พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าและสัญญาซื้อขายที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก. ที่ถึงที่สุดคือไม่ยอมให้โจทก์เช่าทำนาในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่อไปตามเดิม และไม่ยอมขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ตามที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย การที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.จังหวัด ทั้งสองกรณีนี้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้อยู่แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
คชก.จังหวัดพิจิตรมีคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดให้โจทก์เช่าทำนาในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่อไปตามเดิมและให้จำเลยขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ในราคา150,000บาทภายใน60วันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดพิจิตรมีคำวินิจฉัยดังนี้เมื่อจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดพิจิตรโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดพิจิตรได้ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินการเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา58วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.ที่ถึงที่สุดคือไม่ยอมให้โจทก์เช่าทำนาในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่อไปตามเดิมและไม่ยอมขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ตามที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.จังหวัดทั้งสองกรณีนี้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา58วรรคหนึ่งบัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดได้อยู่แล้วโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์มิได้ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด
ฟ้องโจทก์เป็นการร้องขอต่อศาลให้บังคับกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของ คชก. ตำบลหรือ คชก.จังหวัด ซึ่งพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม และตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น เมื่อ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 54วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้เช่านาต้องใช้สิทธิซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้ หรือภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ผู้ให้เช่านาโอนมานั้นแต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2528 และโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องเมื่อประมาณเดือนมกราคม 2532หลังจากนั้นจึงดำเนินการยื่นเรื่องราวต่อ คชก.ตำบล เพื่อวินิจฉัยข้อพิพาท เมื่อวันที่19 มกราคม 2532 ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ที่ชี้ขาดให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบแม้จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล เกินกำหนดเวลาตามมาตรา 56 และจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ศาลก็ต้องปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบลตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบพ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 ดังกล่าวและเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ได้กล่าวแก้ในคำแก้ฎีกาด้วย ศาลฎีกาวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)