พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์และคำขอให้บังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากในคดีชำระหนี้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงป่าไม้เขตแพร่ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่จำเลยที่ 1 ยืมมานั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เอง กรณีเช่นนี้ถือว่ามิใช่เป็นการยืม แต่เป็นการนำทรัพย์สินของตนเองไปใช้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่มิได้ยกข้อนี้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ กลับยกข้ออ้างขึ้นใหม่ว่ารถยนต์บรรทุกดังกล่าวไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันไฟป่า ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสี่มิได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยนั้นเป็นการไม่ชอบอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันมิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยืมหรือเช่ามาใช้เป็นการชั่วคราว จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินในบัญชี การคิดค่าธรรมเนียมเมื่ออายัดสำเร็จ และสิทธิในการอายัดเงินที่เกิดขึ้นใหม่
โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,347,571.19 บาท แต่ในบัญชีของจำเลยที่ 2 มีเงินเพียง 490 บาท โจทก์ขอรับเงิน 490 บาท พร้อมแถลงไม่ติดใจอายัดเงินในบัญชีของจำเลยที่ 2 การที่ธนาคารส่งมอบเงินตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 จำนวน 490 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและแจ้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามเพิ่มเติมว่าบัญชีของจำเลยที่ 2 ที่ใช้กับธนาคารมียอดเป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์ขอให้อายัดมีจำนวนเงินเพียง 490 บาท ตามที่ธนาคารส่งมอบแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้เงินจำนวน 490 บาท นั้นจะไม่ครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม และหากต่อมาปรากฏว่ามีเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี ความรับผิดในค่าธรรมเนียมการถอนอายัดร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ขออายัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. ตาราง 5 ข้อ 4 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอรับเงินจำนวน 490 บาท ที่อายัดได้นั้น โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 3.5 ตามตาราง 5 ข้อ 2 ของจำนวนเงิน 490 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิในการติดตามเอาคืน
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารโจทก์ สัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้จำเลยเพียงเท่าจำนวนเงินที่โจทก์รับฝากไว้จากจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 การที่พนักงานของโจทก์บันทึกรายการในบัญชีของจำเลยซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยอาศัยความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานโจทก์ เป็นการกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์ เงินที่จำเลยเบิกถอนไปจากโจทก์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีเงินฝาก: สิทธิของเจ้าหนี้ vs. หน้าที่ของลูกหนี้ในการรักษาผลประโยชน์ตนเอง
การที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ ย่อมแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงให้มีการ ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หักกลบลบกัน โดยมีการ หักทอนบัญชีกันอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า หลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด บัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องโดยจำเลยที่ 1 ยังคงใช้เช็คฝากถอนเงินจากบัญชีตลอดมาอีกประมาณ 50 ครั้ง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้นำหนี้อันเกิดจากสัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาหักทอนบัญชีกันในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันด้วยแต่อย่างใด แม้ในสัญญาทรัสต์รีซีทที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์จะมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด ยินยอมให้โจทก์หักจากบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ได้ทันที ก็เป็นการแสดงเจตนาให้สิทธิแก่โจทก์ แต่มิใช่ข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องปฏิบัติ การที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ก็เพื่อความสะดวกและความคล่องตัวในการประกอบกิจการค้าขายของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ มิได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งมาชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเสียในเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด หรือภายในระยะเวลาอันสมควร ย่อมเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ยังมีเงินฝากในบัญชีให้เดินสะพัดต่อไป ทำให้เกิดสภาพคล่องและธุรกิจของจำเลยที่ 1 ไม่หยุดชะงักเพราะขาดเงินสดหมุนเวียน ซึ่งหากธุรกิจของ จำเลยที่ 1 ต้องหยุดชะงักก็จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าการที่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องเสียดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท อีกต่อไป การที่โจทก์มิได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนั้น