พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิในฐานะบุคคลใกล้ชิดและการกระทำโดยบันดาลโทสะในคดีทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้สมัครใจวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหายจำเลยที่ 2 เข้าห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายกลับชกต่อยและเตะจำเลยที่ 2 จนเซไปแม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 อีก ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาทกัน จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายเพื่อป้องกันจำเลยที่ 1ได้ ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองด้วยเพราะภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่จำเลยที่ 2 เองคือการถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนทรัพย์สินจำเลย: ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลใกล้ชิดให้การได้หากมีเหตุอันสมควร
คำร้องของโจทก์มีข้อความว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านหลังหนึ่งของจำเลย แต่ไม่ทราบเลขโฉนดที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถขายทอดตลาดได้บ้านราคาเพียง 50,000 บาทไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเป็นต้องยึดทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมซึ่งโจทก์เชื่อว่ายังมีอยู่อีก แต่จำเลยหลบหนี มีบุคคล ที่อยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ในการไต่สวนคือ ช. สามีจำเลย ทั้งในคำร้องฉบับแรกก็ระบุว่า ช. มีฐานะมั่นคงและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสหลายโฉนด ดังนี้เป็นคำร้อง ที่แสดงเหตุอันสมควรที่จะขอให้ศาลออกหมายเรียก ช. มาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยใช้อุบายหลอกลวงกับบุคคลใกล้ชิด: ความแตกต่างระหว่างลักทรัพย์กับฉ้อโกง
จำเลยได้เสียกับบุตรสาวของผู้เสียหายแล้วพากันมาอยู่บ้านผู้เสียหายได้ 7-8 วัน จำเลยบอกผู้เสียหายว่าจะไปซื้อข้าวสารมาเก็บไว้กินในฤดูทำนา รุ่งขึ้นจำเลยเอาโคของผู้เสียหายเทียมเกวียนจะไปซื้อข้าวสาร ภริยาผู้เสียหายไปกับจำเลยด้วย เมื่อถึงที่หมายจำเลยปลดโคจากเกวียนแล้วก็แยกไป ต่อมาไม่นานจำเลยกลับมาถามภริยาผู้เสียหายว่า วัวกินน้ำหรือยังประเดี๋ยวข้าวสารจะมาแล้ว ภริยาผู้เสียหายว่ายัง จำเลยจึงนำโคไปอ้างว่าจะนำไปให้กินน้ำ แล้วก็นำโคไปขายเสียพร้อมทั้งมอบตั๋วพิมพ์รูปพรรณโคให้ผู้ซื้อไปด้วย ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยส่อให้เห็นความทุจริตของจำเลยตั้งแต่ลอบเอาตั๋วพิมพ์รูปพรรณไปแล้ว เมื่อพิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายฉันลูกเขยพ่อตาแม่ยายจำเลยจะเอาโคไปใช้ได้ตามพลการของจำเลยโดยการวิสาสะ หาจำต้องขอรับอนุญาตหรือรับความยินยอมดังเช่นบุคคลอื่นไม่ การที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายและภริยานั้น มิใช่เพื่อให้ผู้เสียหายและภริยายอมส่งมอบโคให้จำเลย หากเป็นแต่เพียงอุบายในการที่จำเลยจะพาโคไปได้แนบเนียนขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยเอาโคไปหาใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงไม่ จำเลยจึงมีผิดฐานลักทรัพย์ หาผิดฐานฉ้อโกงไม่