พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9774/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ การดูแลควบคุมต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันอันตราย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 บิดามารดาของผู้เยาว์ต้องรับผิดร่วมกับผู้เยาว์ในผลที่ผู้เยาว์ทำละเมิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดาของผู้เยาว์ต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ศาลเห็นว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้ว
การใช้อำนาจปกครองของบิดามารดารวมถึงการที่จะต้องคอยอบรมสั่งสอนดูแลตลอดจนควบคุมบุตรผู้เยาว์ มิให้ออกไปประพฤติตนเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย การที่บุตรผู้เยาว์อายุ 18 ปี ทำละเมิดในระหว่างที่ไปเรียนหนังสือ ข้อที่ว่าบิดามารดาไม่เคยอนุญาตให้ผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ที่บ้านไปโรงเรียนหรือรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เยาว์ขับเป็นของเพื่อนผู้เยาว์ และขณะเกิดเหตุอยู่ในช่วงเวลาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน มิใช่ข้อที่บิดามารดา จะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
ผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และบิดามารดาทราบดีว่าผู้เยาว์สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ และเคยขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้าน แต่บิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โดยปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้านทั้งที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ย่อมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย การที่บิดาผู้เยาว์เตือนผู้เยาว์ให้ขับรถโดยระมัดระวัง อย่าขับรถเร็ว นอกจากไม่เป็นการเพียงพอแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับรถ จักรยานยนต์อีกด้วย การที่ผู้เยาว์ไปขับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นในวันเกิดเหตุจึงมีส่วนมาจากการปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลหรือห้ามปรามตามหน้าที่ของบิดามารดามาแต่ต้น เมื่อผู้เยาว์ไปขับรถจักรยานยนต์ชนรถของผู้อื่นเสียหาย เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อผู้อื่น บิดามารดาของผู้เยาว์จึงต้องรับผิดร่วมในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
การใช้อำนาจปกครองของบิดามารดารวมถึงการที่จะต้องคอยอบรมสั่งสอนดูแลตลอดจนควบคุมบุตรผู้เยาว์ มิให้ออกไปประพฤติตนเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย การที่บุตรผู้เยาว์อายุ 18 ปี ทำละเมิดในระหว่างที่ไปเรียนหนังสือ ข้อที่ว่าบิดามารดาไม่เคยอนุญาตให้ผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ที่บ้านไปโรงเรียนหรือรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เยาว์ขับเป็นของเพื่อนผู้เยาว์ และขณะเกิดเหตุอยู่ในช่วงเวลาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน มิใช่ข้อที่บิดามารดา จะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
ผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และบิดามารดาทราบดีว่าผู้เยาว์สามารถขับรถจักรยานยนต์ได้ และเคยขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้าน แต่บิดามารดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลบุตรผู้เยาว์ โดยปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ออกนอกบ้านทั้งที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ย่อมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย การที่บิดาผู้เยาว์เตือนผู้เยาว์ให้ขับรถโดยระมัดระวัง อย่าขับรถเร็ว นอกจากไม่เป็นการเพียงพอแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับรถ จักรยานยนต์อีกด้วย การที่ผู้เยาว์ไปขับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นในวันเกิดเหตุจึงมีส่วนมาจากการปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลหรือห้ามปรามตามหน้าที่ของบิดามารดามาแต่ต้น เมื่อผู้เยาว์ไปขับรถจักรยานยนต์ชนรถของผู้อื่นเสียหาย เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อผู้อื่น บิดามารดาของผู้เยาว์จึงต้องรับผิดร่วมในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะบุตรผู้เยาว์: ข้อจำกัดการฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูของบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม ในฐานะเป็นบุตรผู้เยาว์ของนาง ต. ผู้ตาย จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสามควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามจำนวนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องแยกพิจารณาเป็นรายบุคคลไป ดังนี้ เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาสำหรับบุตรผู้เยาว์แต่ละคนของนาง ต. ไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์: ผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์ให้ถ้อยคำต่อจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ภ.อายุ 4 ปีเศษ ดังนี้ การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1570 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ กรณีสุดวิสัยและไม่ได้รู้เห็น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อน ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำผิดของบุตรผู้เยาว์: การใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินเลยคำฟ้องในคดีละเมิด การรับผิดของบิดาต่อการกระทำของบุตรผู้เยาว์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานกระทำละเมิด โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 3 ในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนไปใช้ยิงผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการนอกฟ้อง นอกประเด็นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และความรับผิดของบิดามารดาต่อการดูแลบุตรผู้เยาว์
