พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด บันทึกคำให้การฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นการสละมรดกที่มีผลผูกพัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 1750 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและช่วยเหลือให้คนร้ายหลบหนี ศาลรับฟังพยานหลักฐานประกอบบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนได้
แม้โจทก์ไม่ได้ตัวพยานในชั้นสอบสวนมาเบิกความในชั้นพิจารณาก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้รับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของพยานไว้ไม่ถูกต้อง จึงรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คนร้ายเดินเข้าไปชำระค่าโดยสารให้แก่ผู้ตาย แล้วได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที เกิดเหตุแล้วคนร้ายกระโดดขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่มาจอดเทียบ โดยจำเลยเตรียมรถจักรยานยนต์ขับตามรถยนต์โดยสารสองแถวที่ผู้ตายขับมาเพื่อรับคนร้ายหลบหนี อันเป็นการวางแผนโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งรวมถึงแผนในการหลบหนีด้วย รับฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับคนร้ายที่หลบหนีกระทำความผิดตามป.อ. มาตรา 289 (4), 83
ธนบัตรของกลางที่คนร้ายส่งให้แก่ผู้ตายเป็นค่าโดยสารก่อนที่ผู้ตายถูกยิง กับหมวกนิรภัยที่จำเลยสวมขณะเกิดเหตุอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดว่าจำเลยมีเจตนาสวมเพื่อปกปิดใบหน้าในการกระทำผิด ธนบัตรและหมวกนิรภัยของกลางจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) โดยตรง
คนร้ายเดินเข้าไปชำระค่าโดยสารให้แก่ผู้ตาย แล้วได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันที เกิดเหตุแล้วคนร้ายกระโดดขึ้นซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่มาจอดเทียบ โดยจำเลยเตรียมรถจักรยานยนต์ขับตามรถยนต์โดยสารสองแถวที่ผู้ตายขับมาเพื่อรับคนร้ายหลบหนี อันเป็นการวางแผนโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งรวมถึงแผนในการหลบหนีด้วย รับฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับคนร้ายที่หลบหนีกระทำความผิดตามป.อ. มาตรา 289 (4), 83
ธนบัตรของกลางที่คนร้ายส่งให้แก่ผู้ตายเป็นค่าโดยสารก่อนที่ผู้ตายถูกยิง กับหมวกนิรภัยที่จำเลยสวมขณะเกิดเหตุอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดว่าจำเลยมีเจตนาสวมเพื่อปกปิดใบหน้าในการกระทำผิด ธนบัตรและหมวกนิรภัยของกลางจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่รายละเอียดบันทึกคำให้การไม่ตรงกับความเป็นจริง และการยื่นคำร้องฝากขังที่ไม่ถูกต้อง ไม่ทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
บันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนลง วัน เดือน ปี ไม่ตรงกับวันที่ทำการสอบสวนตามความเป็นจริง มีการเติมข้อความว่าพยานที่ถูกสอบปากคำเป็นพยานคนที่เท่าไร ไม่มีคำว่าสอบปากคำพยานต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร และมีการเติมข้อความว่าสอบปากคำต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดในการสอบสวน หากไม่มีก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังจำเลยต่อ โดยอ้างว่ายังเหลือพยานที่จะสอบอีกหลายปาก แต่ความจริงพนักงานสอบสวนสอบปากคำไปหมดแล้ว เป็นเรื่องรายละเอียด การยื่นคำร้องที่ไม่ตรงต่อความจริงเช่นนี้ ไม่ทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของบันทึกคำให้การและการยื่นคำร้องฝากขังที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
แม้บันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนจะลง วัน เดือน ปีไม่ตรงกับวันที่ทำการสอบสวนตามความเป็นจริง หรือมีการเติมข้อความว่าพยานที่ถูกสอบปากคำเป็นพยานคนที่เท่าไร หรือไม่มีคำว่าสอบปากคำพยานต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร หรือเติมข้อความว่าสอบปากคำต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไรก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดในการสอบสวนเท่านั้น หากไม่มีข้อความดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปเนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกรายละเอียดดังกล่าวลงไปในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีลงโทษต่อไปแล้ว ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังจำเลยต่อ โดยอ้างว่ายังเหลือพยานที่จะสอบอีกหลายปาก แต่ความจริงพนักงานสอบสวนสอบปากคำไปหมดแล้วก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น การยื่นคำร้องที่ไม่ตรงต่อความจริงเช่นนี้ หาทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญา: การมีบุคคลอื่นร่วมฟัง และการแก้ไขบันทึกคำให้การไม่ทำให้การสอบสวนเสีย
