คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตรผู้ตาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมรดกที่จงใจละเลยหน้าที่ และการแต่งตั้งบุตรผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกแทน
การที่ผู้คัดค้านจงใจไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีพฤติการณ์ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทอื่น ดังนี้เป็นเหตุสมควรถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อยังมีทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อจัดการต่อไปภายหลังที่เพิกถอนผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตายทั้งไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 ผู้ร้องทั้งสองจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และการสิ้นสุดสิทธิเมื่อขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ50วรรคแรก(3)ที่ให้บุตรของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายมีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างนั้นบุตรนั้นต้องมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเว้นแต่ถ้าอายุครบสิบแปดปีแล้วแต่ยังศึกษาอยู่ก็ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เมื่อบุตรของลูกจ้างผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้สิทธิเรียกร้องส่วนของบุตรลูกจ้างที่จะได้เงินทดแทนนั้นโอนหรือตกทอดไปยังทายาทอื่นของลูกจ้างทั้งมิได้กำหนดให้นายจ้างต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของบุตรของลูกจ้างนั้นมาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่ทายาทอื่นของลูกจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเรื่องมรดก: จำเลยต้องรู้ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จึงถือว่าจงใจแจ้งเท็จได้
ในคดีที่โจทก์อ้างว่าเป็นบุตรผู้ตาย หาว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอรับมฤดกที่ดินโดยกล่าวว่าผู้ตายไม่มีบุตร ไม่มีเมียนั้น เมื่อคดีไม่มีเหตุพอจะฟังว่าจำเลยได้รู้ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตาย ก็ถือไม่ได้ว่า จำเลยจงใจแจ้งเท็จ จำเลยย่อมไม่มีผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ฟ้องคดีอาญาของบุตรผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย แม้มีภรรยา และการพิพากษาลงโทษตามพฤติการณ์
บุตรผู้ถูกทำร้ายตาย+จะมีสามีแล้ว ก็มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยยการในคดีที่ฟ้องผู้ที่ทำให้ตายได้ ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 3(2) และมาตรา 5(2) การที่ภรรยาผู้ถูกทำร้ายตายไม่ขอร่วมเป็นโจทก์กับอัยยการ ไม่ทำให้สิทธิของบุตรผู้ตายดังกล่าวแล้วเสียไป
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยใช้ปืนยิงและใช้มีดแทงผู้ตายตาย แต่ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายอย่างเดียวนั้นไม่เป็นเหตุพอจะให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้ และคดีก็ต้องลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 252, 259