คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บำรุงรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลย 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้ทรัพย์สินเสียหาย แม้บำรุงรักษาดีแล้ว
การไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 2จัดให้มีขึ้นเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนเกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ ผู้ต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 นำสืบว่าได้ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประมูลป่าไม้: หน้าที่บำรุงรักษาหลังสิ้นสุดสัญญา & การส่งมอบอุปกรณ์ดับไฟ
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักทั้ง 5 แปลง ข้อ 17 วรรคหนึ่งระบุว่า"ตลอดระยะเวลาสัมปทานนี้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ปลูกต้นไม้บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานด้วนค่าใช้จ่ายของผู้รับสัมปทาน ทั้งนี้ตามวิธีการที่กรมป่าไม้ทั้งหมด รวมทั้งชนิดของต้นไม้ที่กำหนดให้ปลูกด้วย" ดังนั้น ก่อนสัมปทานจะสิ้นสุดลง จำเลยจึงต้องมีภาระที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานดังกล่าว แม้ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานทำไม้ของจำเลย โจทก์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดสิ้นสุดลงทั้งแปลง คำสั่งดังกล่าวคงมีผลเพียงทำให้สิทธิที่จำเลยจะทำไม้ได้ต่อไปภายในอายุสัมปทานสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ จำเลย ยังมีภาระหน้าที่จะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าทดแทนในส่วนที่จำเลยได้ทำไม้ไปแล้วก่อนเวลาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ 17 วรรคหนึ่ง ตลอดระยะเวลาสัมปทาน ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่บำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่ขึ้นอยู่แล้วในป่าสัมปทานแต่ต่อมาในระหว่างอายุสัมปทานโจทก์ได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลงและกรมป่าไม้ได้มีหนังสือห้ามไม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้อีกต่อไป และให้ขนเครื่องมือเครื่องจักรออกจากป่าในเขตสัมปทานสัมปทานการทำไม้ของจำเลยจึงสิ้นสุดลง ดังนั้น ภาระในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกและที่มีอยู่แล้วในป่าสัมปทานและบำรุงรักษาป่าสัมปทานของจำเลยจึงหมดไป ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 20 ระบุว่า "ภายในเขตป่าสัมปทานและป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้แผ้วถางป่า หรือทำการก่นสร้างป่าหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่าหรือทำอันตรายหรือจับสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องและในกรณีที่มีผู้ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ผู้รับสัมปทานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบทันที" ตามเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมี หน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ถึงขนาดว่า หากมีราษฎรบุกรุกป่าหรือมีไฟไหม้ป่า จำเลยจะต้องรับผิดชอบด้วยความเสียหายของสวนป่าที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ของจำเลยส่วนใหญ่เกิดจากราษฎรบุกรุกและถูกไฟไหม้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้หวงห้ามธรรมดานอกจากไม้สักข้อ 19 ระบุว่า "ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ดำเนินการป้องกันไฟสำหรับป่าสัมปทาน และป่าที่มีการปลูกและบำรุงรักษาตามข้อ 17 วรรคสอง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนด" และกรมป่าไม้ได้กำหนดวิธี การป้องกันไฟป่าไว้ ซึ่งตามข้อกำหนดวิธีการป้องกันไฟป่า ข้อ 9 กำหนดว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ผู้รับ สัมปทานยินยอมยกหกดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้ เป็นของกรมป่าไม้ ดังนั้นเมื่อต่อมาวันที่ 17 มกราคม 2532 โจทก์ได้มีคำสั่งที่ 32/2532 ให้สัมปทานทำไม้หวงห้ามทุกชนิดทุกสัมปทานสิ้นสุดลงทั้งแปลง จำเลยจึงต้องส่งมอบหอดูไฟและอุปกรณ์ในการดับไฟทั้งหมดให้กรมป่าไม้ จำเลยได้สร้างหอดูไฟให้แล้ว 2 หอ และสัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รื้อถอน หอดูไฟดังกล่าวไปหรือทำให้เสียหายหรือบุบสลายแก่หอดูไฟดังกล่าวจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาค่าหอดูไฟให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยึดสมุดคู่ฝากเงินของผู้รับสัมปทาน เมื่อค้างชำระค่าปลูกป่าและบำรุงรักษาตามสัญญา