ในการสอบสวนคดีอาญา เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมาย หรือผิดหน้าที่อย่างใด ลำพังแต่มีบุคคลอื่นนั่งฟังการสอบสวนพยานอยู่ด้วย หาทำให้การสอบสวนนั้นเสียไปไม่
พยานให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนอ่านบันทึกให้ฟังทั้งสองครั้ง อ่านบันทึกครั้งแรกให้ฟังแล้วพูดว่า เหตุผลแค่นี้ ไม่พอจะฆ่ากันตายได้ จึงฉีกบันทึกทิ้งแล้ว ทำขึ้นใหม่ ไม่ปรากฏว่าข้อความในบันทึกคำให้การครั้งที่ 2 ไม่ตรงกับปากคำที่พยานให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวน หรือปากคำนั้นพยานไม่ได้ให้ด้วยความสมัครใจ หรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่นจะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
พยานให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนอ่านบันทึกให้ฟังทั้งสองครั้ง อ่านบันทึกครั้งแรกให้ฟังแล้วพูดว่า เหตุผลแค่นี้ ไม่พอจะฆ่ากันตายได้ จึงฉีกบันทึกทิ้งแล้ว ทำขึ้นใหม่ ไม่ปรากฏว่าข้อความในบันทึกคำให้การครั้งที่ 2 ไม่ตรงกับปากคำที่พยานให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวน หรือปากคำนั้นพยานไม่ได้ให้ด้วยความสมัครใจ หรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่นจะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: พยานบอกเล่า & บันทึกคำให้การชั้นสอบสวน - ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาว่าบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. พยานโจทก์รับฟังไม่ได้เพราะเป็นพยานบอกเล่าและเป็นคำบอกเล่าของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบันทึกคำรับสารภาพต้องแจ้งสิทธิผู้ต้องทราบก่อนใช้เป็นหลักฐาน
บันทึกของคำร้องที่จะใช้ยันผู้ต้องหาในชั้นพิจารณาของศาลได้นั้นจะต้องให้ผู้ต้องหาทราบเสียก่อนว่า ถ้อยคำที่บันทึกอาจใช้ยื่นผู้ต้องหาในการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยาน การใช้บันทึกคำให้การแทนการเบิกความต่อหน้าศาล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การเบิกความเป็นพยานต่อศาลนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 113 ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามมิให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา ซึ่งเห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลและคู่ความฝ่ายอื่นได้มีโอกาสรับฟังคำเบิกความของพยานโดยตรง ให้พยานเล่าเหตุการณ์ที่ตนประสบมาด้วยตนเองและจากความทรงจำของพยานเอง มิให้มีโอกาสเสริมแต่งเรื่องราวให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เสนอคำพยานด้วยวิธีอื่น ในคดีอาญาซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 230/2 บัญญัติข้อยกเว้นดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ ในกรณีที่ไม่อาจสืบพยานตามวิธีการที่บัญญัติในมาตรา 230/1 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วยการให้พยานที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ.ดังกล่าวเบิกความด้วยวิธีส่งบันทึกถ้อยคำแทนการมาเบิกความด้วยวาจาได้ ดังนั้น การที่ทนายโจทก์ทั้งสองเสนอบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้วแถลงขอให้ศาลใช้เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ แม้ทนายจำเลยจะแถลงรับว่าให้ถือเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ก็ไม่อาจถือว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ บันทึกดังกล่าวคงมีลักษณะเป็นคำแถลงของพยานที่ศาลรับไว้เท่านั้น ส่วนจะนำมารับฟังได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานหลักฐาน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่ได้อ้างส่งบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองเป็นพยานเพียงลำพัง เพราะพยานดังกล่าวได้มาเบิกความต่อหน้าศาลโดยเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน และเบิกความตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามติงด้วย แม้ถือไม่ได้ว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง แต่ก็คงมีผลเพียงว่าทนายโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจซักถามพยานของตนก่อนเท่านั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว