พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของทายาทในการบังคับแบ่งทรัพย์มรดก แม้ผู้จัดการมรดกทำสัญญาจะขายทรัพย์สินไปแล้ว
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเพียงทำสัญญาจะขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับมรดกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งมรดกและการบังคับแบ่งทรัพย์สินหลังจากการครอบครองร่วมกัน
โจทก์จำเลยได้เจรจากันเรื่องทรัพย์มรดกของบิดามารดา ฝ่ายจำเลยเสนอให้โคแก่โจทก์ 3 ตัวเท่านั้น ฝ่ายโจทก์ยืนยันจะขอแบ่งที่นาด้วย และโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ในบันทึก เช่นนี้ ถือว่าบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ที่ดิน เมื่อโจทก์ได้รับโคไป 3 ตัว ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอแบ่งทรัพย์สินอื่นจากจำเลยได้เว้นแต่ที่ดินซึ่งเดิมเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดา และบ้านซึ่งเป็นส่วนควบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473-1474/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของทายาทโดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามมาตรา 1381 และอำนาจศาลในการบังคับแบ่งทรัพย์มรดก
จ.บุตรอาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของบิดามารดาครั้นบิดาตาย ที่ดินแปลงนั้นในส่วนที่เป็นสินสมรส ของบิดาก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทซึ่งมี จ.รวมอยู่ด้วย การที่จ. อยู่ในที่ดินมรดกนับแต่นั้นมา ได้ชื่อว่าเป็นการอยู่การครอบครองของทายาท ในทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกันตามมาตรา 1748 แล้ว โดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทายาทของเจ้ามรดกมีโจทก์จำเลยกับคนอื่น รวม 11 คนเป็นทายาท คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามส่วน หากขัดข้องก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้น ให้จำเลยใช้เงินแก่โจกท์ ทั้ง 4 คน ๆ ละ 17,433.33 บาท ดังนี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เอาที่ดินและบ้านอันเป็นมรดกมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน และว่าถ้าแบ่งไม่ตกลงก็ให้ประมูลกันเอง หรือขายทอดตลาดทรัพย์ที่จะต้องแบ่ง
(โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ก็ได้)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทายาทของเจ้ามรดกมีโจทก์จำเลยกับคนอื่น รวม 11 คนเป็นทายาท คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามส่วน หากขัดข้องก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้น ให้จำเลยใช้เงินแก่โจกท์ ทั้ง 4 คน ๆ ละ 17,433.33 บาท ดังนี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เอาที่ดินและบ้านอันเป็นมรดกมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน และว่าถ้าแบ่งไม่ตกลงก็ให้ประมูลกันเอง หรือขายทอดตลาดทรัพย์ที่จะต้องแบ่ง
(โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ก็ได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม การแบ่งทรัพย์สิน และอำนาจศาลในการบังคับแบ่ง
เมื่อคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยได้ความชัดแล้วว่าทั้งสองฝ่ายเป็นของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และจำเลยก็ยอมให้แบ่ง ครั้นถึงวันเปรียบเทียบต่างแถลงจะแบ่งเอาตรงนั้นเอาตรงนี้อ้างว่าเคยปกครองมา ดังนี้ ถือว่าที่แถลงดังนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เมื่อแบ่งกันไม่ตกลงศาลมีอำนาจให้แบ่งโดยประมูลราคาหรือขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364