พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและการบังคับสิทธิเรียกร้องนอกเหนืออายุความที่กำหนด
สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กำหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อกัน หากฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การผิดสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดว่า หากนำรถที่เช่าซื้อออกขายไม่ได้ราคาเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดก็ตามแต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายต่าง ๆ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วย การที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อและนำเงินที่ได้มารวมกับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์แล้ว ก็ยังต่ำกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเช่าซื้อ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับและกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป เช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลาย แต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญา ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป เช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลาย แต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญา ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยกเลิกเฉพาะส่วนของสัญญาจากข้อตกลงประนีประนอม และการบังคับตามสิทธิที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ค้างค่าเช่าซื้องวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายอีก 7,700 บาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ให้เช่าซื้อ โจทก์ไปร้องอำเภอ อำเภอทำการเปรียบเทียบคู่กรณีตกลงกันว่า เฉพาะบริเวณที่จำเลยปลูกบ้าน เนื้อที่ 200 ตารางวา โจทก์ยอมให้แก่จำเลยโดยตีราคา 7,700 บาท เท่าที่โจทก์ยังค้างค่าเช่าซื้อ ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อหาได้ถูกยกเลิกไปหมดโดยสัญญาประนีประนอมซึ่งทำกันที่อำเภอไม่สัญญาเช่าซื้อจึงนับว่าถูกยกเลิกไปเฉพาะแต่ในส่วนที่ดิน 200 ตารางวาบริเวณที่จำเลยปลูกบ้านเท่านั้น สัญญาเช่าซื้อสำหรับที่ดินนอกบริเวณที่ปลูกบ้าน 200 ตารางวาก็คงมีต่อไป และถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบหมดแล้ว โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่โจทก์ได้
แม้โจทก์จะฟ้องขอบังคับเอาเต็มตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธิขอบังคับเอาได้แต่เพียงบางส่วน ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เท่าที่โจทก์มีสิทธินั้นได้และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้สิทธิในที่ดินตกไปเป็นของโจทก์โดยให้โจทก์กันที่ดินคืนให้แก่จำเลย 200 ตารางวา ณ ที่บริเวณที่จำเลยปลูกบ้านนั้นถ้าเกิดขัดข้องขึ้นว่าจะกันเขตให้กันตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันได้ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่เป็นการหมดหลักเกณฑ์ที่จะทำการบังคับกันไม่ได้ดังทำนองที่จำเลยว่ามาส่วนข้อที่ว่าที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่ามีอยู่ 1 ไร่เศษ แต่ปรากฏขึ้นในภายหลังว่ามีอยู่ถึง 2 ไร่ 2งาน มากกว่าที่กล่าวในสัญญานั้น ก็เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้องได้บ่งถึงการเช่าซื้อที่ดินทั้งแปลงตามที่ลงไว้ใน ส.ค.1 เลขที่ 13 ส่วนที่ลงไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นการประมาณเอาตามที่เข้าใจว่ามีหาใช่มุ่งหมายไปในทางว่าจำเลยได้แบ่งขายที่แปลงนั้นให้โจทก์ไปราว 1 ไร่เศษเท่านั้นไม่
แม้โจทก์จะฟ้องขอบังคับเอาเต็มตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธิขอบังคับเอาได้แต่เพียงบางส่วน ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เท่าที่โจทก์มีสิทธินั้นได้และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้สิทธิในที่ดินตกไปเป็นของโจทก์โดยให้โจทก์กันที่ดินคืนให้แก่จำเลย 200 ตารางวา ณ ที่บริเวณที่จำเลยปลูกบ้านนั้นถ้าเกิดขัดข้องขึ้นว่าจะกันเขตให้กันตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันได้ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่เป็นการหมดหลักเกณฑ์ที่จะทำการบังคับกันไม่ได้ดังทำนองที่จำเลยว่ามาส่วนข้อที่ว่าที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่ามีอยู่ 1 ไร่เศษ แต่ปรากฏขึ้นในภายหลังว่ามีอยู่ถึง 2 ไร่ 2งาน มากกว่าที่กล่าวในสัญญานั้น ก็เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้องได้บ่งถึงการเช่าซื้อที่ดินทั้งแปลงตามที่ลงไว้ใน ส.ค.1 เลขที่ 13 ส่วนที่ลงไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นการประมาณเอาตามที่เข้าใจว่ามีหาใช่มุ่งหมายไปในทางว่าจำเลยได้แบ่งขายที่แปลงนั้นให้โจทก์ไปราว 1 ไร่เศษเท่านั้นไม่