คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุคคลทั่วไป

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนจากสัญญาระหว่างผู้ร้องกับสมาคมฯ และจำเลย ย่อมมีผลผูกพันบุคคลทั่วไป
ข้อตกลงที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันระหว่างคู่สัญญากำหนดให้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลง ตกเป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ร้อง โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้ง 22 รายการ ที่โจทก์นำยึดถูกกำหนดโดยกฎหมายว่าจะต้องปฏิบัติตามแบบของนิติกรรมเสียก่อนจึงจะมีผลให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้อง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเข้าทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ และจำเลยโดยผู้ร้องแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ยอมรับทรัพย์สินตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งมีทรัพย์สินทั้ง 22 รายการที่โจทก์นำยึดรวมอยู่ด้วย ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว และทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ที่จะใช้ยันได้ต่อบุคคลทั่วไป
จำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง และไม่มีข้อบังคับของผู้ร้องหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนของผู้ร้องเข้าเป็นกรรมการจำเลย จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่ในอาคารศศปาฐศาลาย่อมมีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่จะยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ร้อง อันเป็นกรณีผูกพันตามบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งจัดทำกันไว้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินทั้ง 22 รายการ จากการยึดจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายในตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคลทั่วไป และผลต่อการคืนทรัพย์
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นจำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ที่นำมาขายถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาดจำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมจึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนต้องหลอกลวงบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง การจัดหางานต้องมีเจตนาจัดหางานจริง
คำว่า "ประชาชน" ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หมายถึง บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด และไม่ถือจำนวน มากน้อยเป็นสำคัญจำเลยหลอกลวง ว. แล้ว ว.พาจำเลยไปหาช.จำเลยจึงหลอกลวงช. แม้เหตุการณ์ในบ้านของจำเลยจะมีคนอื่นอยู่ด้วยอีกสองคน ก็ไม่ใช่บุคคลทั่วไป ตามความหมายของกฎหมายบทนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณา แสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. เป็นผู้ดำเนินงานจัดหางานให้คนงานไปทำงานยังต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่มีเจตนาที่จะส่งคนไปทำงานต่างประเทศ และไม่สามารถจัดหางานแก่คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และข้อเท็จจริงคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการ จัดหางานให้คนหางานได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ แสดงว่าจำเลย มิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้าง ข้อความเท็จเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำ ของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5084/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน – การหลอกลวงจัดหางาน – เจตนาต่อบุคคลทั่วไป
ผู้เสียหายทั้งสองถูกจำเลยหลอกลวงว่าจำเลยสามารถส่งคนไปทำงานในประเทศคูเวตได้โดยเรียกค่าบริการคนละ 30,000 บาท ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยไป ความจริงจำเลยไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศได้แต่อย่างใด ในขณะที่จำเลยพูดหลอกลวงนั้นมีคนอื่นอีก 8 คนอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปอยู่ในบ้านซึ่งจำเลยเช่าให้คนหางานพักอาศัยอยู่ประมาณ 30-40 คน พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 วรรคแรก
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศหรือได้ส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศมาบ้างแล้วประกอบกับทางพิจารณารับฟังได้ว่าจำเลยมิได้เจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานแต่ประการใด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30, 82.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความรู้สึกบุคคลทั่วไป ไม่ใช่ผู้เสียหาย การโฆษณาแจ้งรถหายไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
ข้อความที่จะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่นั้น ต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาข้อความว่า "รถเบนซ์ 500 สีเทา9 ง 8923 พบแจ้งที่ 2711580 มีรางวัล อุดม " นั้น ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การประกาศโฆษณาดังกล่าวหาได้ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใดไม่ หากการประกาศโฆษณาเช่นว่านั้นจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจและเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ จะต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในฐานะที่กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความรู้สึกบุคคลทั่วไป มิใช่ผู้เสียหาย
ข้อความที่จะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่นั้นต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาข้อความว่า "รถเบนซ์ 500 สีเทา9 ง8923พบแจ้งที่2711580มีรางวัล อุดม " นั้น ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การประกาศโฆษณาดังกล่าวหาได้ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใดไม่ หากการประกาศโฆษณาเช่นว่านั้นจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจและเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ จะต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในฐานะที่กระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสหญิงต่างด้าว: คำสั่งภายในกระทรวงมหาดไทยใช้บังคับกับบุคคลทั่วไปไม่ได้
ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ด. บุคคลสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศไทย บิดามารดาของนางสาว ด. อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายอำเภอเห็นว่านางสาว ด. มีเชื้อชาติสัญชาติญวน ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมีแต่บัตรคนญวนอพยพ จึงไม่รับจดทะเบียนสมรสให้ โดยถือปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย แต่คำสั่งของกระทรวงมหาดไทยก็มิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับใดอันจะใช้บังคับเป็นกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป นายอำเภอซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายให้รับจดทะเบียนสมรสแก่ผู้ร้องและนางสาว ด. จะอ้างคำสั่งดังกล่าวเพื่อไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่ตนมีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 720/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของเครื่องหมายและการเข้าใจผิดของบุคคลทั่วไป
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้คือรูปควายไม่มีอักษรประกอบ และรูปควายมีอักษรจีนอยู่ข้างล่าง จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราพระอาทิตย์กับควายไว้และใช้เคื่องหมายการค้ารูปควาย กับพระอาทิตย์พิมพ์ลงในผ้า โดยมีสลากปิดบนผ้ามีอักษรขนาดใหญ่ระบุว่าเป็นผ้าดำตราควายพระอาทิตย์ และสถานที่ผลิตแบบหนึ่ง กับพิมพ์อักษรไทยมีข้อความขนาดใหญ่อยู่ด้านบนว่า โรงงานย้อมผ้าเฮ่งจินเชียงผ้าดำครามแท้ ตราควายพระอาทิตย์ด้านข้างมีอักษรจีนและมีรูปความอยู่ด้านล่างอีกแบบหนึ่ง ดังนี้ ถึงแม้เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนไว้จะมีรูปควายเช่นเดียวกัน แต่ก็มีตัวอักษรข้อความรูปภาพอย่างอื่นมาประกอบทำให้แตกต่างกัน บุคคลธรรมดาไม่เข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท - ผู้เสียหาย - อำนาจฟ้อง - การพิจารณาตามบุคคลทั่วไป
ภาพวาดและข้อความที่จำเลยโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ไม่มีข้อความตอนใดพาดพิงถึงเทศบาลเมืองยะลา หรืออาจให้เข้าใจได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความ ส.ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีกับคณะเทศมนตรีเมืองยะลาครั้งแรกจนถึงวันเกิดเหตุคดีนี้ เทศบาลเมืองยะลามีคณะเทศมนตรีสับเปลี่ยนกันถึง 7 ชุด มิใช่มีคณะเทศมนตรีชุดนี้เพียงชุดเดียว และในความผิดฐานหมิ่นประมาทอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังนั้น ต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหายเท่านั้น จึงยังไม่พอถือได้ว่า ส.และคณะเทศมนตรี เมืองยะลาเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยได้ โจทย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 326,328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากบุคคลทั่วไป ไม่ใช่ผู้เสียหาย และต้องมีเจตนาเฉพาะเจาะจง
การกระทำซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย
จำเลยลงภาพวาดมีข้อความกำกับในหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของและบรรณาธิการ และมีสำนักงานอยู่ในเขตเทศบาลเมืองยะลากล่าวหาว่ามีการทุจริตในเทศบาล แต่หนังสือพิมพ์ของจำเลยลงข่าวเหตุการณ์และจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดภาคใต้ มิได้จำหน่ายเฉพาะในเมืองยะลา และข้อความนั้นไม่มีตอนใดพาดพิงถึงเทศบาลเมืองยะลาโดยเฉพาะเจาะจงหรืออาจเข้าใจได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความนายกเทศมนตรีกับคณะเทศมนตรีเมืองยะลาในขณะนั้น ทั้งในช่วงระยะปีเศษก่อน มีการโฆษณาภาพและข้อความนั้น เทศบาลเมืองยะลาก็มีการเปลี่ยนคณะเทศมนตรีถึง 7 ชุด คณะเทศมนตรีเมืองยะลาในขณะนั้นจึงไม่เป็นผู้เสียหายอันจะฟ้องร้องให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทได้
of 2