แม้จะเล็งเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น แต่ก็เป็นลักษณะของผลประโยชน์โดยตรงจากการประกอบธุรกิจกิจการธนาคารพาณิชย์ตาม วัตถุประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว จำเลยที่ 1 เองก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเช่นกัน ย่อมต้องทราบ ว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันของตนมีอยู่เท่าใด และโจทก์ได้หักเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่ได้หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันภายในระยะเวลาอันสมควรและเงินในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิถอนเงินจากบัญชีนั้นมาชำระหนี้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์โดยเบิกถอนเงินในบัญชีของตนเรื่อยมาและมิได้ดำเนินการอย่างใด ๆ เมื่อได้รับหนังสือของโจทก์ที่ทวงถามให้ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่รักษาผลประโยชน์ของตนเอง กรณีจึงไม่อาจถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ไม่หักเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้รายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมอย่างเคร่งครัด การเรียกเก็บเงินผิดบัญชีถือเป็นการละเมิด
เช็คขีดคร่อมจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 994 วรรคหนึ่ง ดังนี้ เมื่อเช็คพิพาทมีลักษณะพิเศษเช่นนั้น ธนาคารจำเลยที่ 6 ผู้รับเช็คมาเรียกเก็บเงินก็จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายโดยเคร่งครัด กล่าวคือจะต้องเรียกเก็บเงินตามเช็คเพื่อเข้าบัญชีเงินฝากของบริษัท ท. หรือบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้รับเงินตามเช็คเท่านั้น จะเรียกเก็บเงินให้แก่ธนาคารจำเลยที่ 6 เพื่อเข้าบัญชีบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทอื่นที่มิใช่ผู้รับเงินตามเช็คนั้นไม่ได้เพราะเป็นการปฏิบัติที่ผิดทั้งกฎหมายและระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 6 จะอ้างเพียงว่ากรรมการบริหารของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัท ท. และบริษัท อ. เป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกันจึงอนุโลมให้หาได้ไม่ ดังนั้น จึงต้องถือว่าธนาคารจำเลยที่ 6 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
แม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความว่าการที่ธนาคารจำเลยที่ 6 เรียกเก็บเงินตามเช็คเข้าบัญชีของบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทอื่น โดยไม่เรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของบริษัท ท. หรือบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้รับเงินตามที่ระบุในเช็คดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง แต่การที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าธนาคารจำเลยที่ 6 บังอาจเรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมซึ่งขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออกและกำหนดห้ามโอนเปลี่ยนมือไว้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 จนได้รับเงินไป การกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ย่อมแปลความหมายได้ว่าการกระทำของธนาคารจำเลยที่ 6 เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับเงินตามเช็คดังกล่าวและโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะโจทก์ที่ 1 ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์ที่ 1 อันเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายแก่ทรัพย์สินแล้ว ข้อที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาว่าการกระทำดังกล่าวของธนาคารจำเลยที่ 6 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
แม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความว่าการที่ธนาคารจำเลยที่ 6 เรียกเก็บเงินตามเช็คเข้าบัญชีของบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทอื่น โดยไม่เรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของบริษัท ท. หรือบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้รับเงินตามที่ระบุในเช็คดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง แต่การที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าธนาคารจำเลยที่ 6 บังอาจเรียกเก็บเงินตามเช็คขีดคร่อมซึ่งขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออกและกำหนดห้ามโอนเปลี่ยนมือไว้ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 จนได้รับเงินไป การกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ย่อมแปลความหมายได้ว่าการกระทำของธนาคารจำเลยที่ 6 เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ของโจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับเงินตามเช็คดังกล่าวและโจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายเพราะโจทก์ที่ 1 ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์ที่ 1 อันเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ต้องเสียหายแก่ทรัพย์สินแล้ว ข้อที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาว่าการกระทำดังกล่าวของธนาคารจำเลยที่ 6 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิตและการชำระหนี้ผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิต การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าว ตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด เป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น และเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิตและการหักชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นรับมาแต่เพียงว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามมาตรา 238,243(3) ประกอบมาตรา 247
