คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจกำหนดเวลาให้ปฏิบัติถูกต้องก่อนพิจารณาอุทธรณ์ การอุทธรณ์คำสั่งก่อนมีสิทธิทำได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น ซึ่งรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายต้องเสียไปจากการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นนั้นด้วย การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้แก่จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องครบถ้วนอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลย อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยว่า ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แทนมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยนั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาข้ามกำหนดระยะเวลา และการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายในการขออนุญาตฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ซ้ำซ้อน ศาลสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเดิม มิใช่คำสั่งใหม่
จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาในชั้นร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาจำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์แล้วเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถาของจำเลยและจำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตลอดจนค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้อุทธรณ์ของจำเลยภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุที่จะต้องสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ซ้ำอีกการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน5วันจึงเป็นการ ผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าการที่จำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ไว้ดังกล่าวแล้วในตอนต้นเป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีกจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นอันจะเป็นการทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3135/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่นอกขอบเขตอำนาจ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต ถ้าเป็นการกระทำนอกหน้าที่ไม่ผิดมาตรานี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นอันยุติได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ใด ๆ เกี่ยวกับคดีที่คนร้ายลักกระบือของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 กับการปล่อยคืนรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเรื่องปฏิบัตินอกหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทจากการยึดปืน-ความผิดพ.ร.บ.อาวุธปืน: จำเลยไม่ประมาท ปืนลั่นจากความเสี่ยงของผูปฏิบัติ
จำเลยเมาสุราอยู่ร้านขายสุรา ผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนบอกให้จำเลยกลับบ้าน จำเลยว่าไม่เมา จะกลับเองแต่ลุกไม่ขึ้น ผู้เสียหายจึงพยุงให้จำเลยลุกขึ้นและผู้เสียหายว่าจำเลยพกปืนอยู่จึงบอกจำเลยว่าขอปืนมาเก็บ จำเลยจะชักปืนออมาให้ แต่ผู้เสียหายกลับไปกดมือจำเลยไว้ไม่ให้จำเลยดึงออกมา ปืนของจำเลยอยู่สภาพที่ลั่นได้ง่ายถ้าใช้ไม่เป็น การปลดปืนออกจากซองต้องใช้นิ้วสอดเข้าไปที่โกร่งไกปืน กดสปริงพร้อมกับดึงปืนขึ้น การที่ผู้เสียหายเสี่ยงภัยกดมือจำเลยไว้ไม่ยอมให้จำเลยดึงปืนออกมาแล้วปืนเกิดลั่นขึ้นถูกขาผู้เสียหายถึงบาดเจ็บสาหัสนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทขาดความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์
จำเลยได้ซื้ออาวุธปืนตามแบบ ป.3 แล้ว แต่มิได้นำปืนไปจดทะเบียนรับใบอนุญาต ป.4 ภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายของพนักงานประทับไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และอาวุธปืนต้องถูกริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ของผู้ตายให้แก่ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่รอบคอบ
ผู้ตายทำงานอยู่องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์ ในกรมรถไฟ ครั้นเมื่อถึงแก่กรรมลง มีสิทธิได้รับเงินหลายประเภทตามระเบียบข้อบังคับขององค์การและทางการวางไว้ บิดาผู้ตายจึงได้ร้องขอรับเงินจำนวนนี้ โดยแสดงว่าตนเป็นบิดา และกำลังร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่ แต่ทางกรมรถไฟกลับจ่ายเงินให้แก่ภริยาผู้ตายซึ่งปรากฎในทะเบียนประวัติว่า เป็นภริยาผู้ตาย แต่ปรากฎว่าภริยาผู้นี้มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายตามกฎหมายนั้น เป็นการจ่ายที่ไม่รอบคอบขาดความระมัดระวัง จึงได้ชื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 315 ฉะนั้นบิดาของผู้ตายในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องเรียกเงินจำนวนนั้นจากกรมรถไฟอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเช่าโดยปริยาย: การปฏิบัติที่ต่อเนื่องเป็นหลักฐานการตกลง
การชำระค่าเช่า จำเลยได้ส่งให้แก่บุคคลที่ 3 เป็นกิจวัตรตลอดมาโจทก์หรือภรรยาโจทก์มารับเอาไปจากบุคคลที่ 3 เป็นคราวๆ ไป ดังนี้ กรณีเป็นที่ประจักษ์ว่า แม้จะไม่ได้มีการตกลงกันโดยชัดแจ้งในการชำระหนี้ค่าเช่านี้ก็ดี แต่กริยาอาการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ปฏิบัติต่อกันจนเป็นปกติกิจนั้น ย่อมแสดงได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันโดยปริยายถึงวิธีการชำระหนี้ให้เป็นไปตามวิถีนั้น เมื่อโจทก์ไม่ไปรับค่าเช่าจากบุคคลที่ 3 นั้นเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแล้ว จะถือว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าไม่ได้