พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับบุริมสิทธิค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุด: แยกค่าใช้จ่ายบริการ/ซ่อมแซม กับค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามกฎหมาย
พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ส่วนมาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของรวมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 ดังนั้น ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง จึงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงข้อบังคับได้ตามมาตรา 32 (10) ประกอบมาตรา 49 (1) ที่เจ้าของร่วมมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันได้ แต่ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ กำหนดเท่านั้น ประกอบกับมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ว่า เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ให้นิติบุคคลอาคารชุดมีบุริมสิทธิ ดังนี้ (1) บุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 259 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของห้องชุดนั้นนำมาไว้ในห้องชุดของตน และ (2) บุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิรักษาอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 273 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมีอยู่เหนือทรัพย์ส่วนบุคคลของแต่ละเจ้าของห้องชุด ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 นั้น แยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสอง ออกต่างหากจากกันโดยเด็ดขาด เพราะมีการคิดส่วนค่าใช้จ่ายและการบังคับชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 แต่ละวรรคแตกต่างกันดังกล่าว ดังนั้น มูลหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยค้างชำระแก่ผู้ร้องนั้นจึงไม่อาจเป็นทั้งมูลหนี้อันเกิดจากการบริการส่วนรวมและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการใช้ทรัพย์ส่วนกลางของจำเลย ตามมาตรา 18 วรรคสอง
ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยค้างชำระนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลอาคารชุดของผู้ร้องได้ลงมติให้เพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากเดิม 20 บาท เป็น 27 บาท โดยรายละเอียดในรายงานการประชุม ฯ ระบุเหตุผลการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายส่วนกลางโดยอ้างว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การซ่อมแซมระบบและส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่ง พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ มาตรา 50 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมอาคารที่เสียหายสำหรับที่เป็นทรัพย์ส่วนกลาง ให้เจ้าของร่วมทุกคนในอาคารชุดเฉลี่ยออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง? ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องนำมายื่นขอรับชำระหนี้บุริมสิทธินี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ มาตรา 18 วรรคสอง และบทบัญญัติมาตรา 41 วรรคท้าย กำหนดให้เฉพาะบุริมสิทธิตาม (2) แห่งมาตราดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งหากผู้จัดการนิติบุคคลได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วให้ถือว่าอยู่ในลำดับก่อนจำนอง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ของผู้ร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 41 วรรคท้าย ดังกล่าวแล้ว จึงถือว่ามูลหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระแก่ผู้ร้องนั้นอยู่ในลำดับหลังบุริมสิทธิจำนองของโจทก์
ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยค้างชำระนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลอาคารชุดของผู้ร้องได้ลงมติให้เพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากเดิม 20 บาท เป็น 27 บาท โดยรายละเอียดในรายงานการประชุม ฯ ระบุเหตุผลการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายส่วนกลางโดยอ้างว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การซ่อมแซมระบบและส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่ง พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ มาตรา 50 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมอาคารที่เสียหายสำหรับที่เป็นทรัพย์ส่วนกลาง ให้เจ้าของร่วมทุกคนในอาคารชุดเฉลี่ยออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง? ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่ผู้ร้องนำมายื่นขอรับชำระหนี้บุริมสิทธินี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุด ฯ มาตรา 18 วรรคสอง และบทบัญญัติมาตรา 41 วรรคท้าย กำหนดให้เฉพาะบุริมสิทธิตาม (2) แห่งมาตราดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งหากผู้จัดการนิติบุคคลได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วให้ถือว่าอยู่ในลำดับก่อนจำนอง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ส่งรายการหนี้ของผู้ร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 41 วรรคท้าย ดังกล่าวแล้ว จึงถือว่ามูลหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระแก่ผู้ร้องนั้นอยู่ในลำดับหลังบุริมสิทธิจำนองของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียนบอกราคาค้างชำระจึงมีผลใช้ยันบุคคลภายนอก
ป.พ.พ. มาตรา 251 บัญญัติว่า "ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือบทกฎหมายอื่น" ซึ่งมีความหมายชัดเจนว่าสิทธิของผู้ทรงบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นได้ก่อนจะต้องอยู่ในกรอบแห่งบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ดังนี้ เมื่อบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ทั้งสามแปลงตามคำร้องของผู้ร้องมีบัญญัติหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะในมาตรา 288 ว่า "บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นหากว่าเมื่อไปลงทะเบียนสัญญาซื้อขายนั้น บอกลงทะเบียนไว้ด้วยว่าราคาหรือดอกเบี้ยในราคานั้นยังมิได้ชำระไซร้ บุริมสิทธินั้นก็คงให้ผลต่อไป" บทบัญญัติแห่งมาตรานี้จึงชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้ความเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องในกรณีนี้จะพึงใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้นั้น ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของกฎหมาย คือ ผู้ร้องจะต้องลงทะเบียนในขณะจดทะเบียนสัญญาซื้อขายด้วยว่า ราคาหรือดอกเบี้ยในราคาที่ยังมิได้ชำระมีเพียงใดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินประเภทนี้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิยกความเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิอันพึงจะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่ตนจากที่ดินทั้งสามแปลงก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย และได้ใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 278 บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยได้ไม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 56597, 68579 และ 81546 ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 คำร้องของผู้ร้องจึงเป็น "คำร้องขอ" และถือเป็น "คำฟ้อง" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อเรียกราคาที่ยังมิได้รับชำระพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องชนะคดีได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ เมื่อ "คำร้องขอ" ของผู้ร้องเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ก) ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ก) ชอบแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 56597, 68579 และ 81546 ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 คำร้องของผู้ร้องจึงเป็น "คำร้องขอ" และถือเป็น "คำฟ้อง" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อเรียกราคาที่ยังมิได้รับชำระพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องชนะคดีได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ เมื่อ "คำร้องขอ" ของผู้ร้องเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ก) ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ก) ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5954/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิจากการก่อสร้างอาคารย่อมสิ้นผลหากไม่ได้จดทะเบียนรายการประมาณราคาชั่วคราวก่อนเริ่มงาน
โจทก์รับจ้างทำของบนที่ดินของจำเลยที่ 1 อันทำให้โจทก์มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 273 (2) แต่ก่อนลงมือทำการงานจ้าง โจทก์ไม่ได้ทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันโจทก์มีอยู่ย่อมสิ้นผลไปตามมาตรา 286 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพทย์ในมูลจ้างทำของขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 1 และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032-5080/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ค่าจ้างในคดีล้มละลาย: การแบ่งประเภทหนี้บุริมสิทธิและข้อจำกัดวงเงิน
หนี้ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือนแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 257 อยู่ในฐานะหนี้บุริมสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (6) ส่วนดอกเบี้ยหรือเงินที่เกินหนึ่งแสนบาท เจ้าหนี้จะต้องได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 130 (7)
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่
การที่เจ้าหนี้ได้นำหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปฟ้องเป็นคดีแรงงาน จนกระทั่งศาลแรงงานกลาง (สมุทรปราการ) มีคำพิพากษา ถือว่าเป็นการรับรองสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อลูกหนี้อีกชั้นหนึ่งและทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด และเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้อันเกิดจากการเลิกจ้างซึ่งมีคำพิพากษารับรองแล้วมายื่นคำขอรับชำระหนี้ก็หาทำให้บุริมสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ก่อนแล้วเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของเจ้าหนี้จำนองในการได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนอง
คำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้องนั้น แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน ถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตามมาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนอง ตามมาตรา 289 ป.วิ.พ.
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้องแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน อันถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตามมาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัยพ์สินจำนองออกขายทอดตลาด ขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน อันถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิของผู้ขนส่ง: ผู้ขนส่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าระวางก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องรับสินค้าเหล็กพิพาทลงเรือลำเลียงและลากเรือลำเลียงไปลอยลำไว้ในความดูแลเพื่อรอคำสั่งจากโจทก์และจำเลยให้ทำการขนส่งต่อไป จึงย่อมมีสิทธิยึดหน่วงเหล็กพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่รับสินค้าไว้ในความดูแล โดยสามารถใช้สิทธินี้ยันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่งที่ออกไว้สำหรับการขนส่งเหล็กพิพาทครั้งนี้ได้ การที่สินค้าเหล็กพิพาทได้ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรอายัดและตกอยู่ภายใต้อารักขาของเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามพิธีการศุลกากรให้เสร็จสิ้น ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาสละการครอบครองหรือเจตนาไม่ยึดถือเหล็กพิพาทไว้ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ มาตรา 250 เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าอยู่ แม้ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ยึดเหล็กพิพาทนั้นไว้เพื่อเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของผู้ร้องสูญสิ้นไปเช่นกัน นอกจากผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องยังมีบุริมสิทธิเหนือสินค้าเหล็กนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 259 และมาตรา 267 สำหรับเอาค่าระวางพาหนะในการรับขน กับทั้งค่าใช้จ่ายอันเป็นอุปกรณ์และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือของอันอยู่ในมือของผู้ขนส่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลรับขนก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลสิทธิซื้อขาย vs. บุริมสิทธิภาษีอากร: การยึดทรัพย์หลังสัญญาซื้อขาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 วางหลักไว้ว่า การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายนั้น คำว่าสิทธิอื่น ๆต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ แต่กรณีของโจทก์แม้จะได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่นายอำเภอจะมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว และโจทก์ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้ก่อนบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 เท่านั้น ต่างจากหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อรัฐ เป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ทั้งขณะที่นายอำเภอมีคำสั่งให้ยึดที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระภาษีนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 อยู่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนซื้อขายโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ: การได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่
แม้เจ้าหนี้บุริมสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เอาเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้สามัญ และมีสิทธิยื่นคำร้องให้ตนเข้าเฉลี่ยในเงินดังกล่าวในฐานะเจ้าหนี้สามัญได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 และ 290 แต่ทั้งสองกรณีนี้เป็นการใช้สิทธิคนละมาตรา คนละเรื่อง และคนละประเด็นกัน เมื่อได้ความว่าหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่ผู้ร้องเป็นเพียงหนี้สามัญมิใช่หนี้บุริมสิทธิ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 มาชำระหนี้ตนก่อนนั้น ศาลจะสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยในเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนการอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการพิจารณาสั่งนอกฟ้องนอกประเด็นในคดี