศแจ้งเหตุผลความจำเป็น หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกลูกจ้างให้ทราบโดยทั่วกัน ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคัดเลือกโจทก์ทั้งสองเป็นเป้าหมายในการให้ออกจากงาน นอกเหนือไปจากการที่โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนการจ้างสูง ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม