พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหารับสารภาพ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กรณีบุคคลอันธพาลและข้อหาลักทรัพย์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่ แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป ก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและแจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาวุธปืนและบุคคลอันธพาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ได้พกพาอาวุธปืนขณะที่มิได้อยู่ในบ้านของตน แต่อยู่ที่บ้านของพี่โจทก์ จำเลยเป็นตำรวจได้ตรวจค้นพบอาวุธปืนนั้นที่ตัวโจทก์ จึงจับโจทก์และแจ้งความหาว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาล และพกพาอาวุธปืนกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การพกพาอาวุธปืนเช่นนี้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดีอาญา: การขยายอำนาจควบคุมบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติและหนังสือกระทรวงมหาดไทย
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 กล่าวถึงบุคคลที่กระทำการรังแก ข่มเหง ผู้อื่น หรือประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายบางจำพวกว่าเป็นบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาล. โดยมิได้จำแนกไว้โดยชัดเจนว่าบุคคลเหล่านั้นรังแกข่มเหงขู่เข็ญหรือรบกวนผู้อื่นเป็นลักษณะความผิดอะไรบ้าง. ส่วนหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2498/2502 กล่าวถึงผู้กระทำผิดในคดีฉุดคร่าอนาจาร ล่อลวงข่มขืน และลวงไปฆ่าว่าเป็นภัยแก่สังคม. ทั้งนี้ความผิดดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการรังแกข่มเหงผู้อื่นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 นั่นเอง.จึงเท่ากับเป็นการชี้ถึงความผิดทั้ง 4 ประเภทโดยเฉพาะว่าเป็นการกระทำของบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาล.
ผู้เสียหายถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานพยายามข่มขืน กระทำชำเราและกระทำอนาจาร. การกระทำของผู้เสียหายจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 และหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่2498/2502. จำเลยจึงมีอำนาจควบคุมตัวไว้เพื่อสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน.
ผู้เสียหายถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานพยายามข่มขืน กระทำชำเราและกระทำอนาจาร. การกระทำของผู้เสียหายจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 และหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่2498/2502. จำเลยจึงมีอำนาจควบคุมตัวไว้เพื่อสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ การพิจารณาปล่อยตัวต้องทำภายใน 3 เดือน หากไม่พิจารณา การควบคุมต่อไปถือว่าไม่ชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุก ๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการ ฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุก ๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการ ฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ การควบคุมเกิน 3 เดือนโดยไม่พิจารณาคำสั่งเป็นโมฆะ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้วจึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้วจึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ: การพิจารณาและสั่งการทุก 3 เดือนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1. ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้.
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว.จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2. ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือนว่า. บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป. ถ้าคณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด. การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน. เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506).
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว.จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2. ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือนว่า. บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป. ถ้าคณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด. การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน. เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบราชการของพนักงานสอบสวน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน)จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย (ให้พิจารณามาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้วไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาล จึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน) จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย(ให้พิจารณาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้ว ไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาลจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)