คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุคคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน: การใช้ชื่อเสียงของบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยมิชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" ซึ่งเป็นชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายของสาธารณชน จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับรูปประดิษฐ์ต่าง ๆ ไปจดทะเบียนการค้าเพื่อใช้กับสินค้าลูกฟุตบอลของจำเลยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองนับว่าเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคสอง ในกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังกล่าวอ้างอีกว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" แม้จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในความหมายของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ห้ามมิให้จดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่บุคคลบุกรุกและสิ่งปลูกสร้าง การตีความ "บุคคลใด" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
การฟ้องขับไล่บุลลคใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เป็นการฟ้องขับไล่บุคคลไม่ว่าจะเป็นผู้บุกรุก ผู้เช่า หรือผู้อาศัยที่ไม่มีสิทธิจะอยู่ในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น คำว่าบุคคลใดดังกล่าวจึงหมายถึงบุคคลที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างหรือทรัพย์สินที่บุคคลนั้นเข้าไปก่อสร้างหรือนำเข้าไปไว้ในอสังหาริมทรัพย์หรือการเพาะปลูกใดๆ ด้วยมิได้หมายถึงเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปก่อสร้างกระถางต้นไม้ในที่ดินพิพาทของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไปกับยังขอให้ห้ามมิให้จำเลย และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทอีกต่อไปด้วย จึงเป็นฟ้องที่อยู่ในความหมายของคำว่า "ฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสองแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงหลายรายถือเป็นความผิดหลายกรรม แม้เจตนาเดียวกัน
จำเลยหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการหลอกลวงบุคคลกลุ่มเดียวกัน ด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน และมีการจ่ายเงินให้แก่จำเลยเหมือนกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมรณะก่อนมีคำพิพากษา: คำพิพากษาเรื่องความสามารถของบุคคลเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิจารณาเสียชีวิตก่อน
เมื่อ ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ศาล ศาลชั้นต้น จึง งด อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ ให้ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง และ ถือว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ต่อมา ผู้คัดค้าน โดย นาย ผู้คัดค้าน ยื่นฎีกา พร้อม กับ คำร้องขอ ให้ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ไป แล้ว และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ คดี เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ ผู้คัดค้าน จะ รับมรดก ความ กัน ไม่ได้ เช่นนี้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับสู่สัญชาติเดิมหลังโอนอาณาเขต: การพิจารณาบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญา
หนังสือยืนยันความตกลงด้วยวาจาระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยกับหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 17 พฤศจิกายนค.ศ. 1946 ระบุว่า พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอาศัยอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 9พฤษภาคม ค.ศ. 1941 จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันทีที่การโอนอาณาเขตเสร็จสิ้นลง พลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายคงรักษาสัญชาตินี้ไว้ ความตกลงดังกล่าวไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 คงมีสัญชาติไทยอยู่ต่อไปหากเดินทางออกจากแขวงจำปาศักดิ์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการถาวรโจทก์เป็นผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ไม่ใช่บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย จึงกลับคืนสู่สัญชาติเดิมของโจทก์ในทันทีที่การโอนอาณาเขตจังหวัดนครจำปาศักดิ์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลง โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายในท้องตลาด: สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ซื้อจากบุคคลในตลาด ไม่ถือเป็นการซื้อจากท้องตลาด
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้น จำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ทีี่นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาด จำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายในท้องตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคล
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดหาใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นไม่เพราะการซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำทรัพย์มาขายมิใช่เป็นการซื้อจากสถานที่ซึ่งมีร้านค้าเสนอขายแก่คนทั่วไปหรือมิใช่ซื้อจากที่ชุมชนแห่งการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เยาว์เป็นโจทก์ร่วม – ความสามารถของบุคคล – ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยมิได้ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมจัดการแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ-อาญา มาตรา 5 (1) นั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาและคดีไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่เปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานความเสียหายจากทรัพย์สิน: การกระทำของบุคคลไม่ใช่ความเสียหายจากตัวทรัพย์
กรณีที่เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 นั้น จะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์นั้นโดยตรง แม้กระแสไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพ แต่ตามฟ้องโจทก์อ้างเหตุละเมิดเพราะจำเลยทั้งสองไม่ตัดกระแส-ไฟฟ้าทำให้ไม่ปลอดภัยต่อการดับเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงลุกลามไหม้บ้านโจทก์ ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคล หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์คือกระแสไฟฟ้าไม่โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
of 4