แม้จำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามสัญญายืมในฐานละเมิดได้อันเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 2 ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานละเมิดเพราะจำเลยที่ 2ได้ขับรถของโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิกคว่ำเสียหาย โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานผิดสัญญาไม่ แม้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญายืมก็ตาม ก็หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานละเมิดด้วยไม่
จำเลยที่ 2 มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ขาดการอบรมดูแลที่ดี จำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2ไม่ดูแลเอาใจใส่ ไม่ห้ามปรามในการเที่ยวเตร่จนดึกดื่น แม้แต่คืนเกิดเหตุก็ยังปล่อยให้ไปเที่ยวดื่มสุราในยามดึกและพาผู้หญิงไปนอนค้างที่โรงแรม แม้เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 อันจำเลยที่ 3ที่ 4 จะต้องระมัดระวังดูแลก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่เอาใจใส่ดูแลความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 ก็แสดงว่าไม่เอาใจใส่ดูแลว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่นั้นจะไปขับรถโดยประมาทอันเป็นความประพฤติอย่างหนึ่งหรือไม่ จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 2.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานละเมิดเพราะจำเลยที่ 2ได้ขับรถของโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิกคว่ำเสียหาย โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานผิดสัญญาไม่ แม้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญายืมก็ตาม ก็หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ฐานละเมิดด้วยไม่
จำเลยที่ 2 มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ขาดการอบรมดูแลที่ดี จำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2ไม่ดูแลเอาใจใส่ ไม่ห้ามปรามในการเที่ยวเตร่จนดึกดื่น แม้แต่คืนเกิดเหตุก็ยังปล่อยให้ไปเที่ยวดื่มสุราในยามดึกและพาผู้หญิงไปนอนค้างที่โรงแรม แม้เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 อันจำเลยที่ 3ที่ 4 จะต้องระมัดระวังดูแลก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่เอาใจใส่ดูแลความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 ก็แสดงว่าไม่เอาใจใส่ดูแลว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่นั้นจะไปขับรถโดยประมาทอันเป็นความประพฤติอย่างหนึ่งหรือไม่ จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์: การเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องมียินยอม
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจาก พยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา247 โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียว ดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งสามได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6014/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์เมื่อบุตรมีอายุและความรับผิดชอบเพียงพอและกระทำโดยจำเป็น
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 1 บุตรผู้เยาว์เช่าซื้อรถจักรยานยนต์มาใช้โดยที่ยังไม่มีใบอนุญาตขับขี่ แต่ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มีอายุเกินกว่า 18 ปีแล้ว ทั้งยังรู้จักทำงานหาเงินแบ่งเบาภาระของบิดามารดา นับว่าเป็นผู้มีอายุและความรับผิดชอบพอที่จะมีและขับรถจักรยานยนต์ได้โดยปลอดภัย ตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขวนขวายเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มาใช้ขับด้วยความจำเป็น มิใช่มีไว้เพื่อใช้ขับเที่ยวเตร่ไม่เป็นสาระคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ก็ขับรถจักรยานยนต์ออกไปหาซื้อสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ที่มาพักโรงแรมอันเป็นหน้าที่การงานที่จำเลยที่ 1 พึงกระทำ และคืนนั้นหากจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์คันอื่นออกไปกระทำการตามหน้าที่เช่นว่านั้น ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีโอกาสที่จะไประมัดระวังดูแลหรือทัดทาน ได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังหย่า โดยพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละฝ่าย
โจทก์จำเลยต่าง สามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ แต่การให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เป็นการไม่สะดวก เพราะโจทก์กลับบ้านได้เฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้ รับความอบอุ่นมากกว่าเพราะอยู่ใกล้ชิดตลอด เวลา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตก แก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อ กับบุตรผู้เยาว์ได้ตาม สมควรแล้วแต่ พฤติการณ์ คดีก่อนถึง ที่สุดโดย ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ อีก ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.