คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา แม้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล และสิทธิการฟ้องแย้งของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ธ. ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมาย แต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยของบุตรจากมารดาชาวญวนอพยพ และบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จะเกิดในราชอาณาจักรไทยและได้สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน และเป็นคนญวนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศคณะปฏิวัติ: กรณีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งให้ปลัดเทศบาลเมือง จำเลยที่ 5 จดข้อความลงในทะเบียนบ้านว่า โจทก์ทั้งหกเป็นญวนอพยพ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 1 และปลัดกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนี้ แม้การถอนสัญชาติไทยจะเป็นผลของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มิใช่เป็นการกระทำของจำเลย แต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยเพิกถอนสัญชาติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของนาง ด. คนสัญชาติไทย เกิดกับ อ. คนสัญชาติญวน โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ ม. คนสัญชาติญวน ส่วนโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 เกิดกับ น.โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เพราะ อ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทย โดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าว ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ที่ 1 มารดาของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่คนต่างด้าว และ ม. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2) อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ถูกถอนสัญชาติไทย กรณีเช่นเดียวกับ โจทก์ที่ 3 ถึงโจทก์ที่ 6 ที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าว จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยโดยประกาศคณะปฏิวัติ บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กระทบสัญชาติ
โจทก์ฟ้องว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ออกคำสั่งให้ปลัดเทศบาลจำเลยที่5จดข้อความลงในทะเบียนบ้านว่าโจทก์ทั้งหกเป็นญวนอพยพโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่1และปลัดกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่3และที่5ต้องรับผิดร่วมด้วยดังนี้แม้การถอนสัญชาติไทยจะเป็นผลของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยแต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยเพิกถอนสัญชาติโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่1เป็นบุตรของนางด. คนสัญชาติไทยเกิดกับอ.คนสัญชาติญวนโจทก์ที่2เป็นบุตรของโจทก์ที่1เกิดกับม.คนสัญชาติญวนส่วนโจทก์ที่3ถึงที่6เป็นบุตรของโจทก์ที่1เกิดกับน. โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้โจทก์ที่1ไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337เพราะอ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่1บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ที่1มารดาของโจทก์ที่2ไม่ใช่คนต่างด้าวและม.ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่2กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ข้อ1(2)อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่2ถูกถอนสัญชาติไทยกรณีเช่นเดียวกับโจทก์ที่3ถึงโจทก์ที่6ที่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าวจึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย/พินัยกรรม/เจตนาผู้ตาย
ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย และไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยากันก่อนมีการบังคับใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ซึ่งใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับรองแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็ตาม แต่ผลของบทกฎหมายดังกล่าวเพียงแต่ให้ถือว่าผู้ตายซึ่งเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิคัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฎีกาโต้แย้งว่าพินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด จึงใช้บังคับไม่ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้าน จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และ ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้าย ก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก