พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนฯ แม้ฟ้องต่างกรรมต่างวาระและองค์ประกอบความผิดต่างกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดคดีนี้เนื้อที่ 20 ไร่เศษเป็นที่ดินแปลงเดียวกับคดีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 100 ไร่ คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่แล้วยึดถือครอบครองที่ดินแปลงเดียวกันเนื้อที่ 20 ไร่เศษ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4, 5, 6, 14 และ 31 อันเป็นการฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน แม้กรรมต่างวาระ แต่หากเป็นพื้นที่แปลงเดียวกันและองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้างแผ้วถาง ตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่ แล้วยึดถือครอบครองที่ดินเนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งเป็นแปลงเดียวกับคดีก่อนที่มีเนื้อที่ 100 ไร่ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 4,5,6,14 และ 31 อันเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตปฏิรูปที่ดินทำให้การบุกรุกป่าสงวนฯ สิ้นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26(4)ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการะบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินเกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการะบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินเกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีบุกรุกป่าสงวน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษต่ำกว่าขั้นต่ำและให้รอการลงโทษโดยพิจารณาพฤติการณ์
จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง และแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธาร เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ประกอบด้วยมาตรา 31วรรคสอง (3) ซึ่งมาตรา 31 วรรคสอง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงเป็นการลงโทษต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินป่าสงวนและปลูกบ้านอยู่อาศัยมานานแล้ว และปลูกต้นไม้และผลอาสินทำมาหากินซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนเห็นควรให้โอกาสจำเลยได้แก้ไขฟื้นฟูตนเองในสังคมภายนอก การรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยน่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมมากกว่า แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยไม่เหมาะสมก็ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวน: จำเลยไม่มีความผิด หากไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวน แม้เป็นพื้นที่ป่าจริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้าง แผ้วถาง เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริง หากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้าง แผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่ 1 โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 8 ไม่เกิน5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที๋ 8 รู้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 8 จ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าไปตัดถางหญ้าในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยที่ 8 จึงเป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 8อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 8 เป็นผู้ยึดถือครอบครองถางป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ไม่ทราบว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยที่ 8 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 มาถางที่พิพาทโดยเข้าใจว่าที่เกิดเหตุเป็นการปลูกป่าของทางราชการ จึงขาดเจตนากระทำผิด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเชื่อตามคำเบิกความและพยานหลักฐานโจทก์ว่าประชาชนทั่วไปทราบว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และจำเลยที่ 8 ทราบดีว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครรองป่าสงวนแห่งชาติ จึงมีความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่ 8 ที่ว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1, 122 (พ.ศ.2528) คลาดเคลื่อน เพราะหลงเชื่อคำเบิกความของพยานโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดในกฎกระทรวงซึ่งมิได้ระบุว่า หมู่ที่ 5ตำบลระบำ อำเภอลานสัก ตามฟ้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากในอำเภอลานสักคงมีแต่ตำบลล่านสักและตำบลป่าอ้อเท่านั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำความผิดฐานบุกรุกป่าสงวน การขาดเจตนาทำให้ไม่มีความผิดตามฟ้อง และอำนาจศาลในการสั่งให้ผู้อยู่ออก
จำเลยไม่รู้ว่าที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งจำเลยอาศัยอยู่เป็นป่าสงวนการกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานยึดถือครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตราดังกล่าว ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีบุกรุกป่าสงวน การรับสารภาพของผู้ต้องหา และการพิจารณาความชัดเจนของสถานที่เกิดเหตุ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สถานที่เกิดเหตุเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนแนวเขตเพิกถอนปรากฏตามสำเนากฎกระทรวงและภาพถ่ายแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงที่แนบท้ายฟ้อง แม้ตามกฎกระทรวงจะมีการเพิกถอนป่าแม่แตง บางส่วนออกจากการเป็นป่าสงวน ก็ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุ ครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว และเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงเป็นการรับรวมไปถึงว่าสถานที่ที่จำเลยบุกรุกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแล้ว แม้ไม่มีประกาศหรือป้ายเตือน
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไปจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เคยถูกยกฟ้องในคดีก่อน
คดีก่อนจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติเนื้อที่ 30 ไร่เศษ โดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลยตาม ส.ค.1 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยเข้าแผ้วถางบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองท่าเรือเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่เศษ โดยจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย และเมื่อมีการตรวจสอบแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.1 ของจำเลย แต่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยรู้แล้วยังเข้าแผ้วถาง ปลูกต้นมะพร้าว ต้นมะม่วงหิมพานต์ นำเปลือกมะพร้าวไปถมที่ดินและครอบครองตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องคดีนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