พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ต้องบังคับจากทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ก่อน หากไม่พอจึงบังคับจากจำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนจนครบ ฉะนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 689
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้ตามจำนวนความเสียหายที่แท้จริง ไม่ใช่จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกัน
จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันว่าบริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญาและหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 และ 378 ที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญาตามสัญญาจ้าง แต่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และมิใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันโดยไม่คำนึงว่าบริษัท ล. จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่ก่อน เพราะจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การบังคับชำระหนี้เมื่อโอนทรัพย์สินแล้ว และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 7 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จึงไม่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, อัตราดอกเบี้ย, การปรับเปลี่ยนดอกเบี้ย, กรอบกฎหมาย, การบังคับชำระหนี้
หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นขอตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะและแม้จะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่างราย การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเดียวกัน และข้อจำกัดการยึดซ้ำ
โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกัน บุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการบังคับชำระหนี้
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ย่อมมีผลทำให้คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนของศาลล้มละลายกลางเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการที่ให้จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการอันเป็นความผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งเกิดขึ้นเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วยสิทธิและหน้าที่ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมกลับเป็นไปดังเดิมที่มีกันอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป
ส่วนที่โจทก์ได้ดำเนินการชำระหนี้ตามแผนครบถ้วนแล้วนั้น เมื่อการชำระหนี้เป็นเพียงบางส่วนของจำนวนหนี้ที่จำเลยขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ จึงหาทำให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปไม่ การชำระหนี้บางส่วนดังกล่าว มีผลเพียงทำให้หนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยเป็นอันระงับไปเท่าจำนวนที่จำเลยได้รับชำระ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดต่อจำเลยต่อไป
การที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สภาวะพักการชำระหนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาย่อมสิ้นสุดลง ข้อห้ามมิให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่บังคับชำระหนี้ได้เองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (7) ย่อมสิ้นสุดลงด้วย เมื่อโจทก์มีหนี้ภาษีอากรค้างที่ต้องชำระแก่จำเลยอยู่ จำเลยย่อมมีอำนาจในการบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระตามอำนาจที่มีอยู่ตาม ป. รัษฎากร ต่อไป โดยผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ชอบด้วยแผนและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยถอนการยึดและอายัดและส่งมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่โจทก์เพื่อนำไปจัดการตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นอันระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองและเจ้าหนี้สามัญ การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองและทรัพย์สินอื่น
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์โดยจำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันการชำระหนี้ สัญญาจำนองมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าโจทก์บังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด จำเลยยอมรับผิดใช้เงินที่ยังขาดจำนวนนั้นให้แก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงเป็นทั้งเจ้าหนี้สามัญผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้และเป็นเจ้าหนี้จำนองผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญโดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำนองด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องโดยใช้สิทธิทั้งสองประการดังกล่าวและมีคำขอท้ายฟ้องว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยและทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินสุทธิมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน อันเป็นการฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องเต็มตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ซึ่งแม้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอท้ายฟ้อง แต่การบังคับคดีโจทก์ก็ยังต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 284 ที่ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้โจทก์จนครบถ้วน ซึ่งมีผลเป็นการกำหนดขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้โดยให้โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย อันเป็นการพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิในการบังคับชำระหนี้น้อยกว่าสิทธิที่มีอยู่ ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องมาแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลหลีกเลี่ยงภาษี การโอนทรัพย์สินเพื่อพ้นจากการบังคับชำระหนี้ และอายุความฟ้องคดี
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2539 จำนวน 18,779 บาท ซึ่งต่ำกว่าการประเมินของพนักงานโจทก์ถึง 8,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 1 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมไม่รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน 2,817,028.21 บาท เมื่อโจทก์มีหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 ไปให้ถ้อยคำเพื่อการไต่สวนตรวจสอบจำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าเจ้าพนักงานจะต้องประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ใหม่ และจำเลยที่ 1 ต้องมีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้หนี้ดังกล่าวจะยังไม่ทราบจำนวนแน่นอนจากการประเมินของเจ้าพนักงาน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ที่ดินดังกล่าวพ้นจากการถูกยึดบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้
กรมสรรพากรโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อนิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน จึงไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อนิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดการบังคับชำระหนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจพิพากษาเกินจำนวนที่ระบุ แม้หนี้จริงจะมากกว่า
แม้หนี้ทั้งห้ารายการ ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคำนวณผิดพลาดก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องดังกล่าว ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท เท่าที่ศาลเห็นชัดแจ้งแล้วว่า จำนวนหนี้ในคดีนี้ที่รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ก็ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวได้เพราะเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในกรอบแห่งกระบวนพิจารณามิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ให้สิทธิไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหรือชำระไม่ครบและโจทก์บังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้วไม่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 จนครบถ้วนได้ จึงหาจำต้องระบุว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 อีกด้วยไม่