พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดก
บันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่ผู้คัดค้านและผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งผู้คัดค้านและผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ทั้งบันทึกด้านหลังทะเบียนสมรสนายทะเบียนได้ทำในวันและเวลาเดียวกันต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงถือว่าผู้คัดค้านและผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสในเรื่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนยังไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การจดทะเบียนสมรสนั้นไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสและรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของบิดามารดาและการสืบสันดาน
แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสจะปรากฏลายมือชื่อฝ่ายชายคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องขอจดทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวได้ทำในวันและเวลาต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร
ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย: การจดทะเบียนตามกฎหมายครอบครัวเป็นสำคัญ
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627บัญญัติไว้ด้วยว่า ".....บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวหมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 เท่านั้น
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกรับบุตรบุญธรรมเนื่องจากบุตรบุญธรรมประพฤติไม่เคารพผู้รับบุตรบุญธรรม และสิ้นความเคารพยำเกรง
โจทก์อุปการะเลี้ยงดูจำเลยมาตั้งแต่จำเลยอายุได้ 7 วัน ต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม แสดงว่าโจทก์เมตตารักใคร่จำเลยเสมือนลูก โจทก์ได้ให้การศึกษาที่ดีแก่จำเลยและอุปการะเลี้ยงดูจำเลยตลอดมาจนจำเลยสมรสมีครอบครัวโจทก์ก็ยังมีความรักและความเมตตาต่อจำเลยตั้งใจจะยกทรัพย์สมบัติให้ แต่เมื่อจำเลยเติบใหญ่ขึ้นมากลับไม่มีความเคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดและเป็นผู้มีพระคุณ จำเลยด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำรุนแรง อันเป็นเรื่องที่บุตรไม่พึงกระทำต่อมารดาทั้งจำเลยมักหาเรื่องระรานโจทก์อยู่ตลอดเวลาและยังนำอาวุธปืนมาขู่จะฆ่าโจทก์ ครั้งสุดท้ายจำเลยด่าว่าโจทก์ต่อหน้าบุคคลอื่นอีก นับว่าจำเลยสิ้นความเคารพยำเกรงโจทก์แล้ว นอกจากนั้นจำเลยยังไม่มีความซื่อสัตย์ต่อโจทก์จะเอาที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว โดยมิได้เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร เหยียดหยามโจทก์อันเป็นการทำชั่วอย่างร้ายแรง ไม่สมควรที่จะให้จำเลยเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปลัดอำเภอทำการแทนนายอำเภอในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และประเด็นการนอกฟ้อง
ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือไม่ เป็นข้อที่ โจทก์ไม่เคยกล่าวไว้ในฟ้องเลย ฉะนั้น ฎีกาโจทก์ ในข้อนี้จึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นแม้ศาลชั้นต้น จะได้สั่งรับฎีกาโจทก์เรื่องนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ด้วยผลของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 มาตรา 79 และมาตรา 80 ช. ปลัดอำเภอตรี ซึ่งเป็นกรมการอำเภอ หากมียศสูงกว่าผู้อื่นในขณะที่นายอำเภอทำการไม่ได้ในหน้าที่ชั่วคราวช. ก็ต้องเป็นผู้แทนของนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งของนายอำเภอที่ตนเป็นผู้แทนหรือต้องกระทำการแทนนั้นทุกอย่าง รวมทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมรายนี้ด้วย ส่วนข้อที่ว่าให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอนั้น ตามมาตรา 78 บัญญัติไว้ในทำนองว่าในเวลาผู้ใดทำการแทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ตราดังกล่าวประทับทุกครั้งเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในทรัพย์มรดก
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม อันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้
แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 กรณีไม่อาจฟังว่า ป.เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง
เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป.เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฏว่า ป.เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป.ไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป. ทั้งเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในการจัดการมรดกของทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเอง ทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมอันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93กรณีไม่อาจฟังว่า ป. เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป. เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฎว่า ป. เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป. ไม่สมบูรณ์ และ ไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป.ทั้งเมื่อไม่ปรากฎว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: ผลการรับบุตรบุญธรรมและการกลับคืนสู่บิดามารดาโดยกำเนิด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/28 เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมนั้นย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่วันเวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกเด็กชาย ส.ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรี บ.แล้ว ผู้ร้องกับ อ.ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายส.ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชาย ส.เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรี บ.และแม้ภายหลังร้อยตรี บ.ถึงแก่กรรม ก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่ เด็กชาย ส.ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรี บ.อยู่ ผู้ร้องกับ อ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ได้ไม่ อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา1598/37 เท่านั้น เมื่อเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับ อ.ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองเด็กชาย ส.กลับคืนมาเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย ส.ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: การสิ้นสุดและกลับคืนสู่บิดามารดาโดยกำเนิดเมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่กรรม
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่เวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกส. ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่บ. แล้วผู้ร้องกับอ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของส. ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบ. แม้ภายหลังบ.ถึงแก่กรรมก็ไม่มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยส. ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของบ. อยู่ผู้ร้องกับอ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ไม่อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/37เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าส. บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับอ. ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองส. กลับคืนมาจึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองส. ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของส. จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองส. บุตรผู้เยาว์