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาขอสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่ โจทก์จ่ายแทนไปโดยให้โจทก์หักทอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลง แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวนแต่ปรากฏว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตการที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และยอมให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเท่านั้นและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการที่โจทก์ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่โจทก์ ได้ออกทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มิใช่ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการมอบสิทธิถอนเงินจากบัญชี และการรับชำระหนี้บางส่วนโดยเจ้าหนี้
ล.ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์รวม 275,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 1ค้ำประกัน และ ล.ได้มอบสมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้ไว้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปถอนเงินเดือนของ ล.จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โจทก์ถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติรวม 345,000 บาท จึงต้องนำเงินจำนวนนี้หักชำระหนี้จากเงินที่ ล.กู้จากโจทก์จำนวน 275,000 บาท แต่เงินที่โจทก์ถอนมาทั้งหมดอันจะนำไปหักชำระหนี้นั้นเป็นการชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้ความว่าคงเหลือต้นเงินเท่าใด และโจทก์ก็อ้างว่า ล.ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์เลยดังนั้นจึงกำหนดต้นเงินตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การยอมรับว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้บางส่วนไปแล้วเป็นเงิน 210,000 บาท
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
การที่ ล.มอบสิทธิในการถอนเงินโดยมอบบัตรถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติถือว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ก็รับฟังได้ว่า ล.ได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์บางส่วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีเงินฝากและขอบเขตการฟ้องร้อง: หนี้ของ ซ. กับสิทธิโจทก์
โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันหนี้จำเลยโดยมีข้อตกลงให้โจทก์หักหนี้จำเลยจากบัญชีเงินฝากจำเลยได้ แต่หนี้ที่ฟ้องเป็นหนี้ของ ซ. ส่วนหนี้ที่ให้หักจากบัญชีเงินฝากเป็นหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้อื่น และโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนนั้นไปแล้ว แต่เมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินประกันหนี้ของ ซ.จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาจำนอง เมื่อคู่สัญญามีหนี้ต่อกันและตกลงให้หักบัญชีเงินฝากได้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยผู้จำนองจะต้องร่วมรับผิดกับ ซ. โจทก์จึงมีสิทธิหักบัญชีเงินฝากของจำเลย
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ขอบังคับจำนอง แต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลย แต่เป็นหนี้ของ ซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลย แต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ ขอบังคับจำนอง แต่เมื่อฟังได้ว่ามิใช่หนี้ของจำเลย แต่เป็นหนี้ของ ซ. แม้จะตรงตามข้อสัญญาของโจทก์กับจำเลย แต่ก็ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ศาลไม่อาจบังคับให้ตามที่โจทก์ประสงค์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีการมอบฉันทะให้หักเงินจากบัญชีเงินฝาก และการยอมรับการชำระหนี้รูปแบบอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 30,000 บาทจำเลยนำสืบว่า ในการกู้ยืมนี้จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนและผ่อนชำระให้โจทก์แล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเป็นเงินต้นจำนวน 600 บาทและดอกเบี้ยจำนวน 900 บาท เป็นเวลา 44 เดือน รวมเป็นเงินต้นจำนวน2,400 บาท เป็นดอกเบี้ยจำนวน 39,600 บาท โดยนำสืบถึงวิธีการใช้เงินให้แก่โจทก์ว่า จำเลยเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยปฏิบัติงานประจำที่ชุมสายโทรศัพท์จังหวัดขอนแก่น ในการรับเงินเดือนหรือเงินอื่นใดจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยจะรับผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทยจำกัด สาขาขอนแก่น และจำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวพร้อมทั้งได้มอบฉันทะให้โจทก์มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อหักชำระหนี้แก่โจทก์ได้เดือนละ1,500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนสิงหาคม 2530 ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบการใช้เงินต้นโดยวิธีดังกล่าวข้างต้นจำเลยก็ชอบที่จะทำได้ เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้