พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบัตรประจำตัวประชาชน โดยจำเลยมีสัญชาติไทย องค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาฟ้องที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ให้เป็น ผู้ใด ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์ขอให้ริบของกลางที่จำเลยใช้กระทำความผิด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดีอื่นที่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยถูกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องสั่งริบของกลางในคดีนี้อีก
โจทก์ขอให้ริบของกลางที่จำเลยใช้กระทำความผิด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดีอื่นที่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยถูกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องสั่งริบของกลางในคดีนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดแจ้งเท็จ และการลงโทษความผิดหลายกระทงตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน และการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งความอันเป็นเท็จว่า พ. เป็นคนมีสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม การกระทำของจำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 (1) ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ที่มีระวางโทษเบากว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาช่วยเหลือบุคคลต่างกัน ถือเป็นความผิดหลายกรรม แม้กระทำวันเดียวกัน
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ ว. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน โดยกรอกข้อความในแบบคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนและจำเลยนำแบบคำขอดังกล่าวเสนอ ส. พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเพื่อให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการให้แก่ ง. และ ก. เป็นการกระทำผิดโดยมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือบุคคลสองคนให้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแม้จะกระทำในวันเดียวกัน สถานที่เดียวกันแต่เจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม มิใช่กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อทางราชการ
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการที่ออกให้โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตนของบุคคล การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความเท็จว่าตนชื่อ ป. และบัตรประจำตัวประชาชนของตนสูญหายไป เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสารราชการและจำเลยที่ 2 รับรองต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยที่ 1 คือ ป. และบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 1 สูญหายจริงพร้อมทั้งลงลายมือชื่อในช่องผู้รับรอง และจำเลยทั้งสองยังร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นแสดงต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอมีบัตรใหม่ อันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น นับว่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางราชการ และอาจสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้สุจริตทั่วไปที่จำเลยที่ 1 อาจนำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ไปใช้แอบอ้างอีกด้วย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ที่ใช้ในภายหลังให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 โดยขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดจาก "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" (ยื่นคำขอมีบัตร?) ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยผู้มีสัญชาติไทยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตร ประจำตัวประชาชนใหม่ ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตร ประจำตัวประชาชนใหม่ ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน และผลต่อการฟ้องคดีอาญา
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดในคดีนี้ได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น"ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของ น. นั้น ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการด้วยการตัดต่อภาพถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชน มีเจตนาให้หลงเชื่อว่าเป็นของจริง
จำเลยนำภาพถ่ายของ ม. มาตัดให้พอดีกับภาพถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนของ น. ที่แท้จริงแล้วนำภาพถ่ายที่ตัดแล้วปิดทับภาพถ่ายของ น. ที่ติดอยู่ในบัตรประจำตัวประชาชนของ น. ดังกล่าวแล้วถ่ายภาพบัตรและนำภาพถ่ายดังกล่าวอัดพลาสติกมอบให้ ม.โดยคิดค่าทำ15บาทถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้พบเห็นบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวหลงเชื่อว่าภาพถ่ายของม. ในบัตรประจำตัวประชาชนที่ถ่ายมาเป็นภาพถ่ายของ น.โดยมีวันเดือนปีเกิดและภูมิลำเนาตามที่ระบุไว้ในบัตรดังกล่าวเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานสำนักทะเบียนบัตรประชาชนกระทรวงมหาดไทยได้ทำขึ้นจึงเป็นเอกสารราชการตามนิยามของประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(8) แม้บัตรประชาชนที่จำเลยทำปลอมขึ้นนั้นจะเป็นเพียงภาพถ่ายเอกสารแต่การกระทำของจำเลยมีลักษณะเพื่อการใช้อย่างบัตรประจำตัวประชาชนฉบับที่แท้จริงจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรกอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นคดีที่คู่ความฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงและใช้บัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอม
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานสำนักงานทะเบียนบัตรประชาชนกระทรวงมหาดไทยได้ทำขึ้น บัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเอกสารราชการตามบทนิยามของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8)จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 กับพวกร่วมกันนำบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นสำหรับเป็นบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย มาทำปลอมให้หลงเชื่อว่าเป็นบัตรประจำตัวประชาชนของ ป. ที่แท้จริงแล้วสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนที่ปลอมแล้วเอาไปใช้อ้างต่อโจทก์ร่วม จึงถือได้ว่าสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนปลอมนั้นเป็นเอกสารราชการปลอมนั่นเอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 กับพวกจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90