โจทก์ได้นำเงินค่าปลูกป่าและบำรุงป่าไปฝากธนาคารในนามโจทก์ตามคำสั่งของกรมป่าไม้จำเลยที่2และโจทก์นำสมุดคู่ฝากเงินไปเก็บรักษาไว้ที่ป่าไม้จังหวัดน่านจำเลยที่4ซึ่งตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานนั้นในการขอรับสมุดคู่ฝากเงินโจทก์ต้องเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้ป่าไม้เขตแพร่จำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่3แล้วจึงขอรับสมุดคู่ฝากเงินไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานเมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้วโจทก์ไม่เข้าไปปลูกป่าจำเลยที่2เข้าไปตรวจสอบเนื้อที่ที่โจทก์ค้างปลูกและค้างบำรุงรักษาป่าเป็นเงิน7,919,438.76บาทซึ่งปรากฏว่าสัมปทานทั้ง5ฉบับข้อ17และข้อ19กำหนดให้โจทก์ปลูกป่าและบำรุงป่าป้องกันไฟป่าและบำรุงรักษาต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แล้วภายในระยะเวลาสัมปทานที่จำเลยที่2กำหนดด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เองหลังจากโจทก์ได้รับสัมปทานทั้ง5ฉบับได้มีการทำบันทึกต่อท้ายสัมปทานโจทก์ชำระค่าปลูกป่าแล้วเพราะหากไม่ชำระโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ชำระค่าภาคหลวงโจทก์ได้รับสัมปทานตั้งแต่ปี2516โจทก์ลงมือตัดไม้ตั้งแต่ปี2517การปลูกป่าเมื่อปลูกแล้วจะต้องบำรุงรักษาต่อไปอีก5ปีเป็นเช่นนี้เรื่อยไปทุกครั้งที่มีการปลูกป่าประกอบกับบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3ผูกพันโจทก์กล่าวคือโจทก์จะต้องปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวโดยเสนอแผนการปฏิบัติงานโดยย่อให้จำเลยที่3ทราบเมื่อได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3แล้วจึงขอรับสมุดคู่ฝากเงินไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานได้อีกประการหนึ่งตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวข้อ4ระบุด้วยว่าถ้าผู้รับสัมปทานฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดไปจากบันทึกที่ให้ไว้นี้ให้ถือว่าผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัมปทานข้อ17และยินยอมให้ผู้ให้สัมปทานสั่งพักราชการทำไม้ไว้หรือสั่งเพิกถอนสัมปทานทำไม้เสียก็ได้และผู้รับสัมปทานยินยอมนำเงินค่าใช้จ่ายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าที่คำนวณได้จากไม้ที่ทำออกและตรวจวัดตีตราเก็บเงินค่าภาคหลวงแล้วส่งมอบให้จำเลยที่2หรือผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2จนครบถ้วนด้วยดังนั้นแม้สัมปทานถูกเพิกถอนแล้วหากโจทก์ไม่ดำเนินการปลูกป่าจำเลยที่2มีสิทธิที่จะบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้เมื่อโจทก์ค้างปลูกป่าและค้างค่าบำรุงป่าเป็นเงิน7,919,438.76บาทโจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานข้อ3จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิที่จะยึดสมุดคู่ฝากเงินของโจทก์ไว้เพื่อปฏิบัติตามบันทึกต่อท้ายสัมปทานดังกล่าวข้อ4ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมที่ดินจัดสรร: สิทธิใช้ทางสัญจร vs. การบำรุงรักษา และการโต้แย้งสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์
การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1831 ออกเป็นแปลงย่อยปลูกสร้างตึกแถวขายถึง 50 แปลง อีกทั้งยังจัดให้มีการทำถนนออกสู่ทางสาธารณะโดยจัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างตึกแถวขายเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อตึกแถวเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ที่ดินที่โจทก์เว้นไว้เป็นถนนจึงเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น ต้องตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามนัยแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30วรรคแรก และข้อ 32 ดังนั้น ถนนหน้าตึกแถวของจำเลยและผู้ที่ซื้อตึกแถวรายอื่น ๆย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อตึกแถวทุกห้อง
จำเลยคงมีสิทธิใช้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกได้เท่านั้นส่วนโจทก์ในฐานะเป็นผู้จัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคนั้นให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป เมื่อจำเลยก่อสร้างกันสาดและวางของขายบนถนนย่อมทำให้ถนนอันเป็นสาธารณูปโภคนั้นเสื่อมสภาพ เสื่อมประโยชน์การใช้ทางสัญจร ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดสรรและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในถนนพิพาทนั้นด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการบำรุงรักษาสะพาน ทำให้ผู้ขับขี่ได้รับความเสียหาย
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช. ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตร มาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า 5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 (3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: สิทธิการบำรุงรักษาทางภารจำยอม และขอบเขตการกระทำที่ไม่เกินภาระ
