คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บัญชีธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผ่านบัญชีธนาคาร: การนำสืบหลักฐานการชำระหนี้และการยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่น
การที่จำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมจากโจทก์เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้โดยไม่ได้นิติกรรมโดยตรงต่อโจทก์ ไม่อาจมีการกระทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตามมาตรา 321 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงนำสืบดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิเรียกร้องคืนและอายุความ
พนักงานของธนาคารโจทก์บันทึกรายการในบัญชีเงินฝากของจำเลยซ้ำกัน2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีของจำเลยสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไป เมื่อจำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์มิได้รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมานั้นเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์และโจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้าตรวจสอบเอกสารทางการเงิน ทำให้ไม่ทราบความเสียหายจากบัญชีธนาคาร
โจทก์ไปขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสินพบว่าสมุดฝากเงินของโจทก์ซึ่งเก็บไว้ที่ธนาคารมีเงินเหลืออยู่ น้อยกว่าที่ฝากไว้จริง และตรวจสอบสมุดฝากเงินของ ฉ. ภริยาโจทก์ และสมุดฝากเงินของ จ. บุตรโจทก์ก็พบว่าเงินในสมุดฝากเงินเหลือน้อยผิดปกติเช่นกัน โจทก์จึงขอตรวจสอบ ใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากทั้งสามบัญชีดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคารออมสินปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ตรวจสอบใบถอนเงินตามที่โจทก์ขอตามสิทธิและความจำเป็น อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ว่าด้วยวินัยของของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 13 โดยมิชอบ เพื่อให้โจทก์ภริยาและบุตรเสียหาย เพราะโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ภริยาและบุตรถูกคนร้ายปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีหรือไม่เพียงใด และไม่อาจเอาผิดกับผู้รับผิดชอบของธนาคารออมสินได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีธนาคาร และผลผูกพันหนี้ร่วม การบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ชีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีชีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1,ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีธนาคาร และผลผูกพันหนี้ร่วมของลูกหนี้หลายคน
โจทก์และจำเลยที่1มีข้อตกลงกันว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ชีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง6ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีชีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่3ที่4และที่7ถึงที่10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10จะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมของพระภิกษุและทรัพย์สินในบัญชีธนาคาร: ข้อจำกัดและผลทางกฎหมายเมื่อพินัยกรรมไม่ครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมด
พินัยกรรมของพระภิกษุ ส.ผู้มรณณะ ระบุไว้ว่า บรรดาเงินที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีขึ้นหรือได้มาในอนาคตซึ่งได้ฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ข.และ ค. เงินทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยกให้แก่จำเลยศิษย์ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏสมุดฝากเงินบัญชีเลขที่ 5106 และ 5459ที่พิพาทซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะ และพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นก่อนที่ผู้มรณะจะมีเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงเงินในบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนี้
จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมเตือนให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรม
ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย)ที่รักเวลานี้พ่อหลวง(พระภิกษุ ส.) ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมอเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลัง ฯลฯ จดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินธนาคารแม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในใจว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงินแสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุ เงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามป.พ.พ.มาตรา 1623

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด: สิทธิธนาคารในการปฏิเสธจ่ายเช็ค, ปิดบัญชี, และหักหนี้
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 11 มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชีจะรับทราบหรือไม่ก็ตาม ข้อ 16 มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ 17 มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้ออุทธรณ์ใหม่นอกเหนือคำให้การเดิม และการพิสูจน์หนี้ตามบัญชีธนาคาร ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเฉพาะข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาเงินกู้และตั๋วสัญญาใช้เงินแตกต่างจากคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว ตามคำฟ้องได้ระบุยอดหนี้และรายละเอียดเกี่ยวกับการฝากเงินถอนเงินและการคิดดอกเบี้ย ปรากฏตามสำเนาบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องเมื่อจำเลยเห็นว่ารายการใดไม่ถูกต้อง ชอบที่จะให้การโต้แย้งไว้ว่าการคิดคำนวณรายการดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะเหตุใดและถามค้านพยานโจทก์ในข้อนั้นไว้ เมื่อสืบพยาน จำเลยก็นำสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ เมื่อจำเลยนำสืบพยานหักล้างพยานโจทก์ไม่ได้ก็ดีไม่ได้นำสืบพยานหักล้างก็ดี ศาลชอบที่จะฟังตามพยานหลักฐานโจทก์ว่าโจทก์คิดคำนวณบัญชียอดหนี้ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินในบัญชีธนาคาร: เจ้าของบัญชีมีสิทธิเหนือเงินจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นเป็นของผู้อื่น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ามีการโอนเงินจำนวนหนึ่งจากธนาคารในเมืองฮ่องกงมาเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยในธนาคารผู้คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นอย่างอื่น ในเบื้องต้นต้องฟังว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยผู้เป็นเจ้าของบัญชี เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวมิใช่เป็นของจำเลยแต่เป็นของผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยส่งมาชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านแทนจำเลย ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ฟังได้ตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีธนาคารภายหลังข้อตกลงเดิมสิ้นสุด และการกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ
โจทก์จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย บรรดาทรัพย์สินต่างๆรวมทั้งองค์เซียนแป๊ะโค้วย่อมตกเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ เงินที่ประชาชนบริจาคในการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วและนำไปฝากไว้ในบัญชีนั้นถือว่าเป็นเงินที่บริจาคให้แก่องค์เซียนแป๊ะโค้ว จึงตกเป็นของโจทก์ผู้เป็นเจ้าขององค์เซียนแป๊ะโค้ว เงินในบัญชีซึ่งเป็นเงินรายได้จากการจัดงานฉลององค์เซียนแป๊ะโค้วนั้น คู่ความทราบในคดีก่อนแล้วว่าได้มีการตกลงกันให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารโดยมีเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้ตามมติของคณะกรรมการจัดงาน และให้จำเลยที่2 ที่ 3 และบ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในเช็คเพื่อเบิกจ่ายเงินจากบัญชี ดังนั้นการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้เรื่อยไปจนกว่าคดีจะเสร็จหรือถึงที่สุด หาใช่ข้อตกลงนี้เป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลพิพากษาซึ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260 ไม่ เมื่อระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 3 ซึ่งพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าเขตลาดกระบังแล้ว กลับมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินตามข้อตกลงเดิมทั้งหมด แล้วให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 คนใดคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีแทน โดยไม่บอกกล่าวแถลงศาลก่อนหรือแจ้งบอกกล่าวแก่คู่ความในคดีนั้นซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง นอกจากจะเป็นการไม่ถูกต้องแล้วยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจเบิกถอนเพราะขัดกับข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงทำละเมิดต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 3 มีส่วนทำละเมิดดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีโดยควรรู้ดีว่าตนไม่มีอำนาจและเบิกถอนก่อนที่จำเลยที่ 3 จะมีหนังสือแจ้งธนาคารขอเปลี่ยนแปลงยกเลิกกรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ตามลำพัง
of 2