โจทก์จำเลยยอมรับกันว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์แต่ตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินและบ้านของจำเลยและมารดาจำเลยจำเลยทำทางระบายน้ำในถนนพิพาทเพื่อมิให้น้ำท่วมถนนและไม่ให้น้ำบนถนนไหลเข้าบ้านจำเลยคงต่อสู้กันเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิทำท่อระบายน้ำบนถนนพิพาทหรือไม่เช่นนี้คงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมหรือไม่เท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นเป็นการนอกเหนือไปจากที่คู่ความตกลงต่อสู้กันไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ภาระจำยอมและการบำรุงรักษา: การกระทำเพื่อรักษาภาระจำยอมไม่ใช่ภาระเพิ่มขึ้น
โจทก์จำเลยยอมรับกันว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์แต่ตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินและบ้านของจำเลยและมารดาจำเลยจำเลยทำทางระบายน้ำในถนนพิพาทเพื่อมิให้น้ำท่วมถนนและไม่ให้น้ำบนถนนไหลเข้าบ้านจำเลยคงต่อสู้กันเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิทำท่อระบายน้ำบนถนนพิพาทหรือไม่เช่นนี้คงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นเป็นการนอกเหนือไปจากที่คู่ความตกลงต่อสู้กันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่เข้าข่ายสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ แม้มีการปรับปรุงอาคาร เพราะเป็นหน้าที่บำรุงรักษาตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายมาด้วยทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาท จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมา ก็ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีมีทุนทรัพย์12,500 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยเช่าอาคารพิพาทจากเจ้าของเดิม มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์อาคารพิพาทแล้ว จำเลยก็คงเช่าต่อมาตามกำหนดเวลาเดิม ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเช่าต่ออีก 5 ปีโดยให้จำเลยทาสีอาคารถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้น ทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่ ก่อนครบกำหนดด้วยทุนทรัพย์ของจำเลย จำเลยได้จัดการทำตามที่ตกลงสิ้นเงิน 12,500 บาท จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนโจทก์ขับไล่จำเลยไม่ได้และต้องจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยต่อไปอีก 5 ปีข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวแล้วไม่มีลักษณะที่จะทำให้การเช่าอาคารพิพาทกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเพราะอาคารพิพาทมีมาแต่เดิม จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างขึ้นใหม่ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เช่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารพิพาทอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 553 แม้จำเลยจะได้ทาสีอาคาร ถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้นทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่จริง ก็เพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่ของจำเลยเอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการก่อสร้าง - ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความปลอดภัยและบำรุงรักษาสภาพถนนระหว่างก่อสร้าง
บริษัทจำเลยที่ 3 ทำการก่อสร้างถนนโดยได้ทำสัญญารับจ้างกับกรมทางหลวงตามรายการต่อท้ายสัญญาจ้าง ปรากฏว่าถนนที่ซ่อมและทำใหม่ตามแบบกว้าง 12 เมตร เป็นผิวจราจร 7เมตร เป็นไหล่ถนนข้างละ 2 เมตรครึ่ง บริษัทจำเลยที่ 3 ต้องซ่อมแซมทั้งผิวจราจรและต้องเอาดินลูกรังถมไหล่ถนนให้สูงขึ้นด้วย และเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่อาคารที่อยู่ใกล้เคียง หรือบุคคลภายนอกเนื่องจากการกระทำใดๆ ในงานนี้ ต้องให้การจราจรผ่านไปมาได้โดยสะดวก และจะต้องทำและติดตั้งป้ายจราจรเครื่องหมาย ไม้กั้น และสิ่งประกอบอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจรตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างจนกระทั่งงานเสร็จ แต่บริษัทจำเลยที่ 3 ไม่ติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนผู้ขับขี่รถให้ทราบว่ามีการก่อสร้างซ่อมถนนอยู่ข้างหน้า ไม่รดน้ำไหล่ถนนที่ถมด้วยดินลูกรังซึ่งตนซ่อมแซมอยู่ เป็นเหตุให้เกิดฝุ่นตลบ อันเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้าง สวนทางกับรถโจทก์ในถนนตรงนั้น ขับแซงรถคันอื่นเข้าชนรถโจทก์ด้วยความประมาท ทำให้รถโจทก์เสียหาย บริษัทจำเลยที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำต่อโจทก์ด้วย จะอ้างว่าไม่จำเป็นต้องรดน้ำไหล่ถนนให้ชุ่มอยู่เสมอ เพราะการรดน้ำก็เพื่อจะทำให้ดินแน่นเท่านั้น ไม่ใช่ถึงขนาดไม่ให้มีฝุ่น ดังนี้ หาได้ไม่
of 2